ทำห้องครัวบิลต์อินในบ้าน เริ่มตั้งแต่วางแผน ออกแบบ ซื้อของ และลงมือทำ เป็นเคาน์เตอร์ปูนผสมลิ้นชักไม้ และตู้ลอยไม้สุดคลาสสิก ตัดกับกระเบื้องผนังสีขาวสะอาดตา พร้อมราคาวัสดุทั้งหมด
ห้องครัวเป็นอีกห้องหนึ่งที่สำคัญของบ้าน โดยเฉพาะคนที่ชอบเข้าครัวทำอาหาร เราสามารถตัดสินใจว่าจะจ้างช่างมาทำครัวให้โดยเสียค่าแรงเพิ่ม หรือไปเลือกแบบห้องครัวบิวต์อินเลยว่าจะเอาแบบนั้นแบบนี้ก็ได้ แต่สำหรับใครที่ไม่อยากเสียค่าแรงช่าง หรือคนมีงบจำกัดลองมาทำครัวบิวต์อินด้วยตัวเองดีไหม วันนี้เรามีไอเดียทำห้องครัวเอง ของ คุณ สมาชิกหมายเลข 4682278 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม มีตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบ ซื้อวัสดุต่าง ๆ รวมทั้งทำครัวด้วยตัวเอง แม้จะใช้เวลาวางแผนและทำครัวมาถึงครึ่งปี แต่ก็เสร็จสมบูรณ์ถูกใจเจ้าของบ้านโดยแท้
หมีสร้างครัว - แชร์ประสบการณ์บิวต์อินห้องครัวด้วยตัวเองแบบละเอียดสุดๆ (DIY Kitchen)
ขอเล่าที่มาสักนิดหนึ่งครับ
สวัสดีครับ หลังจากที่วุ่นวายกับการลงมือบิวต์อินห้องครัวด้วยตัวเองอยู่หลายเดือน ทั้งหาข้อมูล, วางแผน, เลือกซื้อของและลงมือทำ จนในที่สุดก็เดินทางมาถึงเป้าหมาย ตั้งใจว่าหลังจากเสร็จงานทั้งหมดจะเขียนเล่าสิ่งต่าง ๆ ที่เจอเพื่อแชร์ประสบการณ์การทำห้องครัวของเราไว้เป็นแรงบันดาลใจสำหรับคนที่อยากจะทำห้องครัวด้วยตัวเอง หรือเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสำหรับคนที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะทำเองดีไหม ? หรือ ตัดสินใจแล้วว่าจะลงมือเอง แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหน ? จะต้องใช้เงินเท่าไร ? ประเมินค่าใช้จ่ายยังไง ? ต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ? หาได้จากที่ไหน ? กระทู้นี้อาจจะมีคำตอบหลังจากที่อ่านจบ ซึ่งเราหวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับคนที่สนใจครับ
ขอออกตัวก่อนว่า "เรา" ทั้งสองคนไม่ใช่มืออาชีพสำหรับงานด้านนี้ ปกติแล้วทำงานประจำวันจันทร์-วันศุกร์ มีเวลาว่างวันเสาร์-วันอาทิตย์ ถ้าไม่ได้มีธุระไปก็จะทำงาน DIY เล็ก ๆ น้อย ๆ เลยทำให้พอจะมีอุปกรณ์งานช่างสะสมไว้นิดหน่อย มีต้นทุนอยู่บ้างครับ ไม่ได้เริ่มจากศูนย์ซะเลยทีเดียว แต่... ในส่วนของงานปูนต้องบอกเลยว่าประสบการณ์เท่ากับ "ศูนย์" งานนี้เป็นครั้งแรก บางวิธีอาจจะไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ตามหลักงานช่างเท่าไร หากสมาชิกมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสามารถคอมเมนต์แนะนำเพื่อเป็นประโยชน์กับเราทั้งสองคนและสมาชิกท่านอื่น ๆ ที่สนใจอยากจะทำงานนี้ด้วยตัวเองครับ
จุดเริ่มต้นของเรื่องมันก็เริ่มจากรับโอนบ้านจากทางโครงการและย้ายเข้าอยู่แบบเสื่อผืนหมอนใบ ห้องแรกที่เราสองคนตั้งใจจะทำก็คือ "ห้องครัว" เพราะเราถือคติที่ว่า "กองทัพต้องเดินด้วยท้อง" (เกี่ยวไหม อันนี้ก็ไม่แน่ใจเท่าไร) และเพราะเรามีงบค่อนข้างจำกัด ไม่สิต้องพูดว่า "งบหมด" ถึงจะถูกต้อง ครั้นจะไปจ้างช่างมาทำให้ก็ไม่มีเงินก้อน พอเจอที่ราคาสู้ไหวก็ใช้วัสดุที่ไม่ค่อยทน (เข้าใจดีว่าของถูกและดีมันหายาก ซื้อลอตเตอรี่ยังมีลุ้นมากกว่ามั้ง) ส่วนช่างที่พอจะรู้จักก็คิวทองเหลือเกิน ต้องจองกันข้ามปี ไหน ๆ ก็ไหน ๆ ทำเองเลยก็แล้วกัน พอเลือกทำเองก็เลยทำให้ต้องวางแผนเยอะขึ้น วางแผนให้รอบคอบที่สุด ทั้งเรื่องของวัสดุที่จำเป็นต้องใช้ อุปกรณ์หรือเครื่องมือช่างที่อาจจะต้องซื้อมาเพิ่มเติม โดยสิ่งเหล่านี้หวังว่าจะเอามาใช้กับโปรเจกต์อื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วย
