x close

สปริงเกลอร์ อุปกรณ์รดน้ำชิ้นสำคัญประจำสวน

สปริงเกลอร์ อุปกรณ์รดน้ำชิ้นสำคัญประจำสวน


Springkler สปริงเกลอร์ (Life and Home)
Story : พิมพ์ชนก เกตุนวม

          "น้ำ" เป็นเรื่องที่สำคัญค่ะ เพราะสิ่งมีชีวิตทุกอย่างบนโลกนี้ล้วนแต่ต้องพึ่งพาอาศัยน้ำทั้งนั้น กว่าที่ต้นไม้ตะเจริญเติบโตขึ้นมาได้ ต้องมีการหล่อเลี้ยงด้วยน้ำ ดั่งพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระองค์ทรงดำริว่า "หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้เพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้" ดังนั้นเพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำให้คุ้มค่า เรามาจัดสรรการใช้น้ำในพื้นที่สวนกัน ซึ่งการใช้สปริงเกลอร์ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการประหยัดน้ำ ประหยัดเวลา แถมยังสะดวกสบายทุ่นแรงของเราไปได้อีกเยอะเลยค่ะ

ระบบสปริงเกลอร์ คืออะไร ?

          ระบบสปริงเกลอร์ คือ การบีบอัดฉีดน้ำ ให้แตกเป็นสายและหมุนเหวี่ยงไปรอบ ๆ ต้นไม้ พืชผัก พืชสวน ช่วยฉีดเพื่อลดอุณหภูมิที่ร้อนนั้นให้ได้รับความเย็น ชื่นฉ่ำด้วยละอองน้ำ

สปริงเกลอร์ อุปกรณ์รดน้ำชิ้นสำคัญประจำสวน

การเลือกใช้หัวสปริงเกลอร์

           1. สปริงเกลอร์ ธรรมดา เหมาะสำหรับสวนในพื้นที่ขนาดเล็กที่ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง

           2. มินิสปริงเกลอร์ เหมาะสำหรับสวนหย่อมที่ต้องการประหยัดน้ำให้ปริมาณน้ำน้อย ทำให้ประหยัดขนาดท่อและขนาดปั๊ม

           3. สปริงเกลอร์ POP-UP เหมาะสำหรับสนามหญ้าที่มีพื้นที่ค่อนข้างกว้างมีความสวยงามเมื่อติดตั้งเสร็จ ไม่เกะกะพื้นที่ มีความสวยงามเมื่อติดตั้งเสร็จ ไม่เกะกะพื้นที่ ความคงทน

           4. หัวน้ำหยด เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ไม่ต้องอาศัยแรงดัน ประหยัดน้ำ แต่ใช้เวลาทำงานมากกว่าสปริงเกลอร์

           5. หัวพ่นหมอก ใช้ปริมาณน้ำน้อย แต่ใช้แรงดันมาก (4 bar) ใช้ละอองละเอียดเหมือนหมอก ใช้กับสวนกล้วยไม้ โรงเห็ด หรือใช้ลดอุณหภูมิของบ้านในหน้าร้อน ช่วยสร้างบรรยากาศในร้านอาหาร

การทำงานของระบบสปริงเกลอร์

          ระบบสปริงเกลอร์รดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ มีองค์ประกอบของอุปกรณ์หลัก ๆ ดังนี้

           1. หัวจ่ายน้ำ (Sprinkler Head) มีหลายชนิด ถ้าแบ่งตามลักษณะการฉีดน้ำจะมีแบบ spray head, rotor หรือแบบน้ำหยดทั้งนี้การเลือกใช้งานจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่ ชนิดของดินและพืช

           2. วาล์วไฟฟ้า (Solenoid Valve) ใช้ไฟฟ้าความต่างศักย์ต่ำ (24 โวลท์) จากคอนโทรลเลอร์ในการสั่งการให้วาล์วเปิด-ปิด

           3. คอนโทรลเลอร์ (Controller) เป็นอุปกรณ์ที่สั่งให้วาล์วไฟฟ้าเปิดปิดตามเวลาและระยะเวลาที่กำหนดไว้

           4. เครื่องสูบน้ำ (Pump) ระบบสปริงเกอร์ใช้แรงดันน้ำค่อนข้างสูงจึงจำเป็นจะต้องมี เครื่องสูบน้ำที่เหมาะสมกับระบบโดยเฉพาะ

           5. ระบบตั้งเวลารดน้ำ (timer) อุปกรณ์ตั้งเวลาซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้แบบธรรมดาหรือดิจิตอล

