9 อาหารและภาชนะที่ไม่ควรอุ่นด้วยไมโครเวฟ เพราะอาจทำให้เกิดอันตราย สร้างความเสียหายทั้งสุขภาพและทรัพย์สิน อยากรู้ว่ามีอะไรบ้างตามมาดูกัน เลี่ยงไว้ก่อนปลอดภัยกว่า
1. ไข่
การต้มไข่ โดยการใส่ไข่ทั้งฟองเข้าไปในไมโครเวฟนั้นไม่ควรทำ เพราะรังสีความร้อนจะส่งไปยังอาหารโดยตรง และทำให้ไข่ร้อนจัดจนระเบิด อีกทั้งยังให้รสชาติไม่ดีเท่าที่ควรด้วย ซึ่งเรื่องนี้ รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ได้อธิบายผ่านเฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ เพิ่มเติมว่า หากจำเป็นต้องนำไข่ไปต้มในไมโครเวฟ ควรใส่เกลือลงไปด้วย เพื่อไม่ให้ความร้อนในน้ำสูงเร็วเกินไป จนเกิดความดันในไข่ หรือต้มด้วยหม้อต้มจะปลอดภัยมากกว่า
2. น้ำ
ดูเหมือนว่าการนำน้ำเปล่าเข้าไมโครเวฟจะไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร แต่หารู้ไม่ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างมาก เพราะน้ำจะปะทุขึ้นมาเมื่อถึงจุดเดือด หากต้องการต้มน้ำจริง ๆ ควรใช้วิธีอื่นแทน เช่น กระติกต้มน้ำร้อนหรือใช้ต้มด้วยกาน้ำดีกว่า
3. นมแม่
คุณแม่ที่แช่นมไว้ในช่องฟรีซ ไม่ควรนำนมออกมาละลายด้วยการใส่ในไมโครเวฟเด็ดขาด เนื่องจากการอุ่นนมในไมโครเวฟไม่สามารถทำให้นมร้อนได้อย่างทั่วถึงหรือสม่ำเสมอ ซึ่งอาจทำให้มีเชื้อโรคเจริญเติบโตในจุดที่ความร้อนกระจายไปไม่ถึง และอันตรายกับสุขภาพของลูกน้อยได้
4. ผลไม้เปลือกหนา
ผลไม้ที่มีเปลือกหนาและค่อนข้างเหนียว เช่น องุ่น ไม่ควรนำไปละลายน้ำแข็งในไมโครเวฟ เพราะอาจทำให้เกิดการระเบิดเช่นเดียวกับไข่นั่นเอง
5. เนื้อสัตว์แช่แข็ง
เพราะการนำเนื้อสัตว์แช่แข็งไปละลายน้ำแข็งด้วยไมโครเวฟ อาจยังมีบางส่วนที่ความร้อนกระจายไปไม่ทั่วถึง ซึ่งอาจทำให้มีเชื้อโรคเจริญเติบโตหรือปนเปื้อนมาได้ ทั้งนี้ หากต้องการนำเนื้อสัตว์มาปรุงอาหาร ควรเปลี่ยนมาแช่ในช่องแช่เย็นปกติก่อน 1 คืน แล้วค่อยนำไปปรุงอาหารจะดีกว่า
6. ภาชนะเคลือบลาย
เพราะก่อนจะนำอาหารเข้าอุ่นในไมโครเวฟ โปรดสำรวจดูก่อนว่าภาชนะเหล่านั้นมีลวดลายหรือไม่ เพราะสีที่ใช้เพนต์ลายจาน-ชามส่วนใหญ่ไม่ทนต่อความร้อนและอาจจะปนเปื้อนมากับอาหารขณะอุ่นได้ อีกทั้งยังสามารถทำให้ตัวจาน-ชามแตกหักได้อีกด้วย
7. กล่องกระดาษพิมพ์ลาย
จริง ๆ แล้วสามารถนำกล่องกระดาษอุ่นในไมโครเวฟได้ หากเป็นกล่องกระดาษที่ไม่มีลวดลาย สี หรือตัวพิมพ์ แต่ควรเลี่ยงกล่องกระดาษที่มีลวดลายหรือพิมพ์ตัวอักษร เนื่องจากหากได้รับความร้อนก็อาจทำให้สารจากหมึกพิมพ์ออกมาปนเปื้อนกับอาหารได้
8. พลาสติก
สำหรับภาชนะชนิดนี้ควรใช้เฉพาะที่มีข้อความระบุว่า ใช้กับไมโครเวฟได้เท่านั้น เนื่องจากเป็นพลาสติกที่ทนความร้อนได้สูงและมีคุณภาพดี แต่สำหรับพลาสติกบางชนิดที่ไม่ได้ระบุไว้ ควรเลี่ยงไว้ก่อนจะดีกว่า เนื่องจากสารบางชนิดที่อยู่ในพลาสติกอาจละลายและปนเปื้อนมากับอาหารขณะอุ่นด้วยไมโครเวฟ และเป็นอันตรายกับร่างกาย
9. โลหะ
