พืชผักไม้เลื้อย อีกหนึ่งทางเลือกของคนรักสวนที่อยากได้พืชไม้เลื้อยกินได้หรือทำสวนผักไม้เลื้อย อยากรู้พืชไม้เลื้อยมีอะไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
คิดจะทำสวนทั้งที…มันต้องเลือกต้นไม้ดี ๆ ที่มีประโยชน์หลายด้านกันหน่อย อย่างเช่น 10 พืชผักไม้เลื้อย ที่เป็นพืชไม้เลื้อยกินได้ ไว้สร้างสวนผักไม้เลื้อย ที่สามารถบังแดดและเก็บกินได้ไปในตัว ถ้าอยากรู้ว่ามีผักสวนครัวชนิดไหนเป็นไม้เลื้อยที่กินได้บ้าง ตามไปดูลิสต์ 10 พืชผักไม้เลื้อยที่กระปุกดอทคอมนำมาฝากกันในวันนี้เลยค่ะ แล้วจะเห็นว่าช่างเป็นพืชที่เหมาะกับบ้านในเขตเมืองร้อนอย่างเราจริง ๆ เลย
สรรพคุณ : มีวิตามินบำรุงร่างกาย ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันหัวใจขาดเลือด บำรุงสายตา มีกากใยช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น ลดความเสี่ยงจากมะเร็ง ทั้งยังใช้รักษาโรคเบาหวานและแก้งูสวัดได้ด้วย
วิธีปลูก : ที่ง่ายที่สุดก็คือ การปักชำ เพียงแค่ตัดเถายาว 30 เซนติเมตร มาปักทำมุมเอียงในกระถางดินร่วน ดูแลรดน้ำทุกวันจนแตกยอดใหม่ แล้วอย่าลืมทำค้างหรือหาไม้หลักมาปัก เพื่อให้ต้นเลื้อยขึ้นไปรับแสงด้วยนะคะ
สรรพคุณ : ช่วยดับร้อนในร่างกายได้ อุดมไปด้วยฟอสฟอรัสช่วยสร้างเม็ดเลือด มีกากใยช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยถอนพิษได้อีกด้วย
วิธีปลูก : ให้เพาะเมล็ดลงดินที่ผสมปุ๋ยหมักและแกลบในปริมาณที่เท่ากัน รดน้ำสม่ำเสมอ จนออกใบ 2 ใบ แล้วค่อยย้ายต้นกล้าไปปลูกในดินหรือกระถาง ทำค้างหรือหาไม้หลักมาปักให้ต้นยึดเกาะ ดูแลรดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าแฉะ บำรุงปุ๋ยทุก 15 วัน/ครั้ง รดน้ำหมักสะเดาเพื่อกำจัดวัชพืช
สรรพคุณ : ช่วยบำรุงหัวใจ กระตุ้นการเจริญเติบโตและฮอร์โมน แก้อักเสบ แก้ร้อนใน และช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย
วิธีปลูก : ด้วยเมล็ดถือว่าดีที่สุด โดยนำเมล็ดจากฝักแห้งมาปลูกในกระถางดินเหนียวที่ผสมกากมะพร้าวและปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก เมื่อต้นเริ่มงอกก็ควรย้ายมาปลูกในกระถางที่ใหญ่กว่า หาไม้หลักมาปักให้ต้นยึด เด็ดต้นที่ไม่แข็งแรงทิ้งไป ดูแลรดน้ำให้ชุ่มทุกวัน และตั้งกระถางให้โดนแดดรำไร
สรรพคุณ : ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ดี และช่วยรักษาอาการบวม
วิธีปลูก : ให้นำเมล็ดถั่ว 5 เม็ด มาปลูกในกระถางดินร่วนผสมทรายและปุ๋ยคอก เว้นระยะห่างให้พอดี หาไม้หลักหรือทำค้างไว้ข้าง ๆ เพื่อให้ต้นยึดเกาะ สังเกตถ้าต้นไหนไม่แข็งแรงให้ตัดทิ้ง รดน้ำทั้งเช้าและเย็น หมั่นบำรุงปุ๋ยเมื่อต้นมีอายุได้ 1 เดือน
สรรพคุณ : บำรุงหัวใจ ตับ และไต แก้หน้ามืดวิงเวียน แก้ท้องเสีย บำรุงสายตา บำรุงเลือด และแก้อาการเมาค้าง
วิธีปลูก : ให้นำกิ่งที่สมบูรณ์มาปักในกระถางดินร่วนที่ผสมปุ๋ยหมัก รดน้ำให้พอชุ่มทุกวัน แต่เมื่อผ่านไป 2 สัปดาห์ให้ปรับมารดแค่วันเว้นวันก็พอ หาไม้หลักหรือค้างมาปักให้ต้นเลื้อยด้วยนะคะ
สรรพคุณ : ช่วยบรรเทาอาการปวด ขับลมในกระเพาะ กระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้ดีขึ้น และป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์
วิธีปลูก : ให้นำกิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์มาปักชำลงในกระถางที่มีดินดำที่ผสมขี้เถ้าแกลบ รดน้ำให้ชุ่ม หาถุงพลาสติกมาครอบทิ้งไว้ 30 วัน แล้วค่อยดึงออก ย้ายต้นไปปลูกในกระถางขนาดใหญ่ที่มีดินดำผสมปุ๋ยคอกและเปลือกข้าว ปักไม้หลักหรือทำค้างให้ต้นเลื้อย ดูแลรดน้ำทุกวันในช่วงแรก ๆ พอต้นแข็งแรงค่อยปรับเป็นสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง บำรุงปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง
7. ฟักข้าว
สรรพคุณ : ช่วยดับพิษทุกชนิด บำรุงปอด แก้ท่อน้ำดีอุดตัน และแก้วัณโรค
วิธีปลูก : ให้นำเมล็ดจากผลสดไปแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออก นำไปเพาะในตะกร้าที่มีกากมะพร้าว ดูแลรดน้ำทั้งเช้าและเย็น ถ้าต้นแข็งแรงแล้วค่อยย้ายลงมาปลูกในดิน หาไม้หลักหรือตกค้างมาปักไว้ให้ต้นเลื้อย
สรรพคุณ : ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต ต้านมะเร็ง และเสริมสร้างกระดูก
วิธีปลูก : จากผลฟักแม้วเป็นวิธีที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นพืชที่มีอายุสั้น ไม่เหมาะกับการปักชำ เริ่มจากคัดผลที่สุกเต็มที่หรือมีรากงอกมาปลูกในกระถางดินที่ผสมปุ๋ยคอกและแกลบดำ ดูแลรดน้ำให้ชุ่มประมาณเดือนกว่า ๆ ต้นก็จะแข็งแรงพร้อมย้ายมาปลูกในกระถางใหญ่ หรือในหลุมดินลึก 30 เซนติเมตร ปักไม้หลักหรือค้างให้ต้นเลื้อย ดูแลรดน้ำตามปกติ และบำรุงปุ๋ยทุกเดือน
สรรพคุณ : แก้ร้อนใน กระตุ้นระบบขับถ่าย แก้อาการอักเสบ แก้หวัด และช่วยรักษาเบาหวานได้
วิธีปลูก : ให้นำเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์มาปลูกลงในกระถางดินร่วนผสมปุ๋ยคอก ดูแลรดน้ำวันละ 1 ครั้ง หาไม้หลักหรือค้างมาปักเพื่อให้ต้นเลื้อยยึดเกาะด้วยนะคะ
สรรพคุณ : ช่วยกระตุ้นการขับถ่ายให้ดีขึ้น ช่วยบำรุงสมองและสายตา มีสารต้านอนุมูลอิสระ รักษาเบาหวาน ช่วยชะลอและยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็ง
วิธีปลูก : ให้เด็ดยอดชะพลูมีใบติดสัก 2-3 ใบ มาปักชำลงในกระถางดินร่วน ดูแลรดน้ำทุกวัน วันละครั้ง บำรุงปุ๋ยทุก 3 เดือน
เห็นไหมล่ะว่าผักไม้เลื้อยพวกนี้ก็มีประโยชน์หลากหลายกับเขาเหมือนกัน ทั้งใช้ทำสวน ทำซุ้มบังแดด หรือจะปลูกเอาไว้เก็บกินก็ได้ เป็นต้นไม้ที่มีแต่ประโยชน์ขนาดนี้ คนรักสวนไม่ควรพลาดเลยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก puechkaset, เกษตรกรรม, ถั่วพู, suansanruk, rakbankerd, องค์ความรู้การเกษตร, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, the-than และ greenerald