จบปัญหาเรื่องน้ำแข็งในตู้เย็นเกาะเป็นก้อนหนา ด้วยวิธีละลายน้ำแข็งง่าย ๆ พร้อมแช่ของต่อได้สบาย ๆ แถมช่วยยืดอายุการใช้งานและประหยัดไฟไปพร้อมกัน เนื่องจากตู้เย็นบางรุ่นยังไม่มีระบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ ยังต้องกดปุ่มละลายน้ำแข็งเองอยู่ หากทิ้งไว้นานก็อาจทำให้น้ำแข็งในช่องฟรีซเกาะเป็นก้อนหนาจนละลายยากได้ วันนี้ตามไปดูระบบละลายน้ำแข็งในตู้เย็นกัน จะได้รู้ว่าตู้เย็นของเราใช้ระบบไหน พร้อมวิธีละลายน้ำแข็งในตู้เย็น เพื่อให้ใช้งานได้นาน ๆ เพราะการปล่อยให้น้ำแข็งเกาะตัวจนหนาจะทำให้ความเย็นในช่องฟรีซลดลง เพราะน้ำแข็งจะไปขัดขวางการกระจายความเย็น อีกทั้งยังทำให้แช่ของได้น้อยลงและเปลืองไฟมากขึ้นด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นระบบตู้เย็นรุ่นเก่าและตู้เย็นแบบ 1 ประตู ซึ่งเป็นระบบที่ต้องกดปุ่มละลายเพื่อหยุดการทำงานของ Compressor แล้วน้ำแข็งที่ละลายจะไหลไปยังถาดรองน้ำทิ้งหลังตู้เย็น บางรุ่นก็ต้องนำน้ำไปเททิ้งเอง ในขณะที่บางรุ่นน้ำก็จะระเหยออกไปเอง ระบบที่พบได้ในตู้เย็นรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งเป็นการละลายน้ำแข็งแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องคอยกดปุ่ม หรือไม่ต้องคอยเทน้ำทิ้ง อีกทั้งยังไม่ต้องกลัวปัญหาน้ำแข็งเกาะช่องฟรีซ โดยการทำความเย็นด้วยลมเย็น และละลายน้ำแข็งด้วยลวดความร้อน ซึ่งจะคอยทำละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ เป็นระบบที่ใช้งานสะดวกกว่า แต่ก็กินไฟมากกว่าระบบ Defrost เคลียร์ของออกจากตู้เย็น และเช็กถาดรองน้ำทิ้ง หากมีน้ำค้างอยู่ควรเททิ้งให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันน้ำล้นหลังจากกดละลายน้ำแข็ง นำชั้นวางของในตู้เย็นไปล้างให้สะอาดและวางทิ้งไว้ให้แห้ง ศึกษาข้อมูลระบบละลายน้ำแข็งจากคู่มือ และหาตำแหน่งปุ่มกดละลายน้ำแข็ง เพราะตู้เย็นแต่ละรุ่นดีไซน์มาไม่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วปุ่มจะอยู่คู่กับที่ปรับอุณหภูมิ ปรับอุณหภูมิตู้เย็นไปที่ Off ก่อนกดปุ่มละลายน้ำแข็ง และดึงปลั๊กตู้เย็นออก รอให้น้ำแข็งละลายเองจนหมด หากมีน้ำแข็งเกาะหนาให้เปิดประตูตู้เย็นทิ้งไว้ แล้วเอาพัดลมเป่า ก็จะช่วยให้น้ำแข็งละลายเร็วขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ของมีคม เช่น มีด หรือของแข็ง เซาะนำแข็งออกมา รวมถึงไม่ราดน้ำเพื่อละลายน้ำแข็ง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น นำฟองน้ำหรือผ้าสะอาดมาเช็ดทำความสะอาดให้เรียบร้อย ทั้งช่องฟรีซ ช่องแช่ต่าง ๆ ชั้นวางของ รวมถึงด้านนอกของตู้เย็น เสียบปลั๊กแล้วปรับอุณหภูมิไปที่ระดับความเย็นสูงสุด ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที ก่อนจะปรับกลับมายังอุณหภูมิความเย็นที่ต้องการ ทั้งนี้ ควรละลายน้ำแข็งตู้เย็นอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือเมื่อน้ำแข็งเริ่มเกาะหนา เพื่อรักษาความเย็นให้เป็นปกติ และช่วยประหยัดไฟได้มากกว่าด้วยสำหรับตู้เย็นที่ยังใช้ระบบ Defrost หรือปุ่มละลายน้ำแข็ง อย่าลืมละลายน้ำแข็งในตู้เย็นและทำความสะอาดตู้เย็นอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งด้วยนะคะ เพื่อยืดอายุการใช้งานตู้เย็นและทำให้ไม่เปลืองพลังงาน วิธีการเลือกซื้อตู้เย็น เลือกแบบไหนให้เหมาะกับเราที่สุด ตู้เย็นไม่เย็น ทำยังไงดี ? 7 วิธีนี้ช่วยแก้ปัญหาได้ 15 พฤติกรรมทำตู้เย็นพัง เลี่ยงเลยถ้าไม่อยากซื้อใหม่ 6 วิธีเก็บอาหารในตู้เย็นให้ถูกจุด แต่ละตำแหน่งควรแช่อะไรดี ? 19 เคล็ดลับจัดระเบียบตู้เย็น ให้เก็บอาหารได้นาน ๆ ขอบคุณข้อมูลจาก : safesavethai.com, kitchen-form.com และ เฟซบุ๊ก Power Buy
แสดงความคิดเห็น