วิธีเช็กรอยร้าวเองเบื้องต้น แบบไหนปลอดภัยหรืออันตราย ก่อนแจ้งเจ้าหน้าที่มาช่วยตรวจสอบ เพื่อความปลอดภัย ทั้งบ้านและคอนโดหลายที่ได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวไม่น้อยเลยทีเดียว ทำให้หลายคนรู้สึกกังวลกับรอยร้าวบนโครงสร้าง วันนี้ไปดูพร้อม ๆ กันว่ารอยร้าวแบบไหนอยู่ต่อได้ แบบไหนอันตรายควรรีบย้ายออกและแจ้งให้เจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยตรวจสอบ รอยร้าวบนผนังเป็นสัญญาญเตือนอย่างหนึ่งว่าโครงสร้างกำลังมีปัญหา ซึ่งมีทั้งหมด 4 ประเภท ดังนี้ รอยร้าวเส้นผม (Hairline Cracks) : มีลักษณะเป็นเส้นบาง ๆ ขนาดไม่เกินความกว้างของเส้นผมหรือความหนาของบัตรเครดิต มักเกิดจากการยืด-หดตัวของปูนฉาบตามธรรมชาติ ไม่อันตราย แต่ก็ควรสังเกตความเปลี่ยนแปลงหากมีการขยายตัว รอยร้าวแนวตั้ง (Vertical Cracks) : ลักษณะรอยร้าวที่ลากยาวจากบนลงล่างเป็นแนวตั้ง หากมีความกว้างเกิน 5 มิลลิเมตร ควรมีการตรวจสอบเพิ่มเติมโดยผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาจเกิดจากแรงดันของโครงสร้างหรือฐานราก รอยร้าวแนวนอน (Horizontal Cracks) : ลักษณะรอยร้าวที่แตกจากซ้ายไปขวา ถือเป็นรอยร้าวที่อันตราย เพราะเป็นสัญญาณเตือนของแรงดันดินหรือปัญหาโครงสร้าง ควรให้วิศวกรเข้ามาตรวจสอบทันที รอยร้าวแนวเฉียง (Diagonal Cracks) : ลักษณะรอยร้าวแนวเฉียงที่ทำมุม 30-70 องศา รอยร้าวที่ควรมีการตรวจสอบโดยด่วน เพราะอาจจะเกิดจากการทรุดตัวของอาคารหรือการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักโครงสร้าง บริเวณที่ต้องตรวจสอบคือ ผิวฝ้าเพดาน ผิวพื้น ผิวพื้นรอบ ๆ เสา และรอยต่อระหว่างพื้นคาน บริเวณที่ต้องตรวจสอบคือ ช่วงกลางคานและรอยต่อระหว่างคานกับเสา บริเวณที่ต้องตรวจสอบคือ ช่วงเสาและจุดต่อเสา-คาน แจ้งผ่านทาง Line @Traffyfondue โดย ถ่ายรูปรอยร้าว 2 ภาพ ทั้งมุมกว้างให้เห็นตำแหน่งที่เกิด และมุมแคบเฉพาะจุดที่มีรอยร้าว ระบุลักษณะตึก เช่น ตึกแถว บ้านเดี่ยว หรืออาคารสูง ระบุความสูงของอาคาร โดยแจ้งจำนวนชั้น ระบุขนาดรอยร้าว (มิลลิเมตร) ระบุชั้นที่พบรอยร้าว หรือติดต่อกรมโยธาธิการและผังเมืองที่สายด่วน 1531 หรือเบอร์ 0 2299 4191 และ 0 2299 4312 ติดต่อกรมโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดทุกจังหวัด กรุงเทพมหานคร ให้การช่วยเหลือดังนี้ เป็นผู้ป่วยใน (admit) อยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ เป็นผู้ป่วยนอก กทม. ช่วยเหลือรายละ 2,000 บาท ผู้ได้รับบาดเจ็บทั้ง 2 กรณีจะได้รับเป็นเงินปลอบขวัญอีกรายละ 2,300 บาท กรณีเสียชีวิต ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต ช่วยเหลือรายละ 29,700 บาท กรณีเครื่องมือประกอบอาชีพได้รับความเสียหาย ช่วยเหลือครอบครัวละไม่เกิน 11,400 บาท กรณีผู้ประสบภัยต้องการที่พักเป็นการเร่งด่วน ทางสำนักงานเขตได้มีการจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว สามารถติดต่อขอเข้าพักได้ที่สำนักงานเขตทั้ง 50 แห่ง ในส่วนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ให้การช่วยเหลือดังนี้ หากเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือผู้หารายได้เลี้ยงดูครอบครัว ช่วยเหลือเพิ่มเติมจาก กทม. อีก 29,700 บาท กรณีที่อยู่อาศัยประจำได้รับความเสียหาย ช่วยเหลือครอบครัวละไม่เกิน 49,500 บาท ผู้ประสบภัยที่ได้รับความเดือดร้อนในเหตุการณ์นี้สามารถแจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่ทุกแห่ง ภายใน 30 วัน (นับแต่วันเกิดเหตุ) เช็กรายละเอียดของกรมธรรม์ของตัวเองว่ามีความคุ้มครองภัยแผ่นดินไหวหรือไม่ ถ่ายภาพ/วิดีโอความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหวโดยละเอียด เช่น ภาพผนังแตกร้าว ทรุด พังทลาย จัดทำรายการทรัพย์สินเสียหายพร้อมราคาประเมิน และเก็บหลักฐานไว้ประกอบการขอเคลมประกัน เช่น สภาพสถานที่ก่อนเกิดเหตุ ใบเสร็จ ติดต่อและส่งหลักฐานไปยังบริษัทประกันภัย พร้อมกับแจ้งวัน เวลา สถานที่ รายละเอียดความเสียหาย และยื่นหลักฐานต่าง ๆ รวมถึงจดจำเลขที่รับแจ้งเคลมเพื่อใช้ติดตามผล บริษัทประกันภัยเข้าไปตรวจสอบความเสียหาย ณ สถานที่เกิดเหตุ และพิจารณาความคุ้มครองตามกรมธรรม์ บริษัทประกันภัยดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ตกลงได้ หากบ้านหรือคอนโดได้รับความเสียหายอย่าเพิ่งตระหนกกันไป ให้ตรวจเช็กลักษณะรอยร้าวก่อน หากอยู่ในระดับอันตรายให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบและดำเนินการแก้ไข นอกจากนี้อย่าลืมเช็กรายละเอียดเพื่อขอรับเงินเยียวยาและเคลมประกันหากได้ทำประกันภัยไว้ด้วยนะคะ พักหนี้แผ่นดินไหว ธนาคารไหนเข้าร่วมบ้าง ลงทะเบียนอย่างไร ใครมีสิทธิ เช็กเลย ! แอปฯ เตือนภัยพิบัติ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ไฟไหม้ ช่วยเตรียมรับมือภัยธรรมชาติ ขอบคุณข้อมูลจาก : earthquake.tmd.go.th, เฟซบุ๊ก @eeshatkmutt, เฟซบุ๊ก @bangkokbma และเฟซบุ๊ก @oicthailand
แสดงความคิดเห็น