สวัสดีครับ หลังจากที่วุ่นวายกับการลงมือบิวต์อินห้องครัวด้วยตัวเองอยู่หลายเดือน ทั้งหาข้อมูล, วางแผน, เลือกซื้อของและลงมือทำ จนในที่สุดก็เดินทางมาถึงเป้าหมาย ตั้งใจว่าหลังจากเสร็จงานทั้งหมดจะเขียนเล่าสิ่งต่าง ๆ ที่เจอเพื่อแชร์ประสบการณ์การทำห้องครัวของเราไว้เป็นแรงบันดาลใจสำหรับคนที่อยากจะทำห้องครัวด้วยตัวเอง หรือเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสำหรับคนที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะทำเองดีไหม ? หรือ ตัดสินใจแล้วว่าจะลงมือเอง แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหน ? จะต้องใช้เงินเท่าไร ? ประเมินค่าใช้จ่ายยังไง ? ต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ? หาได้จากที่ไหน ? กระทู้นี้อาจจะมีคำตอบหลังจากที่อ่านจบ ซึ่งเราหวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับคนที่สนใจครับ
ขอออกตัวก่อนว่า "เรา" ทั้งสองคนไม่ใช่มืออาชีพสำหรับงานด้านนี้ ปกติแล้วทำงานประจำวันจันทร์-วันศุกร์ มีเวลาว่างวันเสาร์-วันอาทิตย์ ถ้าไม่ได้มีธุระไปก็จะทำงาน DIY เล็ก ๆ น้อย ๆ เลยทำให้พอจะมีอุปกรณ์งานช่างสะสมไว้นิดหน่อย มีต้นทุนอยู่บ้างครับ ไม่ได้เริ่มจากศูนย์ซะเลยทีเดียว แต่... ในส่วนของงานปูนต้องบอกเลยว่าประสบการณ์เท่ากับ "ศูนย์" งานนี้เป็นครั้งแรก บางวิธีอาจจะไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ตามหลักงานช่างเท่าไร หากสมาชิกมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสามารถคอมเมนต์แนะนำเพื่อเป็นประโยชน์กับเราทั้งสองคนและสมาชิกท่านอื่น ๆ ที่สนใจอยากจะทำงานนี้ด้วยตัวเองครับ
จุดเริ่มต้นของเรื่องมันก็เริ่มจากรับโอนบ้านจากทางโครงการและย้ายเข้าอยู่แบบเสื่อผืนหมอนใบ ห้องแรกที่เราสองคนตั้งใจจะทำก็คือ "ห้องครัว" เพราะเราถือคติที่ว่า "กองทัพต้องเดินด้วยท้อง" (เกี่ยวไหม อันนี้ก็ไม่แน่ใจเท่าไร) และเพราะเรามีงบค่อนข้างจำกัด ไม่สิต้องพูดว่า "งบหมด" ถึงจะถูกต้อง ครั้นจะไปจ้างช่างมาทำให้ก็ไม่มีเงินก้อน พอเจอที่ราคาสู้ไหวก็ใช้วัสดุที่ไม่ค่อยทน (เข้าใจดีว่าของถูกและดีมันหายาก ซื้อลอตเตอรี่ยังมีลุ้นมากกว่ามั้ง) ส่วนช่างที่พอจะรู้จักก็คิวทองเหลือเกิน ต้องจองกันข้ามปี ไหน ๆ ก็ไหน ๆ ทำเองเลยก็แล้วกัน พอเลือกทำเองก็เลยทำให้ต้องวางแผนเยอะขึ้น วางแผนให้รอบคอบที่สุด ทั้งเรื่องของวัสดุที่จำเป็นต้องใช้ อุปกรณ์หรือเครื่องมือช่างที่อาจจะต้องซื้อมาเพิ่มเติม โดยสิ่งเหล่านี้หวังว่าจะเอามาใช้กับโปรเจกต์อื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วย
การตัดสินใจของเราจะใช้วิธีตั้งคำถามและตอบตัวเองเป็นข้อ ๆ ไปครับ (การวางแผนและการตัดสินใจจะเขียนไว้ยาวหน่อยนะครับ สำหรับท่านที่อยากรู้ขั้นตอนการลงมือทำจริงเลย ให้ข้ามไปที่ส่วนต่อไปได้เลยครับ)
คำถามที่ 1 : จ้างช่าง ? หรือ ทำเอง ?
