เกษตรทฤษฎีใหม่ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในแบบฉบับครัวเรือนที่ใคร ๆ ก็ทำตามได้ และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
หนทางที่แสนยาวไกลของชีวิตจะไม่ยากเลยสักนิดหากคิดและทำให้รอบคอบตามรอยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราเคยมองเห็น เคยได้ยิน เคยคิด และเคยพูดอยู่บ่อย ๆ แต่ก็ยังไม่เคยลงมือ "ทำ" ฉะนั้นหนทางจึงดูยากเย็นไปโดยปริยาย ดังนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมจะพิสูจน์ให้เห็นว่าแนวทางพอเพียงนั้นเป็นเรื่องง่ายที่ทุกคนทำได้ ด้วยวิธีการทำสวนแบบพอเพียงที่ประยุกต์มาจาก "เกษตรทฤษฎีใหม่" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระราชดำรัสไว้เพื่อให้เกษตรกรอยู่แบบพึ่งพาตนเองได้ในทุกสถานการณ์ ด้วยวิธีการจัดการทรัพยากรให้คุ้มค่าอย่างยั่งยืน แล้วจะมีวิธีไหนบ้างนั้นไปดูกันเลยดีกว่า
1. แบ่งพื้นที่ในสวนให้เหมาะสมและคุ้มค่า
ก่อนอื่นเราต้องสำรวจพื้นที่ในสวนให้ถี่ถ้วนด้วยการตรวจสภาพดิน ทิศทางแสงแดดและลม จากนั้นก็เริ่มแบ่งพื้นที่ในสวนตามเกษตรทฤษฎีใหม่จากสูตร 30:30:30:10 ให้ง่ายและเหมาะสมกับพื้นที่ของเราเอง โดยปรับเป็นโซนแปลงผักสวนครัว โซนสมุนไพร โรงเรือนเห็ด ฟาร์มสัตว์เล็ก ๆ (เล้าไก่หรือฟาร์มไส้เดือนไซซ์มินิ) และบ่อน้ำหลัก แต่ถ้าหากพื้นที่คับแคบเกินไปก็ไม่จำเป็นต้องแบ่งตามนี้ทุกประการ เลือกเฉพาะโซนที่เหมาะสมกับบ้านเราเท่านั้นก็ได้ค่ะ
จากแนวคิดระบบการจัดการน้ำของในหลวง รัชกาลที่ 9 ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องน้ำมากขึ้นและสามารถนำไปปรับใช้ในสวนได้อย่างเหมาะสม ด้วยการขุดบ่อน้ำหลักเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในสวนและต่อท่อไปยังแปลงปลูกทั้งหมดที่มี หรืออาจจะส่งตรงไปยังพืชที่ต้องการน้ำมากอย่างเดียวก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถเลี้ยงปลาไว้เป็นอาหารหรือปลูกพืชน้ำอย่างผักกระเฉดในบ่อได้อีกด้วย
2. DIY ระบบน้ำฉบับบ้าน ๆ ของคนรักสวน
จากแนวคิดระบบการจัดการน้ำของในหลวง รัชกาลที่ 9 ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องน้ำมากขึ้นและสามารถนำไปปรับใช้ในสวนได้อย่างเหมาะสม ด้วยการขุดบ่อน้ำหลักเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในสวนและต่อท่อไปยังแปลงปลูกทั้งหมดที่มี หรืออาจจะส่งตรงไปยังพืชที่ต้องการน้ำมากอย่างเดียวก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถเลี้ยงปลาไว้เป็นอาหารหรือปลูกพืชน้ำอย่างผักกระเฉดในบ่อได้อีกด้วย