สปริงเกลอร์ อุปกรณ์รดน้ำชิ้นสำคัญประจำสวน

รดน้ำด้วยสปริงเกลอร์


          แนะนำให้ใช้กับบ้านที่มีพื้นที่สวนขนาดใหญ่ รายการอุปกรณ์ มีดังนี้

           1. ท่อ-ข้อต่อ

           2. บอลวาล์ว

           3. เครื่องตั้งเวลาอัตโนมัติ

           4. สปริงเกลอร์

รูปแบบต่าง ๆ ของสปริงเกลอร์


          รูปแบบของสปริงเกลอร์ต่างกันออกไปตามการใช้งานซึ่งสามารถจำแนกหลัก ๆ ได้ดังนี้

          สปริงเกลอร์แบบน้ำหยด เป็นสปริงเกลอร์ ที่มีอัตราจ่ายน้ำน้อยมากประมาณ 1-20 ลิตร/ชม. จ่ายน้ำออกมาในลักษณะเป็นหยดหรือถ้าอัตราการจ่ายน้ำสูง ก็จะไหลเป็นสายน้ำ มีการอุดตันได้ง่าย พืชที่เหมาะแก่การใช้หัวจ่ายแบบน้ำหยด ได้แก่ การปลูกพืชระยะสั้น พืชผัก ไม้ดอก ไม้กระถาง เป็นต้น

         สปริงเกลอร์แบบหัวพ่นฝอย เป็นสปริงเกลอร์ ที่พ่นกระจายน้ำแบบเป็นละอองขนาดเล็กหรือเป็นเส้นมีรัศมีการกระจายน้ำใกล้ ๆ ระยะประมาณไม่เกิน 1.5 เมตร เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการรัศมีการพ่นน้อย เช่น แปลงผักต้นไม้ หรือพุ่มไม้เล็ก ๆ ตามสวนในบ้าน ไม้ผลไม้ยืนต้นที่ทรงพุ่มไม้ไม้ใหญ่ เป็นต้น

         แบบหัวมินิสปริงเกลอร์ เหมาะสำหรับสวนขนาดใหญ่เนื่องจากมีการกระจายน้ำให้เลือกหลากหลายครอบคลุมการใช้งาน หัวจ่ายน้ำแบบมีนิสปริงเกลอร์ปกติ จะใช้งานที่แรงดันประมาณ 15-20 เมตร สปริงเกลอร์ มีอัตราการจ่ายน้ำที่หลากหลายขนาด การเลือกอัตราจ่ายน้ำน้อย ๆ มีข้อดีที่ใช้ขนาดท่อส่งน้ำ และเครื่องสูบน้ำเล็กได้ แต่มีข้อเสียที่ใช้เวลาการให้น้ำนาน มีอัตราการจ่ายน้ำสูง และนอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะเกิดปัญหาอุดตันที่รูฉีดได้ง่าย เนื่องจากรูฉีดมีขนาดเล็ก

ข้อดีของการรดน้ำแบบสปริงเกลอร์ คือ

          การใช้น้ำระบบนี้จะช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศบริเวณที่ปลูกต้นไม้ได้ และสามารถช่วยลดอุณหภูมิในบริเวณที่เราปลูกต้นไม้ได้ เหมาะสมสำหรับกรณีปลูกต้นไม้ที่มีความต้องการน้ำแตกต่างกัน โดยเฉพาะถ้าต้นไม้มีขนาดทรงความหนาแน่น พุ่มต่างกัน เพราะขนาดของและความหนาแน่นทรงพุ่มจะมีผลโดยตรงต่อปริมาณน้ำที่ระบบรากจะได้รับ แนะนำอีกหนึ่งอย่างสำหรับบุคคลที่บ้านปลูกต้นไม้ ประเภทไม้ป่าดิบชื้น (Rain Forest) ควรมีอย่างยิ่ง เช่น ไม้จำพวกมอส หรือเฟิร์น เพราะไม้ประเภทนี้ต้องการน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งค่ะ

ข้อควรรู้ของการรดน้ำโดยใช้ระบบสปริงเกลอร์ คือ


          ส่วนเรื่องข้อเสียนั้นหลัก ๆ แล้วเป็นเรื่องของแรงดันน้ำที่จะต้องได้ขนาดความแรงที่กำหนดเพื่อนต้นน้ำในแต่ละจุด โดยปกติแล้วระบบน้ำหยดต้องการแรงดันน้ำขนาด 1 บาร์ แต่ระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์นั้นต้องการตั้งแต่ 4 บาร์เป็นต้นไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับขนาดของหัวสปริงเกลอร์ที่ต้องการแรงดันมากขึ้น ยิ่งหัวสปริงเกลอร์ใหญ่เท่าไหร่ก็ต้องการแรงดันมากขึ้นเท่านั้น และข้อเสียอีกเรื่องหนึ่งของระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์นั้นก็เป็นเรื่องของจำนวนน้ำที่ต้องใช้ในปริมาณมาก ซึ่งหากวางแผนหรือจัดการพื้นที่ไม่ดีต้นไม้ก็อาจจะไม่ได้รับน้ำอย่างเต็มที่


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

No.229 มกราคม 2557



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สปริงเกลอร์ อุปกรณ์รดน้ำชิ้นสำคัญประจำสวน อัปเดตล่าสุด 27 พฤษภาคม 2557 เวลา 15:24:05 34,446 อ่าน
TOP