- ภาพรวมการทำงาน
สำหรับคนที่ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะ "จ้างช่าง" หรือ "ทำเอง" เราขออนุญาตแชร์วิธีคิดและการตัดสินใจของเราในช่วงเวลานั้นเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของท่านแบบนี้นะครับ
การจ้างช่าง หรือ การซื้อชุดครัวแบบสำเร็จรูป แน่นอนว่าจะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงกว่าการทำเอง (ในกรณีที่เลือกของดีหน่อย) ค่าใช้จ่ายพวกนี้จะมาจากค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าแรงของช่าง (เรียกว่าค่าประสบการณ์ของช่างจะเหมาะสมกว่า) เป็นหลัก ส่วนใหญ่แล้วค่าแรงจะคงที่ถ้า Drawing หรือ แบบของเราชัดเจน ช่างจะตีราคาเหมาง่ายมาก เผลอ ๆ จะต่อรองได้ด้วยเพราะเราลดเวลาทำงานของเขา แต่สิ่งที่จะทำให้งบบานปลายมันจะมาจากตัวเราเองที่อยากได้ของนี่นั่นเพิ่มขึ้นเรื่อย ซึ่งตรงนี้เราต้องควบคุมเอง (ย้ำเลยว่ากิเลสย่อมระงับด้วยการซื้อ) แต่ข้อดีสำหรับการจ้างช่าง คือ งานเสร็จเร็ว ไม่ต้องเหนื่อยลงแรงตัวเอง บ้านรกไม่นาน ไม่ยืดเยื้อ มีเวลาเหลือไปทำอย่างอื่นอีกเยอะ
สำหรับเราสองคนเลือกที่จะทำเอง โดยตัดสินใจแบบไม่มีลังเลเลยสักนิด เพราะไม่มีตังค์ เอาจริง ๆ ก็คือ จ้างเขาทำต้องใช้เงินก้อน ทำเองมันทยอยซื้อของได้เหมือนผ่อนเอา ซึ่งพอมาคิดค่าใช้จ่ายรวม ๆ ของโปรเจกต์นี้ก็พบว่ามันไม่ค่อยแตกต่างนะ ถ้าเราจ้างช่างมืออาชีพมาทำให้ แต่ว่า...สิ่งที่เราได้ คือ 1. เราสามารถเลือกของที่เกรดดีขึ้นด้วยเงินที่เท่ากันซึ่งคิดว่าจะมีอายุการใช้งานที่นานขึ้นด้วย 2. เราได้ประสบการณ์ในการวางแผนการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ความรู้ในการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้ sense ในการแก้ปัญหาหน้างานแบบรู้สึกได้ (อันนี้ไม่แน่ใจว่ามโนไปเองรึเปล่านะ) และที่สำคัญที่สุดคือข้อที่ 3. ได้อุปกรณ์ช่างเพิ่ม หาข้ออ้างซื้อของได้แล้ว แต่...สำหรับคนที่ไม่มีของเลยสักชิ้น เป็น Maker ป้ายแดง ต้องบอกว่าครั้งแรกจะเจ็บตัวนิดหน่อยนะ แต่ถ้าวางแผนดี ๆ สำหรับผมถือว่าคุ้มค่า เพราะถึงอย่างไรอุปกรณ์บางอย่างมันจำเป็นต้องมีติดบ้านอยู่แล้ว (ที่เขาบอกกันว่าของมันต้องใช้ เรื่องจริง !) พูดถึงข้อเสียมันก็มีนะ เรื่องสำคัญด้วย คือต้องยอมรับเลยว่าทำเองมันต้องแลกกับเวลาในชีวิตพอสมควรอยู่ ของผมนี่เกือบ 6 เดือนได้มั้ง (เฉลี่ยวันทำงานประมาณ 8 วัน/เดือน ไม่ได้ทำทุกวัน) และที่สำคัญมันเหนื่อยโคตร ๆ สำหรับคนที่ใช้ความพยายามอย่างมากเพื่ออ่านจนถึงตรงนี้ ก็อยากให้ลองตัดสินใจ และเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของแต่ละทางดู ถ้าเราทำงานเดียวคงไม่คุ้มในเชิงของค่าใช้จ่าย แต่ถ้ามีหลายโปรเจกต์ก็ถือว่าน่าลงทุนนะ ?