ภาชนะใด ๆ ก็ตามที่เป็นโลหะ เช่น ฟอยล์ห่ออาหาร ไม่ควรนำเข้าไมโครเวฟ เพราะจะทำให้คลื่นไมโครเวฟสะท้อนกลับขณะอุ่นอาหาร และทำให้อุปกรณ์ภายในเสื่อมเร็วและอายุการใช้งานสั้นลง นอกจากนี้อาจทำให้เกิดความร้อนอย่างรวดเร็วและเกิดประกายไฟจากวัสดุได้
ไมโครเวฟ เป็นอีกหนึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หลายบ้านมีไว้อุ่นอาหาร เพราะทั้งสะดวกและประหยัดเวลา แต่หลายครั้งที่มีการนำอาหารและภาชนะเข้าไปอุ่นโดยไม่รู้ว่ามันอาจสร้างอันตรายถึงชีวิต วันนี้เลยพาไปหาคำตอบกันว่ามีอะไรอีกบ้างที่ไม่ควรอุ่นด้วยไมโครเวฟ
อาหารที่ไม่ควรอุ่นด้วยไมโครเวฟ
1. ไข่
การต้มไข่ โดยการใส่ไข่ทั้งฟองเข้าไปในไมโครเวฟนั้นไม่ควรทำ เพราะรังสีความร้อนจะส่งไปยังอาหารโดยตรง และทำให้ไข่ร้อนจัดจนระเบิด อีกทั้งยังให้รสชาติไม่ดีเท่าที่ควรด้วย ซึ่งเรื่องนี้ รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ได้อธิบายผ่านเฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ เพิ่มเติมว่า หากจำเป็นต้องนำไข่ไปต้มในไมโครเวฟ ควรใส่เกลือลงไปด้วย เพื่อไม่ให้ความร้อนในน้ำสูงเร็วเกินไป จนเกิดความดันในไข่ หรือต้มด้วยหม้อต้มจะปลอดภัยมากกว่า
2. น้ำ
ดูเหมือนว่าการนำน้ำเปล่าเข้าไมโครเวฟจะไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร แต่หารู้ไม่ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างมาก เพราะน้ำจะปะทุขึ้นมาเมื่อถึงจุดเดือด หากต้องการต้มน้ำจริง ๆ ควรใช้วิธีอื่นแทน เช่น กระติกต้มน้ำร้อนหรือใช้ต้มด้วยกาน้ำดีกว่า
3. นมแม่
คุณแม่ที่แช่นมไว้ในช่องฟรีซ ไม่ควรนำนมออกมาละลายด้วยการใส่ในไมโครเวฟเด็ดขาด เนื่องจากการอุ่นนมในไมโครเวฟไม่สามารถทำให้นมร้อนได้อย่างทั่วถึงหรือสม่ำเสมอ ซึ่งอาจทำให้มีเชื้อโรคเจริญเติบโตในจุดที่ความร้อนกระจายไปไม่ถึง และอันตรายกับสุขภาพของลูกน้อยได้
4. ผลไม้เปลือกหนา
ผลไม้ที่มีเปลือกหนาและค่อนข้างเหนียว เช่น องุ่น ไม่ควรนำไปละลายน้ำแข็งในไมโครเวฟ เพราะอาจทำให้เกิดการระเบิดเช่นเดียวกับไข่นั่นเอง
เพราะการนำเนื้อสัตว์แช่แข็งไปละลายน้ำแข็งด้วยไมโครเวฟ อาจยังมีบางส่วนที่ความร้อนกระจายไปไม่ทั่วถึง ซึ่งอาจทำให้มีเชื้อโรคเจริญเติบโตหรือปนเปื้อนมาได้ ทั้งนี้ หากต้องการนำเนื้อสัตว์มาปรุงอาหาร ควรเปลี่ยนมาแช่ในช่องแช่เย็นปกติก่อน 1 คืน แล้วค่อยนำไปปรุงอาหารจะดีกว่า
6. ภาชนะเคลือบลาย
เพราะก่อนจะนำอาหารเข้าอุ่นในไมโครเวฟ โปรดสำรวจดูก่อนว่าภาชนะเหล่านั้นมีลวดลายหรือไม่ เพราะสีที่ใช้เพนต์ลายจาน-ชามส่วนใหญ่ไม่ทนต่อความร้อนและอาจจะปนเปื้อนมากับอาหารขณะอุ่นได้ อีกทั้งยังสามารถทำให้ตัวจาน-ชามแตกหักได้อีกด้วย
7. กล่องกระดาษพิมพ์ลาย
จริง ๆ แล้วสามารถนำกล่องกระดาษอุ่นในไมโครเวฟได้ หากเป็นกล่องกระดาษที่ไม่มีลวดลาย สี หรือตัวพิมพ์ แต่ควรเลี่ยงกล่องกระดาษที่มีลวดลายหรือพิมพ์ตัวอักษร เนื่องจากหากได้รับความร้อนก็อาจทำให้สารจากหมึกพิมพ์ออกมาปนเปื้อนกับอาหารได้
8. พลาสติก
สำหรับภาชนะชนิดนี้ควรใช้เฉพาะที่มีข้อความระบุว่า ใช้กับไมโครเวฟได้เท่านั้น เนื่องจากเป็นพลาสติกที่ทนความร้อนได้สูงและมีคุณภาพดี แต่สำหรับพลาสติกบางชนิดที่ไม่ได้ระบุไว้ ควรเลี่ยงไว้ก่อนจะดีกว่า เนื่องจากสารบางชนิดที่อยู่ในพลาสติกอาจละลายและปนเปื้อนมากับอาหารขณะอุ่นด้วยไมโครเวฟ และเป็นอันตรายกับร่างกาย
