วิธีติดตั้งเครื่องซักผ้าแบบไม่เจาะผนัง สำหรับคนที่อยากมีเครื่องซักผ้าไว้ซักเองในห้องพัก เช่น หอพักหรือคอนโด ด้วยวิธีการติดตั้งเครื่องซักผ้าง่าย ๆ ที่ใครก็ทำได้ไม่ยากเลย
สวัดดีครับ เป็นกระทู้แรกของผมในพันทิป เดิมทีผมก็ใช้เครื่องซักผ้าฝาบนแบบหยอดเหรียญ แต่มันทำเสื้อผ้าเสียทรง พันกัน คอเสื้อย้วยยานเสียรูป และผมเองก็หาซื้อเสื้อผ้าที่ถูกใจได้ยาก บวกกับเป็นคนขี้เกียจซักมือ เคยซักได้ 3-4 ครั้งก็ขี้เกียจ เลยตัดสินใจซื้อเครื่องซักผ้าฝาหน้าใช้ส่วนตัวซะเลยจะได้ถนอมเสื้อผ้า
โดยผมจะติดตั้งเครื่องซักผ้าไว้ภายในห้องครับ เพราะถ้าวางที่ระเบียงห้องเดี๋ยวเครื่องซักผ้าจะเก่าซะก่อน ทั้งโดนแดดเลีย ละอองฝน เก่าเร็วแน่ ๆ และสำหรับการติดตั้งเครื่องซักผ้าของผมจะไม่มีการเจาะฝาผนังใด ๆ ทั้งสิ้นครับ ซึ่งวิธีติดตั้งนั้นง่ายมากครับ ทั้งผู้หญิงและผู้ชายสามารถทำได้หมด อุปกรณ์ที่โฮมโปรก็มีครบ แค่ไปชี้ ๆ เลือกอุปกรณ์ ให้พนักงานขายช่วยประกอบอุปกรณ์ให้ก็ได้ครับ
1. เปลี่ยนก๊อกน้ำให้เป็นก๊อกเกลียว ถ้าเป็นก๊อกเกลียวอยู่แล้วก็ข้ามไปเลยครับ
2. ซื้อข้อต่อเกลียว 2 ทิศทาง ราคา 149 บาท เผื่อเราต้องการใช้น้ำร่วมในขณะที่กำลังซักผ้า (ถ้าไม่ต้องการ ก็ซื้อข้อต่อเกลียว 3/4 นิ้ว [อย่างในหัวข้อ 3.2] มาหมุนต่อเข้ากับก๊อก)
3. สายน้ำดีความยาว 5 เมตร ที่ต้องซื้อมาเพิ่มและยาวขนาดนี้ เพราะอันที่แถมมาสั้น ไม่ตรงตามที่ผมต้องการครับ ซึ่งก๊อกน้ำอยู่ที่ระเบียงห้องห่างจากจุดวางเครื่องซักผ้าประมาณ 4 เมตร ที่ซื้อยาวมาเกิน 1 เมตร เพื่อให้สายไม่ตึงเกินไปครับ
ส่วนสายน้ำดีก็คือ สายยางที่ต่อจากก๊อกน้ำมายังเครื่องซักผ้า ซึ่งสายยางที่ใช้ก็มีแบ่งขายที่โฮมโปรครับ หรือหาซื้อตามร้านฮาร์ดแวร์ก็ได้
3.1 ซื้อข้อต่อสายยาง 2 อันครับ อันละ 49 บาท
- ต่อเข้ากับปลายสายยางทั้ง 2 ข้างก็ต้องเลือกใช้สายยางที่มีขนาดแน่นพอดีกับข้อต่อด้วยนะครับ
3.2 ซื้อข้อต่อเกลียว 3/4 นิ้ว ราคา 69 บาท นำมาต่อเข้ากับจุดต่อท่อน้ำดีหลังเครื่องซักผ้า
- รูปจุดต่อท่อน้ำดีหลังเครื่องซักผ้าแบบชัด ๆ
- นำข้อต่อเกลียวสีเขียวหมุนเข้าอย่างนี้ครับ
3.3 เสร็จแล้ว ลองต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกันก็จะได้แบบในภาพนี้ โดยโยงปลายสายน้ำดีด้านหนึ่งต่อเข้ากับก๊อกน้ำ
- ปลายสายน้ำดีอีกด้านหนึ่งต่อเข้ากับเครื่องซักผ้า
4. ทำสายน้ำทิ้งยาว 5 เมตร เพื่อน้ำทิ้งจากเครื่องไปทิ้งที่ระเบียงห้องครับ ซึ่งเครื่องฝาหน้าจะต่างจากฝาบนตรงการปล่อยน้ำทิ้งนี่แหละครับ โดยเครื่องฝาหน้าจะปล่อยน้ำทิ้งที่ความสูงจากพื้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ตามที่คู่มือแนะนำครับ ทำให้ผมต้องต่อท่อพีวีซีเพื่อนำมาใช้ในขั้นตอนนี้ครับ ส่วนเครื่องฝาบนแค่ลากสายน้ำทิ้งจากเครื่องมาก็ปล่อยน้ำลงกับพื้นได้เลยครับ
4.1 ต่อท่อพีวีซีรับน้ำทิ้งจากเครื่องซักผ้า เราจะใช้ข้อต่อที่ใช้กับท่อขนาด 3/4 นิ้ว (หรือท่อ 6 หุน)
- ใช้ทั้งหมด 3 ชิ้นครับ มาดูกันชัด ๆ ว่ามีชิ้นไหนบ้าง
- 4.1.1 ข้อต่อเกลียวนอกสำหรับต่อสายยางน้ำทิ้งครับ โดยสายยางที่นำมาต่อจะสวมกันได้แน่นพอดี
- 4.1.2 ข้องอ 90 องศา
- 4.1.3 ข้อต่อลดนำมาเพื่อเพิ่มขนาดปลายท่อให้พอดีกับสายน้ำทิ้งของเครื่องซักผ้า
- 4.2 นำท่อและข้อต่อมาประกอบเข้าด้วยกันครับ นำข้อต่อมาประกอบเข้ากับท่อ 3/4 นิ้ว (หรือท่อ 6 หุน)
- โดยทั่วไปสูงจากพื้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ท่อสีฟ้าผมจำขนาดไม่ได้ว่าขนาดเท่าไร แต่เป็นท่อที่สวมเข้ากับสายน้ำทิ้งของเครื่องซักผ้าได้พอดีครับ สายน้ำทิ้งของเครื่องซักผ้าจะมีขนาดมาตรฐานครับ ทุกยี่ห้อเส้นผ่าจุดศูนย์กลางจะเท่ากันหมด
- 4.3 ทำฐานให้ท่อพีวีซีไม่ล้ม ในระหว่างใช้งานน้ำทิ้งที่ปล่อยออกมาจากเครื่อง เพราะแรงดันตอนสูบน้ำออกมา จึงต้องทำฐานท่อพีวีซีไว้ไม่ให้มันล้ม โดยใช้แผ่นไม้ทำฐาน แล้วใช้คลิปจับท่อก้ามปูเป็นตัวยึดท่อพีวีซีเข้ากับฐานไม้ ซึ่งไม้ที่ใช้เป็นไม้เนื้ออ่อนสามารถใช้ไขควงหมุนนอตเจาะเข้าไปได้สบาย ๆ ไม่ต้องออกแรงเยอะ จากนั้นก็นำท่อพีวีซีที่เราประกอบมาต่อเข้ากับฐาน โดยให้ออกแรงกดท่อพีวีซีแรง ๆ มันจะลงล็อกพอดีกับคลิปจับท่อก้ามปู
- อีกด้านติดเทปสองหน้า 3M ให้ฐานยึดติดกับพื้นได้แน่นขึ้น
- 4.4 เมื่อต่ออุปกรณ์ทุกอย่างเข้าด้วยกัน มองจากด้านหลังเครื่องครับ
- ต่อสายยางน้ำทิ้งเข้ากับท่อพีวีซี โดยลากสายยางไปปล่อยน้ำที่ระเบียงห้องครับ
- 5. ติดตั้งระบบไฟง่าย ๆ เลยครับ ใช้ปลั๊กไฟที่ดี ปลอดภัย และเลือกของดี ผมใช้พานาโซนิครุ่นนี้ครับ มีเบรกเกอร์และสวิตช์เปิด-ปิด แต่ราคาสูงเหมือนกัน อันแค่นี้ตั้ง 800 กว่าบาทแน่ะ แต่ก็คุ้มครับที่ต้องใช้กับเครื่องซักผ้าที่ราคาไม่ถูกเลย
- ตำแหน่งปลั๊กไฟติดตั้งให้สูงกว่าเครื่องครับ ใช้เทปกาวสองหน้ายึดไว้กับฝาผนังห้อง
- เทปกาวสองหน้าที่ใช้ครับ
- ระหว่างที่เครื่องซักผ้ากำลังทำงาน ระวังการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ที่กินไฟเยอะหรือใช้ปลั๊กร่วมอันเดียวกันด้วยนะครับ เพราะไม่รู้ว่าที่พักมีระบบไฟดีและปลอดภัยแค่ไหน ป้องกันอุปกรณ์ของเราเอาไว้ก่อนดีกว่าครับ
- ทดสอบการใช้งานเครื่องซักผ้า ถือว่าเยี่ยมไม่มีน้ำรั่วซึมจากข้อต่อและจุดต่าง ๆ รวมถึงเครื่องซักผ้าก็เงียบ ทำงานราบรื่น
- ปล่อยน้ำทิ้ง
- เรื่องค่าไฟถ้าไม่คิดอะไรมากก็ประหยัดกว่าหยอดเหรียญเยอะเลยแถมยังช่วยถนอมเสื้อมาก ผมว่าถนอมกว่าที่ผมซักมือเองด้วย
- ผมซักโหมด Mix ผ้าทั่วไป น้ำอุ่น 40 องศา ปั่น 1,400 รอบ ใช้เวลา 1 ชั่วโมงกว่า ๆ (ระหว่างที่ซักผ้ามีการเปิดทีวีแอลอีดี เปิดไฟ พัดลม และชาร์จโทรศัพท์ร่วมด้วย) กินไฟ 0.4 หน่วยกว่า ๆ ค่าไฟที่ห้องหน่วยละ 5 บาท คำนวณออกมาตกครั้งละ 2 บาทครับ ส่วนการซักโหมดอื่น ๆ ก็คิดว่าคงไม่ต่างกันมากครับ
- ปิดท้ายด้วยการทำห่วงเกี่ยวสายยางเมื่อเลิกใช้งาน ที่รัดสายไฟหาซื้อได้ตามร้านฮาร์ดแวร์ทั่วไปครับ
- มุมมองภายในห้องครับ เมื่อใช้งานก็ลากสายยางไปที่ก๊อกครับ
- ใช้งานเสร็จแขวนสายยางเก็บครับ ที่จริงมันถอดม้วนเก็บได้นะครับถ้ามันยังเกะกะ แต่ผมจับแขวนมันซะเลยแบบสบาย ๆ รวดเร็วดีครับ
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก คุณ สมาชิกหมายเลข 2375607 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม
คนที่อาศัยอยู่ตามหอพัก ห้องเช่า หรือคอนโด ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหากับเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญอยู่เป็นประจำ เช่น เครื่องซักผ้าไม่ว่าง ตู้เสีย เหรียญเต็ม แถมบางเครื่องยังไม่สามารถปรับโหมดซักผ้าได้เอง เลยต้องทนเห็นเสื้อผ้าสุดรักสุดหวงของเราเสียทรง ย้วยยาน หรือหดตัวไปตามระเบียบ วันนี้กระปุกดอทคอมเลยขอนำวิธีติดตั้งเครื่องซักผ้าฝาหน้าจาก คุณ สมาชิกหมายเลข 2375607 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม มาฝากกัน เผื่อใครอยากจะติดตั้งเครื่องซักผ้าไว้ในห้องกับขั้นตอนง่าย ๆ แถมยังไม่ต้องเจาะผนังด้วย
[DIY] ติดตั้งเครื่องซักผ้าฝาหน้าในห้องอพาร์ทเม้นท์ ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ไม่เจาะผนัง
สวัดดีครับ เป็นกระทู้แรกของผมในพันทิป เดิมทีผมก็ใช้เครื่องซักผ้าฝาบนแบบหยอดเหรียญ แต่มันทำเสื้อผ้าเสียทรง พันกัน คอเสื้อย้วยยานเสียรูป และผมเองก็หาซื้อเสื้อผ้าที่ถูกใจได้ยาก บวกกับเป็นคนขี้เกียจซักมือ เคยซักได้ 3-4 ครั้งก็ขี้เกียจ เลยตัดสินใจซื้อเครื่องซักผ้าฝาหน้าใช้ส่วนตัวซะเลยจะได้ถนอมเสื้อผ้า
โดยผมจะติดตั้งเครื่องซักผ้าไว้ภายในห้องครับ เพราะถ้าวางที่ระเบียงห้องเดี๋ยวเครื่องซักผ้าจะเก่าซะก่อน ทั้งโดนแดดเลีย ละอองฝน เก่าเร็วแน่ ๆ และสำหรับการติดตั้งเครื่องซักผ้าของผมจะไม่มีการเจาะฝาผนังใด ๆ ทั้งสิ้นครับ ซึ่งวิธีติดตั้งนั้นง่ายมากครับ ทั้งผู้หญิงและผู้ชายสามารถทำได้หมด อุปกรณ์ที่โฮมโปรก็มีครบ แค่ไปชี้ ๆ เลือกอุปกรณ์ ให้พนักงานขายช่วยประกอบอุปกรณ์ให้ก็ได้ครับ
ขั้นตอน
1. เปลี่ยนก๊อกน้ำให้เป็นก๊อกเกลียว ถ้าเป็นก๊อกเกลียวอยู่แล้วก็ข้ามไปเลยครับ
2. ซื้อข้อต่อเกลียว 2 ทิศทาง ราคา 149 บาท เผื่อเราต้องการใช้น้ำร่วมในขณะที่กำลังซักผ้า (ถ้าไม่ต้องการ ก็ซื้อข้อต่อเกลียว 3/4 นิ้ว [อย่างในหัวข้อ 3.2] มาหมุนต่อเข้ากับก๊อก)
3. สายน้ำดีความยาว 5 เมตร ที่ต้องซื้อมาเพิ่มและยาวขนาดนี้ เพราะอันที่แถมมาสั้น ไม่ตรงตามที่ผมต้องการครับ ซึ่งก๊อกน้ำอยู่ที่ระเบียงห้องห่างจากจุดวางเครื่องซักผ้าประมาณ 4 เมตร ที่ซื้อยาวมาเกิน 1 เมตร เพื่อให้สายไม่ตึงเกินไปครับ
ส่วนสายน้ำดีก็คือ สายยางที่ต่อจากก๊อกน้ำมายังเครื่องซักผ้า ซึ่งสายยางที่ใช้ก็มีแบ่งขายที่โฮมโปรครับ หรือหาซื้อตามร้านฮาร์ดแวร์ก็ได้
3.1 ซื้อข้อต่อสายยาง 2 อันครับ อันละ 49 บาท
- ต่อเข้ากับปลายสายยางทั้ง 2 ข้างก็ต้องเลือกใช้สายยางที่มีขนาดแน่นพอดีกับข้อต่อด้วยนะครับ
3.2 ซื้อข้อต่อเกลียว 3/4 นิ้ว ราคา 69 บาท นำมาต่อเข้ากับจุดต่อท่อน้ำดีหลังเครื่องซักผ้า
- รูปจุดต่อท่อน้ำดีหลังเครื่องซักผ้าแบบชัด ๆ
- นำข้อต่อเกลียวสีเขียวหมุนเข้าอย่างนี้ครับ
3.3 เสร็จแล้ว ลองต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกันก็จะได้แบบในภาพนี้ โดยโยงปลายสายน้ำดีด้านหนึ่งต่อเข้ากับก๊อกน้ำ
- ปลายสายน้ำดีอีกด้านหนึ่งต่อเข้ากับเครื่องซักผ้า
4. ทำสายน้ำทิ้งยาว 5 เมตร เพื่อน้ำทิ้งจากเครื่องไปทิ้งที่ระเบียงห้องครับ ซึ่งเครื่องฝาหน้าจะต่างจากฝาบนตรงการปล่อยน้ำทิ้งนี่แหละครับ โดยเครื่องฝาหน้าจะปล่อยน้ำทิ้งที่ความสูงจากพื้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ตามที่คู่มือแนะนำครับ ทำให้ผมต้องต่อท่อพีวีซีเพื่อนำมาใช้ในขั้นตอนนี้ครับ ส่วนเครื่องฝาบนแค่ลากสายน้ำทิ้งจากเครื่องมาก็ปล่อยน้ำลงกับพื้นได้เลยครับ
4.1 ต่อท่อพีวีซีรับน้ำทิ้งจากเครื่องซักผ้า เราจะใช้ข้อต่อที่ใช้กับท่อขนาด 3/4 นิ้ว (หรือท่อ 6 หุน)
- ใช้ทั้งหมด 3 ชิ้นครับ มาดูกันชัด ๆ ว่ามีชิ้นไหนบ้าง
- 4.1.1 ข้อต่อเกลียวนอกสำหรับต่อสายยางน้ำทิ้งครับ โดยสายยางที่นำมาต่อจะสวมกันได้แน่นพอดี
