x close

คำแนะนำดี ๆ ก่อนซื้อบ้านสักหลัง

คำแนะนำดี ๆ ก่อนซื้อบ้านสักหลัง

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          จะซื้อบ้านใหม่สักหลัง แน่นอนว่ามีเรื่องให้คุณต้องเตรียมตัวอยู่มากมาย สำหรับเจ้าของบ้านมือใหม่ที่กำลังทำอะไรไม่ถูกกับการเตรียมตัวก่อนซื้อบ้าน วันนี้กระปุกดอทคอมนำเอาคำแนะนำดี ๆ จากธนาคารกรุงเทพ มาฝากกันค่ะ ว่าก่อนจะซื้อบ้านสักหลังมาไว้ในครอบครองของคุณนั้น มีอะไรที่ต้องเตรียมตัวกันบ้าง เผื่อคุณจะจดลิสต์รายการเอาไว้ และหยิบนำเอาไปใช้ได้ง่ายขึ้นจ้า ..

 ข้อควรพิจารณา

  มีที่เก็บของพอเพียง

  พื้นบ้านไม่ทรุดเอียง รากฐานแข็งแรง

  น้ำประปาไหลแรงดี

  อสังหาริมทรัพย์ที่รวมอยู่ในข้อตกลง

  เนื้อที่ของทรัพย์สิน

  มลภาวะทางเสียง เพื่อนบ้าน สภาพการจราจร

  ความชื้น รอยรั่วซึม น้ำท่วม

  ข้อบกพร่องด้านโครงสร้างอาคาร

  มีข้อกำหนดตามกฎหมายแบ่งเขตท้องที่อย่างไรหรือไม่

  ต่อเติมเปลี่ยนแปลงได้สะดวก

  คุณภาพการเดินสายไฟ (ตรวจดูที่มาตรไฟ หากสายไฟเสื่อมสภาพและพันกันยุ่ง ย่อมส่อสัญญาณที่ไม่ดี)

รายการตรวจสอบอสังหาริมทรัพย์

          ประหยัดเวลาด้วยการสั่งพิมพ์รายการข้างล่างนี้เพื่อใช้เป็นคู่มือตรวจสอบก่อนซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือส่งให้ตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้รับทราบจุดที่ท่านให้ความสำคัญ โดยไม่ต้องเสียเวลาอธิบาย เพียงเลือกทำเครื่องหมายในช่องหน้าข้อต่าง ๆ ต่อไปนี้

จำนวนห้องนอน          
จำนวนห้องน้ำ
ห้องชุด  
บ้าน  
ที่ดิน  
ระบุเขตหรือท้องที่หรือไม่  

รายการตรวจสอบอสังหาริมทรัพย์
Top Priority Medium Priority
Low Priority
ห้องรับประทานอาหารแยกเป็นสัดส่วน      
ห้องนั่งเล่นแยกเป็นสัดส่วน      
ระบบทำน้ำอุ่น      
ศักยภาพในการขยายต่อเติม      
มีบริเวณบ้าน      
ไม่มีบริเวณบ้าน      
มีบริเวณส่วนตัว      
ทัศนียภาพ      
ความร่มรื่น      
การดูแลรักษาง่าย      
มีที่จอดรถเป็นส่วนตัว      
อยู่ใกล้บริการขนส่งมวลชน      
อยู่ใกล้ที่ทำงาน      
อยู่ใกล้โรงเรียน      
อยู่ใกล้สถานพยาบาล      
อยู่ใกล้ศูนย์นันทนาการ พักผ่อนหย่อนใจ      
อื่น ๆ กรุณาระบุ________________       
     
อื่น ๆ กรุณาระบุ________________             

ค่าใช้จ่าย

          ผู้ซื้อบ้านควรเตรียมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  ค่าใช้จ่ายสำหรับซื้อบ้าน

  งินมัดจำที่จะชำระในวันทำสัญญาจะซื้อจะขาย

  เงินดาวน์

  ค่านายหน้า (ถ้ามี)

  ค่าใช้จ่ายในการขนย้าย

  ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ทนายความต้องชำระเพื่อดำเนินการแทน (เช่น ค่าธรรมเนียมในการขอตรวจสอบเอกสารหรือหลักฐานจากสำนักงานที่ดิน หรือกระทรวงพาณิชย์ ค่าจดทะเบียน ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น )

ค่าใช้จ่ายสำหรับธนาคาร

  ค่าธรรมเนียมในการประเมินราคาหลักทรัพย์

  ค่าอากรแสตมป์

ค่าธรรมเนียมสำหรับการจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน

  ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ 2% ของราคาประเมิน

  ค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% ของมูลจำนอง

เบี้ยประกันภัย

  เบี้ยประกันอัคคีภัย

  เบี้ยประกันคุ้มครองเครดิตโฮมเฟิสต์ (บริษัทประกันจะรับภาระสินเชื่อแทนในกรณีผู้ซื้อเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ)





ขอขอบคุณข้อมูลจาก




เรื่องที่คุณอาจสนใจ
คำแนะนำดี ๆ ก่อนซื้อบ้านสักหลัง อัปเดตล่าสุด 17 กรกฎาคม 2555 เวลา 17:18:17
TOP