9. โลหะ
ภาชนะใด ๆ ก็ตามที่เป็นโลหะ เช่น ฟอยล์ห่ออาหาร ไม่ควรนำเข้าไมโครเวฟ เพราะจะทำให้คลื่นไมโครเวฟสะท้อนกลับขณะอุ่นอาหาร และทำให้อุปกรณ์ภายในเสื่อมเร็วและอายุการใช้งานสั้นลง นอกจากนี้อาจทำให้เกิดความร้อนอย่างรวดเร็วและเกิดประกายไฟจากวัสดุได้
วิธีใช้ไมโครเวฟอย่างปลอดภัย
เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากการใช้ไมโครเวฟอุ่นอาหาร มีคำแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟ ดังนี้
- ตัดแต่งวัตถุดิบที่จะทำอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือเลาะกระดูกออกจากชิ้นเนื้อขนาดใหญ่เสียก่อน
- จัดเรียงอาหารในถาดให้เป็นระเบียบก่อนนำไปอุ่นในไมโครเวฟ เพื่อให้ความร้อนกระจายได้อย่างทั่วถึง
- หากจำเป็นต้องอุ่นอาหารชิ้นใหญ่ ควรลดระดับความร้อนของไมโครเวฟลงมาครึ่งหนึ่ง และเพิ่มเวลาในการอุ่นอาหารแทน
- สำหรับอาหารที่มีลักษณะแห้ง ควรเติมน้ำ หรือของเหลว เช่น น้ำซุปหรือน้ำเกรวี่ เพื่อช่วยกระจายความร้อน
- ควรใช้ฝาครอบหรือแผ่นพลาสติกคลุมอาหารเพื่อช่วยกักเก็บไอน้ำขณะนำไปอุ่นในไมโครเวฟ
เชื่อว่าหลายคนอ่านเสร็จแล้วคงตกใจกับสิ่งที่เผลอทำไป ไม่เป็นไรค่ะ ในเมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ต่อไปก็อย่าฝืนทำโดยเด็ดขาด อ้อ แล้วก็อย่าลืมนำข้อมูลดี ๆ อย่างนี้ไปบอกต่อคนในบ้านและคนอื่น ๆ ด้วยล่ะ จะได้ปลอดภัย แฮปปี้ ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนี้ได้อย่างไม่มีปัญหาเลย
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์, กรมวิทยาศาสตร์บริการ, ชัวร์ก่อนแชร์, สำนักความปลอดภัยแรงงาน และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ตัดแต่งวัตถุดิบที่จะทำอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือเลาะกระดูกออกจากชิ้นเนื้อขนาดใหญ่เสียก่อน
- จัดเรียงอาหารในถาดให้เป็นระเบียบก่อนนำไปอุ่นในไมโครเวฟ เพื่อให้ความร้อนกระจายได้อย่างทั่วถึง
- หากจำเป็นต้องอุ่นอาหารชิ้นใหญ่ ควรลดระดับความร้อนของไมโครเวฟลงมาครึ่งหนึ่ง และเพิ่มเวลาในการอุ่นอาหารแทน
- สำหรับอาหารที่มีลักษณะแห้ง ควรเติมน้ำ หรือของเหลว เช่น น้ำซุปหรือน้ำเกรวี่ เพื่อช่วยกระจายความร้อน
- ควรใช้ฝาครอบหรือแผ่นพลาสติกคลุมอาหารเพื่อช่วยกักเก็บไอน้ำขณะนำไปอุ่นในไมโครเวฟ
เชื่อว่าหลายคนอ่านเสร็จแล้วคงตกใจกับสิ่งที่เผลอทำไป ไม่เป็นไรค่ะ ในเมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ต่อไปก็อย่าฝืนทำโดยเด็ดขาด อ้อ แล้วก็อย่าลืมนำข้อมูลดี ๆ อย่างนี้ไปบอกต่อคนในบ้านและคนอื่น ๆ ด้วยล่ะ จะได้ปลอดภัย แฮปปี้ ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนี้ได้อย่างไม่มีปัญหาเลย
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์, กรมวิทยาศาสตร์บริการ, ชัวร์ก่อนแชร์, สำนักความปลอดภัยแรงงาน และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี