x close

รวมแผงโซลาร์เซลล์ติดหลังคา ช่วยลดค่าไฟในบ้านได้ระยะยาว

รวมแผงโซลาร์เซลล์ สำหรับติดตั้งบนหลังคา ไว้ผลิตไฟฟ้าใช้เองในบ้าน ช่วยลดค่าใช้จ่ายสิ้นเดือนในระยะยาว แถมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

แผงโซลาร์เซลล์

เนื่องจากปัญหาค่าไฟที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปีโดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน ทำให้หลายคนหันไปพึ่งโซลาร์เซลล์ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้ามาใช้ในบ้าน เพราะนอกจากจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยประหยัดค่าไฟไปในตัวด้วย

สำหรับคนที่กำลังหาข้อมูลไว้พิจารณา วันนี้เราก็ได้รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแผงโซลาร์เซลล์พร้อมราคามาให้เปรียบเทียบกันแล้ว

แผงโซลาร์เซลล์  คือ

แผงโซลาร์เซลล์

แผงโซลาร์เซลล์ (Solar Module หรือ Solar Panel) อุปกรณ์เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงงานไฟฟ้า โดยอาศัยสารกึ่งตัวนำทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานและการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า แต่กระแสไฟฟ้าที่ได้เป็นกระแสตรง จึงต้องมีการทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น อินเวอร์เตอร์ เพื่อเปลี่ยนเป็นกระแสสลับส่งเข้าสู่ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

ประเภทแผงโซลาร์เซลล์  คือ

ประเภทแผงโซลาร์เซลล์

แผงโซลาร์เซลล์ มี 3 ประเภทด้วยกัน ซึ่งมีความแตกต่างกันในเรื่องของวัสดุที่นำมาผลิต ปริมาณการผลิตไฟฟ้า และอายุการใช้งาน ดังนี้

  • แผงโซลาร์เซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Solar Cells) ผลิตจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง ลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมตัดมุมนำมาต่อกันเป็นแผงขนาดใหญ่ มีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 15-17% และอายุการใช้งานเฉลี่ยมากกว่า 25 ปี 
  • แผงโซลาร์เซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Solar Cells) ผลิตจากซิลิคอนอัดรวมกันเป็นแผง ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจะอยู่ที่ 12-15% อายุการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ 20 ปี แม้คุณสมบัติโดยรวมจะด้อยกว่าแบบโมโนคริสตัลไลน์ แต่มีข้อดีที่ราคาถูกกว่าและลดการเกิดขยะในกระบวนการผลิตมากกว่า 
  • แผงโซลาร์เซลล์แบบอมอร์ฟัส (Amorphous Solar Cells) การใช้สารเคลือบ Thin Film Technology เคลือบไว้บนแผงที่ผลิตจากแก้วหรือพลาสติก ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจะอยู่ที่ 6-8% มีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี และมีราคาถูกที่สุด มีข้อดีคือ ใช้งานได้ดีแม้ในที่แสงน้อย รวมไปถึงพื้นที่ที่มีพื้นผิวโค้งมน ดังนั้นส่วนใหญ่จะนำไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กมากกว่านำมาใช้ติดตั้งบนหลังคา เช่น เครื่องคิดเลขและนาฬิกา เป็นต้น 

นอกจากนี้ยังมีแผงโซลาร์เซลล์แบบแกลเลียมอาร์เซไนด์ (Gallium Arsenide Solar Cell) ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากถึง 25% แต่เนื่องจากมีราคาค่อนข้างสูง จึงนิยมนำไปใช้กับการผลิตดาวเทียมและยานอวกาศมากกว่า

การติดตั้งโซลาร์เซลล์เหมาะกับหลังคาแบบใด ?

แผงโซลาร์เซลล์

สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้บนหลังคาทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้อง โลหะ ซีเมนต์ ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม ควรเช็กโครงสร้างของบ้านและสภาพของหลังคาก่อนทุกครั้ง และบริเวณที่ติดตั้งควรเป็นพื้นที่โปร่งโล่งไม่มีเงาไม้มาบดบัง ความชันของหลังคาไม่เกิน 15-40 องศาด้วย

การเลือกซื้อแผงโซลาร์เซลล์

แผงโซลาร์เซลล์

การเลือกซื้อแผงโซลาร์เซลล์ให้ดูที่ประเภทวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิต กำลังในการผลิตกระแสไฟฟ้า รวมไปถึงขนาดของแผงโซลาร์เซลล์ สำหรับใช้ในการคำนวณจำนวนแผงที่จะนำมาติดตั้ง นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการใช้งานและความเหมาะสมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ร่วมกัน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนาน ป้องกันอุปกรณ์ชำรุด รวมถึงความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต การรับประกัน และบริการหลังการขาย เช่น Cal Center รับแจ้งปัญหา เป็นต้น