- 4.1.2 ข้องอ 90 องศา
- 4.1.3 ข้อต่อลดนำมาเพื่อเพิ่มขนาดปลายท่อให้พอดีกับสายน้ำทิ้งของเครื่องซักผ้า
- 4.2 นำท่อและข้อต่อมาประกอบเข้าด้วยกันครับ นำข้อต่อมาประกอบเข้ากับท่อ 3/4 นิ้ว (หรือท่อ 6 หุน)
- โดยทั่วไปสูงจากพื้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ท่อสีฟ้าผมจำขนาดไม่ได้ว่าขนาดเท่าไร แต่เป็นท่อที่สวมเข้ากับสายน้ำทิ้งของเครื่องซักผ้าได้พอดีครับ สายน้ำทิ้งของเครื่องซักผ้าจะมีขนาดมาตรฐานครับ ทุกยี่ห้อเส้นผ่าจุดศูนย์กลางจะเท่ากันหมด
- 4.3 ทำฐานให้ท่อพีวีซีไม่ล้ม ในระหว่างใช้งานน้ำทิ้งที่ปล่อยออกมาจากเครื่อง เพราะแรงดันตอนสูบน้ำออกมา จึงต้องทำฐานท่อพีวีซีไว้ไม่ให้มันล้ม โดยใช้แผ่นไม้ทำฐาน แล้วใช้คลิปจับท่อก้ามปูเป็นตัวยึดท่อพีวีซีเข้ากับฐานไม้ ซึ่งไม้ที่ใช้เป็นไม้เนื้ออ่อนสามารถใช้ไขควงหมุนนอตเจาะเข้าไปได้สบาย ๆ ไม่ต้องออกแรงเยอะ จากนั้นก็นำท่อพีวีซีที่เราประกอบมาต่อเข้ากับฐาน โดยให้ออกแรงกดท่อพีวีซีแรง ๆ มันจะลงล็อกพอดีกับคลิปจับท่อก้ามปู
- อีกด้านติดเทปสองหน้า 3M ให้ฐานยึดติดกับพื้นได้แน่นขึ้น
- 4.4 เมื่อต่ออุปกรณ์ทุกอย่างเข้าด้วยกัน มองจากด้านหลังเครื่องครับ
- ต่อสายยางน้ำทิ้งเข้ากับท่อพีวีซี โดยลากสายยางไปปล่อยน้ำที่ระเบียงห้องครับ
- ตำแหน่งปลั๊กไฟติดตั้งให้สูงกว่าเครื่องครับ ใช้เทปกาวสองหน้ายึดไว้กับฝาผนังห้อง
- เทปกาวสองหน้าที่ใช้ครับ
- ระหว่างที่เครื่องซักผ้ากำลังทำงาน ระวังการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ที่กินไฟเยอะหรือใช้ปลั๊กร่วมอันเดียวกันด้วยนะครับ เพราะไม่รู้ว่าที่พักมีระบบไฟดีและปลอดภัยแค่ไหน ป้องกันอุปกรณ์ของเราเอาไว้ก่อนดีกว่าครับ
- ทดสอบการใช้งานเครื่องซักผ้า ถือว่าเยี่ยมไม่มีน้ำรั่วซึมจากข้อต่อและจุดต่าง ๆ รวมถึงเครื่องซักผ้าก็เงียบ ทำงานราบรื่น
- ปล่อยน้ำทิ้ง
- เรื่องค่าไฟถ้าไม่คิดอะไรมากก็ประหยัดกว่าหยอดเหรียญเยอะเลยแถมยังช่วยถนอมเสื้อมาก ผมว่าถนอมกว่าที่ผมซักมือเองด้วย
- ผมซักโหมด Mix ผ้าทั่วไป น้ำอุ่น 40 องศา ปั่น 1,400 รอบ ใช้เวลา 1 ชั่วโมงกว่า ๆ (ระหว่างที่ซักผ้ามีการเปิดทีวีแอลอีดี เปิดไฟ พัดลม และชาร์จโทรศัพท์ร่วมด้วย) กินไฟ 0.4 หน่วยกว่า ๆ ค่าไฟที่ห้องหน่วยละ 5 บาท คำนวณออกมาตกครั้งละ 2 บาทครับ ส่วนการซักโหมดอื่น ๆ ก็คิดว่าคงไม่ต่างกันมากครับ
- ใช้งานเสร็จแขวนสายยางเก็บครับ ที่จริงมันถอดม้วนเก็บได้นะครับถ้ามันยังเกะกะ แต่ผมจับแขวนมันซะเลยแบบสบาย ๆ รวดเร็วดีครับ