สำหรับคนที่ตัดสินใจได้แล้วว่าจะทำเองนั้นต้องบอกว่า “ยินดีต้อนรับสู่ช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้และช่วงเวลาที่วันหยุดสุดสัปดาห์จะไม่ใช่วันหยุดนอนดูทีวีหรือนั่งเล่นเกมชิว ๆ อีกต่อไป (จนกว่าโปรเจกต์นี้จะจบ)
สำหรับคนที่ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะ "จ้างช่าง" หรือ "ทำเอง" เราขออนุญาตแชร์วิธีคิดและการตัดสินใจของเราในช่วงเวลานั้นเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของท่านแบบนี้นะครับ
การจ้างช่าง หรือ การซื้อชุดครัวแบบสำเร็จรูป แน่นอนว่าจะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงกว่าการทำเอง (ในกรณีที่เลือกของดีหน่อย) ค่าใช้จ่ายพวกนี้จะมาจากค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าแรงของช่าง (เรียกว่าค่าประสบการณ์ของช่างจะเหมาะสมกว่า) เป็นหลัก ส่วนใหญ่แล้วค่าแรงจะคงที่ถ้า Drawing หรือ แบบของเราชัดเจน ช่างจะตีราคาเหมาง่ายมาก เผลอ ๆ จะต่อรองได้ด้วยเพราะเราลดเวลาทำงานของเขา แต่สิ่งที่จะทำให้งบบานปลายมันจะมาจากตัวเราเองที่อยากได้ของนี่นั่นเพิ่มขึ้นเรื่อย ซึ่งตรงนี้เราต้องควบคุมเอง (ย้ำเลยว่ากิเลสย่อมระงับด้วยการซื้อ) แต่ข้อดีสำหรับการจ้างช่าง คือ งานเสร็จเร็ว ไม่ต้องเหนื่อยลงแรงตัวเอง บ้านรกไม่นาน ไม่ยืดเยื้อ มีเวลาเหลือไปทำอย่างอื่นอีกเยอะ
สำหรับเราสองคนเลือกที่จะทำเอง โดยตัดสินใจแบบไม่มีลังเลเลยสักนิด เพราะไม่มีตังค์ เอาจริง ๆ ก็คือ จ้างเขาทำต้องใช้เงินก้อน ทำเองมันทยอยซื้อของได้เหมือนผ่อนเอา ซึ่งพอมาคิดค่าใช้จ่ายรวม ๆ ของโปรเจกต์นี้ก็พบว่ามันไม่ค่อยแตกต่างนะ ถ้าเราจ้างช่างมืออาชีพมาทำให้ แต่ว่า...สิ่งที่เราได้ คือ 1. เราสามารถเลือกของที่เกรดดีขึ้นด้วยเงินที่เท่ากันซึ่งคิดว่าจะมีอายุการใช้งานที่นานขึ้นด้วย 2. เราได้ประสบการณ์ในการวางแผนการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ความรู้ในการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้ sense ในการแก้ปัญหาหน้างานแบบรู้สึกได้ (อันนี้ไม่แน่ใจว่ามโนไปเองรึเปล่านะ) และที่สำคัญที่สุดคือข้อที่ 3. ได้อุปกรณ์ช่างเพิ่ม หาข้ออ้างซื้อของได้แล้ว แต่...