แผงโซลาร์เซลล์ ยี่ห้อไหนดี

1. แผงโซลาร์เซลล์ Lives

แผงโซลาร์เซลล์ Lives

ภาพจาก : dohome.co.th

แผงโซลาร์เซลล์ Lives ประเภท Polycrystalline มี 3 ขนาด คือ 80 วัตต์ 150 วัตต์ และ 330 วัตต์ อุปกรณ์เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้า อายุการใช้งานยาวนาน ทั้งนี้ ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน หลีกเลี่ยงการดัดแปลงและการทำความสะอาดด้วยสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรด-ด่าง

  • ค่าประสิทธิภาพแผง : ขนาด 80 วัตต์ 17% / ขนาด 150 วัตต์ 17% / ขนาด 330 วัตต์ 17%
  • ขนาด (กว้าง*ยาว) : ขนาด 80 วัตต์ 67*67 เซนติเมตร / ขนาด 150 วัตต์ 68*184 เซนติเมตร / ขนาด 330 วัตต์ 99.2*195.6 เซนติเมตร
  • ราคา : ขนาด 80 วัตต์ 1,380 บาท / ขนาด 150 วัตต์ 1,940 บาท / ขนาด 330 วัตต์ 4,190 บาท

2. แผงโซลาร์เซลล์ Giantech

แผงโซลาร์เซลล์ Giantech

ภาพจาก : thaiwatsadu.com

แผงโซลาร์เซลล์ Giantech ประเภท Polycrystalline ขนาด 180 วัตต์ เหมาะสำหรับการติดตั้งบนหลังคา ดาดฟ้า หรือพื้นที่โล่ง ไม่ว่าจะเป็นบ้าน โรงเลี้ยงสัตว์ แปลงทำการเกษตร รวมถึงอาคารสำนักงาน วัสดุทนทานต่อสภาพอากาศ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดี 

  • จำนวนเซลล์ : 36 เซลล์
  • ค่าประสิทธิภาพแผง : 20% 
  • ขนาด (กว้าง*ยาว) : 170*107 เซนติเมตร
  • ราคา : 2,680 บาท

3. แผงโซลาร์เซลล์ Transpower

แผงโซลาร์เซลล์ Transpower

ภาพจาก : homepro.co.th

แผงโซลาร์เซลล์ Transpower แบบ Full Cell มีให้เลือก 2 ขนาด คือ ขนาด 150 วัตต์ แผงโซลาร์เซลล์ประเภท Monocrystalline และขนาด 340 วัตต์ แผงโซลาร์เซลล์ประเภท Polycrystalline ผลิตไฟฟ้าได้ดีแม้ในช่วงที่มีแสงน้อย ทนทานต่อทุกสภาพอากาศ แข็งแรง ดีไซน์สวยทันสมัย ติดตั้งได้ทั้งบนหลังคาบ้าน โรงเลี้ยงสัตว์ พื้นที่ทำการเกษตร และอาคารสำนักงาน

  • จำนวนเซลล์ : 150 วัตต์ 36 เซลล์ / ขนาด 340 วัตต์ 72 เซลล์
  • ค่าประสิทธิภาพแผง : ขนาด 150 วัตต์ 15.10% / ขนาด 340 วัตต์ 17.50%
  • ขนาด (กว้าง*ยาว) : ขนาด 150 วัตต์ 88*187 เซนติเมตร / ขนาด 340 วัตต์ 99.2*195.6 เซนติเมตร
  • ราคา : ขนาด 150 วัตต์ 2,890 บาท / ขนาด 340 วัตต์ 4,290 บาท
แผงโซลาร์เซลล์ Transpower

ภาพจาก : homepro.co.th

แผงโซลาร์เซลล์ Transpower แบบ Half Cell มีให้เลือก 2 ขนาด คือ ขนาด 450 วัตต์ และขนาด 500 วัตต์ แผงโซลาร์เซลล์ประเภท Monocrystalline ผลิตไฟฟ้าได้ดีแม้ในช่วงที่มีแสงน้อย ทนทานต่อทุกสภาพอากาศ แข็งแรง ดีไซน์สวยทันสมัย ติดตั้งได้ทั้งบนหลังคาบ้าน โรงเลี้ยงสัตว์ พื้นที่ทำการเกษตร และอาคารสำนักงาน

  • จำนวนเซลล์ : ขนาด 450 วัตต์ 144 เซลล์ / ขนาด 500 วัตต์ 150 เซลล์
  • ค่าประสิทธิภาพแผง : ขนาด 450 วัตต์ 20.70% / ขนาด 500 วัตต์ 20.70%
  • ขนาด (กว้าง*ยาว) : ขนาด 450 วัตต์ 103.80*209.40 เซนติเมตร / ขนาด 500 วัตต์ 111*222 เซนติเมตร
  • ราคา : ขนาด 450 วัตต์ 6,590 บาท / ขนาด 500 วัตต์ 9,900 บาท