3. ปรับดินให้มีคุณภาพด้วยการรับแสงแดด ไม่ต้องฟุ่มเฟือยเพื่อบำรุงใหม่
หากพบว่าสภาพดินในสวนไม่เอื้ออำนวยให้ปลูกพืชเท่าไร แนะนำให้พรวนดินและเปิดหน้าดินรับแสงแดดโดยตรง เพราะแสงแดดจะช่วยปรับสภาพดินให้มีสารอาหารที่เหมาะสมกับพืช หรือจะทำการผสมดินในขั้นตอนไปพร้อม ๆ กันเลยก็ได้ค่ะ
4. เลือกใช้กระถางที่ช่วยประหยัดน้ำและลดโลกร้อน
วัสดุของกระถางต้นไม้ก็มีส่วนช่วยในการจัดสวนแบบพอเพียงได้เหมือนกัน เช่น กระถางที่ทำจากโลหะหรือสังกะสีจะดูดซับความร้อนจากแสงแดดเข้ามามาก ทำให้ดินขาดความชุ่มชื้น เพราะน้ำจะระเหยออกไปจนหมดและทำให้เราต้องรดน้ำบ่อยขึ้น ดังนั้น ควรเปลี่ยนมาใช้กระถางที่สามารถกักเก็บความชื้นหรืออุ้มน้ำได้นาน ๆ แทน เช่น กระถางดิน ส่วนอีกหนึ่งวิธีก็คือการนำภาชนะเหลือใช้ในครัวเรือนมา DIY ใหม่ เช่น นำตะกร้าหรือขวดน้ำพลาสติกมาใช้ในการปลูกต้นไม้ ก็จะช่วยลดขยะ ไม่สร้างสภาวะโลกร้อนได้อีกทาง
5. ผสมปุ๋ยอินทรีย์ไม่มีสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง
เมินหน้าใส่ปุ๋ยเคมีแล้วหันมาลงมือผสมปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองกันดีกว่า ทั้งปลอดภัยไร้สารพิษและยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายไปในตัว ขอบอกก่อนเลยว่าปุ๋ยอินทรีย์นั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ ปุ๋ยหมักจากซากพืช-ซากสัตว์ ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ และปุ๋ยพืชสดจากพืชหน้าดินที่ย่อยสลาย แต่ในเมื่อสวนของเราเป็นฉบับครัวเรือน อาจจะทำตามทริกง่าย ๆ เหล่านี้
- ปุ๋ยน้ำหมัก
นำมูลสัตว์ 1 ส่วนมาผสมกับใบไม้แห้ง แกลบ ฟาง หรือหญ้าแห้ง แค่ 1 ส่วน รำ 1 ส่วน ให้เข้ากันและพักไว้ หันมาผสมกากน้ำตาล 40 ซีซี. กับน้ำเปล่า 10 ลิตร และจุลินทรีย์อีก 40 ซีซี. ให้เข้ากัน จากนั้นนำไปราดและคลุกเคล้ากับส่วนผสมแรกให้ได้เนื้อที่พอดี ไม่เหลวและไม่แห้งจนเกินไป วางปุ๋ยให้เป็นกองเพื่อหมักทิ้งไว้อีกสักสัปดาห์ครึ่งก็เป็นอันใช้ได้
- DIY หลุมหมักปุ๋ยกลางแปลงปลูกแบบ keyhole
ไอเดียเพาะปลูกจากแอฟริกาที่เรานำมาปรับใช้ ก่อนอื่นต้องก่อแปลงปลูกให้เป็นวงกลมที่มีความสูงพอสมควร ขุดบ่อหรือหลุมไว้ตรงกลางแปลงเพื่อเอาไว้ใส่ซากพืช เปลือกไข่ และสิ่งของที่สามารถย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยได้ลงไปหมักในนั้น ใช้ใบไม้แห้งและฟางแห้งคลุมหน้าเอาไว้ เท่านี้เราก็จะได้ปุ๋ยที่อยู่ในแปลงปลูกโดยอัตโนมัติแล้ว