สำหรับคนที่ไม่มีของเลยสักชิ้น เป็น Maker ป้ายแดง ต้องบอกว่าครั้งแรกจะเจ็บตัวนิดหน่อยนะ แต่ถ้าวางแผนดี ๆ สำหรับผมถือว่าคุ้มค่า เพราะถึงอย่างไรอุปกรณ์บางอย่างมันจำเป็นต้องมีติดบ้านอยู่แล้ว (ที่เขาบอกกันว่าของมันต้องใช้ เรื่องจริง !) พูดถึงข้อเสียมันก็มีนะ เรื่องสำคัญด้วย คือต้องยอมรับเลยว่าทำเองมันต้องแลกกับเวลาในชีวิตพอสมควรอยู่ ของผมนี่เกือบ 6 เดือนได้มั้ง (เฉลี่ยวันทำงานประมาณ 8 วัน/เดือน ไม่ได้ทำทุกวัน) และที่สำคัญมันเหนื่อยโคตร ๆ สำหรับคนที่ใช้ความพยายามอย่างมากเพื่ออ่านจนถึงตรงนี้ ก็อยากให้ลองตัดสินใจ และเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของแต่ละทางดู ถ้าเราทำงานเดียวคงไม่คุ้มในเชิงของค่าใช้จ่าย แต่ถ้ามีหลายโปรเจกต์ก็ถือว่าน่าลงทุนนะ ?
สำหรับคนที่ตัดสินใจได้แล้วว่าจะทำเองนั้นต้องบอกว่า “ยินดีต้อนรับสู่ช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้และช่วงเวลาที่วันหยุดสุดสัปดาห์จะไม่ใช่วันหยุดนอนดูทีวีหรือนั่งเล่นเกมชิว ๆ อีกต่อไป (จนกว่าโปรเจกต์นี้จะจบ)
คำถามที่ 2 : เริ่มต้นจากตรงไหน ? จะต้องใช้เงินเท่าไร ? ประเมินค่าใช้จ่ายยังไง ?
- ในมุมมองของเราสองคน สิ่งแรกที่เราจำเป็นต้องรู้คือ ภาพรวมของห้องครัวที่เราอยากจะได้ เพราะฉะนั้นเราจึงเลือกที่จะเขียนแบบ 3D ก่อน โดยใส่รายละเอียดให้มากที่สุดเท่าที่เราจะวัดได้และเขียนแบบในโปรแกรม Google sketchup ด้วยวิธีนี้จะทำให้เห็นภาพรวมและรายละเอียดของงานทั้งหมด รวมถึงประเมินงบประมาณคร่าว ๆ ที่เราจะต้องใช้ได้ด้วย
สำหรับ Google Sketchup เป็นโปรแกรมที่ทาง Google เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีสำหรับ Version Basic ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานในระดับคนทั่วไป (ในส่วนของวิธีการใช้งานโปรแกรม สามารถสืบค้นและศึกษาได้จาก YouTube ที่หลาย ๆ ช่องสอนการใช้งานอย่างละเอียดเอาไว้แล้วครับ ง่าย ๆ แป๊บเดียวก็เป็นแล้ว) ให้เวลากับโปรแกรมนิดหน่อย สำหรับเราสองคนถือว่าคุ้มค่ามาก ๆ เลย
สำหรับ Google Sketchup เป็นโปรแกรมที่ทาง Google เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีสำหรับ Version Basic ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานในระดับคนทั่วไป (ในส่วนของวิธีการใช้งานโปรแกรม สามารถสืบค้นและศึกษาได้จาก YouTube ที่หลาย ๆ ช่องสอนการใช้งานอย่างละเอียดเอาไว้แล้วครับ ง่าย ๆ แป๊บเดียวก็เป็นแล้ว) ให้เวลากับโปรแกรมนิดหน่อย สำหรับเราสองคนถือว่าคุ้มค่ามาก ๆ เลย
- พื้นที่สีส้ม คือ พื้นที่ที่เราจะใช้ในการบิวท์อินห้องครัวของเรา ขนาดที่วัดได้ประมาณ 6 ตารางเมตร ซึ่งโครงการได้เดินท่อน้ำทิ้งขนาด 2 นิ้วไว้ให้ (ตำแหน่งของซิงค์ล้างจานจึงถูกบังคับไว้เรียบร้อยแล้ว) และด้วยพื้นที่ที่ค่อนข้างจำกัด เราจึงกำหนดรูปแบบของเคาน์เตอร์ครัวเป็นรูปตัวแอล (L) เว้นช่องว่างไว้ประมาณ 1 เมตร สำหรับตู้เย็น ให้อยู่ทางขวามือของซิงค์ล้างจาน (ใจจริงชอบการวางแบบ Island มาก ๆ แต่ทำอะไรไม่ได้ บ้านมันแคบ)