4. แผงโซลาร์เซลล์ EVE

แผงโซลาร์เซลล์ EVE

ภาพจาก : dohome.co.th

แผงโซลาร์เซลล์ EVE รุ่น GREP 380-72 แผงโซลาร์เซลล์ประเภท Polycrystalline ขนาด 380 วัตต์ กรอบอะลูมิเนียมทนต่อทุกสภาพอากาศ ใช้งานได้ยาวนาน สามารถติดตั้งได้ทั้งบนหลังคา ดาดฟ้า และพื้นที่โล่ง

  • จำนวนเซลล์ : 72 เซลล์
  • ขนาด (กว้าง*ยาว) : 99*195.5 เซนติเมตร 
  • ราคา : 4,790 บาท

5. แผงโซลาร์เซลล์ OSDA

แผงโซลาร์เซลล์ OSDA

ภาพจาก : homepro.co.th

แผงโซลาร์เซลล์ประเภท Monocrystalline มาตรฐาน Tier 2 มีทั้งแบบ Full Cell ขนาด 340 วัตต์ และแบบ Half Cell ขนาด 450 วัตต์ ผลิตกระแสไฟได้ดีแม้ในช่วงที่มีแสงน้อย อายุการใช้งานยาวนาน และทนต่อทุกสภาพอากาศ ดีไซน์ทันสมัย สามารถติดตั้งได้ทั้งบนหลังคาบ้าน ดาดฟ้า พื้นที่โล่ง โรงเลี้ยงสัตว์ พื้นที่ทำการเกษตร และอาคารสำนักงาน 

  • จำนวนเซลล์ : ขนาด 340 วัตต์ 68 เซลล์ / ขนาด 450 วัตต์ 144 เซลล์
  • ขนาด (กว้าง*ยาว) : ขนาด 340 วัตต์ 88*187 เซนติเมตร / ขนาด 450 วัตต์ 103.80*20.40 เซนติเมตร
  • ราคา : ขนาด 340 วัตต์ 4,300 บาท / ขนาด 450 วัตต์ 5,200 บาท

6. แผงโซลาร์เซลล์ JA

แผงโซลาร์เซลล์ JA

ภาพจาก : thaiwatsadu.com

แผงโซลาร์เซลล์ JA ประเภท Monocrystalline ขนาด 340 วัตต์ 450 วัตต์ และ 550 วัตต์ ผลิตจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง ผลิตกระแสไฟฟ้าได้แม้ในวันที่แสงน้อย กรอบสีดำทำจากอะลูมิเนียม เหมาะสำหรับติดตั้งบนหลังคาหรือพื้นที่โล่ง

  • จำนวนเซลล์ : ขนาด 340 วัตต์ 120 เซลล์ / ขนาด 450 วัตต์ 144 เซลล์ / ขนาด 550 วัตต์ 144 เซลล์
  • ค่าประสิทธิภาพแผง :นาด 340 วัตต์ 20.4% / ขนาด 450 วัตต์ 20.2% / ขนาด 550 วัตต์ 21.3%
  • ขนาด (กว้าง*ยาว) : ขนาด 105.2*176.9 เซนติเมตร / ขนาด 450 วัตต์ 105.2*212 เซนติเมตร / ขนาด 550 วัตต์ 113.4*227.9 เซนติเมตร 
  • ราคา : ขนาด 340 วัตต์ 5,280 บาท / ขนาด 450 วัตต์ 6,300 บาท / ขนาด 550 วัตต์ 7,370 บาท

7. แผงโซลาร์เซลล์ Luxen

แผงโซลาร์เซลล์ Luxen

ภาพจาก : homepro.co.th

แผงโซลาร์เซลล์ Luxen ประเภท Monocrystalline Half Cell ขนาด 550 วัตต์ มาตรฐาน TIER 1 โซลาร์เซลล์แบบหลังคาแผ่นเรียบ ผลิตด้วยวัสดุที่มีคุณภาพ แข็งแรง และทนทาน มีประสิทธิภาพในการเพิ่มกระแสไฟสูง ใช้ได้กับทั้งบ้านเรือน โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ อาคารสำนักงาน รวมถึงพื้นที่เกษตรกรรม

  • จำนวนเซลล์ : 144 เซลล์
  • ค่าประสิทธิภาพแผง : 21.28%
  • ขนาด (กว้าง*ยาว) : 113.46*227.9 เซนติเมตร
  • น้ำหนัก : 27.5 กิโลกรัม
  • ราคา : 6,400 บาท

เรียกได้ว่าการใช้โซลาร์เซลล์นั้นมีข้อดีมากมาย ทั้งช่วยลดค่าไฟ แถมยังเป็นพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว แต่อย่างไรก็ดี ก่อนติดตั้งควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบโครงสร้าง หลังคา รวมถึงชนิดแผงโซลาร์เซลล์ด้วยนะคะ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน

เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผงโซลาร์เซลล์ :

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
รวมแผงโซลาร์เซลล์ติดหลังคา ช่วยลดค่าไฟในบ้านได้ระยะยาว อัปเดตล่าสุด 7 กันยายน 2566 เวลา 15:59:37 35,814 อ่าน
TOP