อีกหนึ่งวิธีการทำสวนให้พอเพียงนั้นก็คือการรักษาความชุ่มชื้นของดินเอาไว้ หากเราปล่อยปละละเลยเรื่องเล็ก ๆ อย่างนี้ไปรับรองว่าคุณต้องนอนก่ายหน้าผากบนกองบิลค่าน้ำเป็นแน่ มาเริ่มกันที่วิธีแรกด้วยการรองใต้กระถางด้านในด้วยกระดาษทิชชู แพมเพิร์สชิ้นใหม่ หรือเสื้อถักไหมพรมตัวเก่า คลุมหน้าดินด้วยแกลบและปลูกหญ้าแฝกไว้รอบ ๆ สวน วิธีทั้งหมดนี้จะช่วยกักเก็บน้ำไว้ในดินได้อย่างเหมาะสม และส่งผลให้พืชพรรณเจริญเติบโตออกดอกออกผลอย่างสวยงาม
- ปุ๋ยน้ำหมัก
นำมูลสัตว์ 1 ส่วนมาผสมกับใบไม้แห้ง แกลบ ฟาง หรือหญ้าแห้ง แค่ 1 ส่วน รำ 1 ส่วน ให้เข้ากันและพักไว้ หันมาผสมกากน้ำตาล 40 ซีซี. กับน้ำเปล่า 10 ลิตร และจุลินทรีย์อีก 40 ซีซี. ให้เข้ากัน จากนั้นนำไปราดและคลุกเคล้ากับส่วนผสมแรกให้ได้เนื้อที่พอดี ไม่เหลวและไม่แห้งจนเกินไป วางปุ๋ยให้เป็นกองเพื่อหมักทิ้งไว้อีกสักสัปดาห์ครึ่งก็เป็นอันใช้ได้
- DIY หลุมหมักปุ๋ยกลางแปลงปลูกแบบ keyhole
ไอเดียเพาะปลูกจากแอฟริกาที่เรานำมาปรับใช้ ก่อนอื่นต้องก่อแปลงปลูกให้เป็นวงกลมที่มีความสูงพอสมควร ขุดบ่อหรือหลุมไว้ตรงกลางแปลงเพื่อเอาไว้ใส่ซากพืช เปลือกไข่ และสิ่งของที่สามารถย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยได้ลงไปหมักในนั้น ใช้ใบไม้แห้งและฟางแห้งคลุมหน้าเอาไว้ เท่านี้เราก็จะได้ปุ๋ยที่อยู่ในแปลงปลูกโดยอัตโนมัติแล้ว
6. ความชุ่มชื้นของดินคือสิ่งที่ต้องรักษา
อีกหนึ่งวิธีการทำสวนให้พอเพียงนั้นก็คือการรักษาความชุ่มชื้นของดินเอาไว้ หากเราปล่อยปละละเลยเรื่องเล็ก ๆ อย่างนี้ไปรับรองว่าคุณต้องนอนก่ายหน้าผากบนกองบิลค่าน้ำเป็นแน่ มาเริ่มกันที่วิธีแรกด้วยการรองใต้กระถางด้านในด้วยกระดาษทิชชู แพมเพิร์สชิ้นใหม่ หรือเสื้อถักไหมพรมตัวเก่า คลุมหน้าดินด้วยแกลบและปลูกหญ้าแฝกไว้รอบ ๆ สวน วิธีทั้งหมดนี้จะช่วยกักเก็บน้ำไว้ในดินได้อย่างเหมาะสม และส่งผลให้พืชพรรณเจริญเติบโตออกดอกออกผลอย่างสวยงาม
7. ปลูกผักสวนครัวตามฤดูกาลให้มีกินตลอดทั้งปี
สภาพอากาศตามฤดูกาลคือปัจจัยหลักที่ทำให้สวนอุดมสมบูรณ์พร้อมใช้งาน ดังนั้น เราจึงควรหันมาปลูกพืชให้ตรงกับฤดูกาลเพื่อให้มีกินมีใช้ได้ตลอดทั้งปีกันดีกว่าค่ะ
- ฤดูร้อน ควรปลูกมะระ, บวบ, ผักชี, น้ำเต้า, ผักกาดหอม, ข้าวโพดหวาน หรือถั่วฝักยาว
- ฤดูร้อน ควรปลูกมะระ, บวบ, ผักชี, น้ำเต้า, ผักกาดหอม, ข้าวโพดหวาน หรือถั่วฝักยาว
- ฤดูฝน (ช่วงต้น) ให้ปลูกกวางตุ้ง, พริก, ผักกาดหอม, บวบ, ผักบุ้ง, มะเขือ, แตงกวา หรือกระเจี๊ยบเขียว
- ฤดูฝน (ช่วงปลาย) ควรปลูกมะเขือเทศ, ขึ้นฉ่าย, แครอต, พริกหยวก, กะหล่ำปลี, ถั่วลันเตา หรือหอมใหญ่
- ฤดูหนาว ควรปลูกมะเขือเทศ, หอมใหญ่, ผักกาดขาว, ถั่วพู, ขึ้นฉ่าย, ผักชี, ตั้งโอ๋ หรือบรอกโคลี
8. ประเภทของพืชหลัก ๆ ที่ควรปลูกเอาไว้ในสวน
เมื่อแบ่งพื้นที่ในสวนได้ตามที่ต้องการแล้วก็ควรจะเลือกพืชมาปลูกให้เหมาะสมตามประเภทหลัก ๆ ที่ควรจะมีไว้ใช้ประโยชน์ในบ้าน ดังนี้
- พืชผัก-ผลไม้แบบยืนต้นอย่างมะม่วง กล้วย มะละกอ มะรุม และขนุน
- พืชผักและไม้ล้มลุกอย่างถั่วฝักยาว มันเทศ มะเขือ มะลิ และซ่อนกลิ่น
- พืชสมุนไพร เช่น พริกไทย หญ้าแฝก กะเพรา สะระแหน่ โหระพา ตะไคร้ บัวบก และพลู
- เห็ดชนิดต่าง ๆ ที่ชื่นชอบ
9. สูตรไล่แมลงและศัตรูพืชแบบไร้สารพิษ
ปัญหาศัตรูพืชเป็นเรื่องธรรมดาที่เราสามารถจัดการได้อยู่หมัดกับสูตร DIY ของในครัวเรือนโดยไม่พึ่งสารเคมีได้ดังต่อไปนี้ ด้วยสูตรยาฆ่าแมลงปลอดสารพิษจากก้นครัว
- สะเดา
ให้นำเมล็ดสะเดาไปล้างน้ำให้สะอาดและผึ่งแดดไว้ 4 วัน นำมาตำให้เป็นผงก่อนจะผสมกับน้ำเปล่าและทิ้งให้นอนก้น สุดท้ายให้กรองด้วยผ้าขาวบางก่อนจะนำไปฉีดพ่น
- มะเขือเทศ
ให้นำผล ลำต้น หรือใบ ไปบดให้ละเอียดและผสมกับน้ำขี้เถ้า จัดการกรองกากใยให้เรียบร้อยก่อนนำไปใช้
10. แบ่งปันผลผลิตให้กับเพื่อนบ้าน สร้างรากฐานความสัมพันธ์
การปรับใช้ “เกษตรทฤษฎีใหม่” สำหรับสวนแบบพอเพียงในข้อสุดท้ายก็คือ การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนผลผลิตกับเพื่อนบ้านและญาติพี่น้อง ซึ่งจะทำให้เราได้บริโภคผลผลิตที่แตกต่างออกไปจากเดิม ไม่จำเจอยู่กับพืชผลที่มีอยู่ แถมยังเป็นการรักษาความสัมพันธ์ของเพื่อนบ้านให้แน่นแฟ้นได้ ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการสร้างรากฐานหมู่บ้านให้มั่นคงได้อีกด้วย
เชื่อหรือยังคะว่า “เกษตรทฤษฎีใหม่” ไม่ได้ยากอย่างที่เราคิด แม้จะเป็นหลักการที่ตรงกับเกษตรกรมากที่สุด แต่ไม่ว่าเราจะเป็นใครหรือฐานะไหนก็สามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากับชีวิตความเป็นอยู่เพื่อความมั่นคงได้ค่ะ หากใครที่คิดแล้วแต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มตอนไหนดี เราขอแนะนำให้ใช้ฤกษ์งามยามดีในวันพ่อแห่งชาตินี้มาลงมือทำ เพราะนอกจากจะเกิดประโยชน์กับตัวเราแล้ว นี่ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของการตอบแทนในหลวง รัชกาลที่ 9 จากปวงชนชาวไทยได้อีกด้วย
ติดตาม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งหมด