- สำหรับคนที่นึกไม่ออกจริง ๆ ว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหนแนะนำให้เริ่มวางเลเอาท์ของเคาน์เตอร์ครัวที่เราอยากได้คร่าว ๆ เป็นอันดับแรก โดยให้คำนึงถึงความสะดวกในการใช้งานของสมาชิกในบ้าน ทิศทางของประตูและการระบายอากาศ ซึ่งค่อนข้างจำเป็นสำหรับห้องครัว โดยเฉพาะครัวที่วางไว้ภายในตัวบ้าน มักจะพบปัญหาเรื่องกลิ่นจากการทำอาหารแบบบ้านเรา มันจะเป็นฝันร้ายของโซฟาและผ้าม่านแบบสุด ๆ
- หลังจากเลเอาท์เสร็จ ขั้นตอนต่อไปก็เป็นการวางโครงสร้าง 3 มิติ ในขั้นตอนนี้เราแนะนำว่าอย่าเพิ่งใส่รายละเอียดของตู้ทั้งหมด เพราะเราเชื่อว่า จะมีการปรับแก้แบบอีกหลายรอบ ดังนั้นการวางโครงสร้างแบบกล่อง ๆ จะทำให้เราเห็นภาพรวมโดยที่เราจะเสียเวลาน้อยที่สุด พอสัดส่วนทั้งหมดเหมาะสมแล้ว ขั้นตอนต่อไปเราจึงเริ่มใส่รายละเอียดของตู้ จำนวนชั้น หรือ รายละเอียดเกี่ยวกับฟังก์ชันการใช้งานที่เราต้องการ ในขั้นตอนนี้เราจะรู้ว่าเราจะต้องใช้ฟิตติ้งกี่แบบ จำนวนเท่าไรตำแหน่งของปลั๊กไฟ และอื่น ๆ
หมายเหตุ : สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานเรื่องสัดส่วนต่าง ๆ ของห้องครัว แนะนำให้เข้าเว็บไซต์ pinterest => https://www.pinterest.com และค้นหาด้วยคีย์เวิร์ว่า "Kitchen cabinets dimensions and standard" เราก็จะได้ข้อมูลของตู้มาตรฐานที่ใช้ ๆ กันอยู่ครับ หรือเข้าไปเพื่อหาไอเดียรูปแบบห้องครัวก็ได้ เป็นแหล่งข้อมูลที่ค่อนข้างดีที่หนึ่งเลย โดยทั่วไปแล้ว ความกว้างของเคาน์เตอร์จะอยู่ที่ 60 เซนติเมตร และความสูงจากพื้นถึงท็อปเคาน์เตอร์ที่ประมาณ 77-80 เซนติเมตร จะเหมาะสมกับรูปร่างของคนไทย แต่ตอนทำจริง ๆ จะลดตัวโครงสร้างหลักลงนิดหน่อยถ้าเราก่ออิฐและหล่อท็อปเคาน์เตอร์ เพราะอาจจะต้องเผื่อความหนาจากการปูกระเบื้องด้วย ซึ่งขนาดเล็กสุดของแผ่นแกรนิตโต้จะอยู่ที่ 60X60 เซนติเมตร แต่ถ้าแผ่นท็อปเคาน์เตอร์หินก็ไม่ต้องกังวลเครื่องความกว้าง เนื่องจากตัดตามความต้องการของเราได้
หมายเหตุ : สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานเรื่องสัดส่วนต่าง ๆ ของห้องครัว แนะนำให้เข้าเว็บไซต์ pinterest => https://www.pinterest.com และค้นหาด้วยคีย์เวิร์ว่า "Kitchen cabinets dimensions and standard" เราก็จะได้ข้อมูลของตู้มาตรฐานที่ใช้ ๆ กันอยู่ครับ หรือเข้าไปเพื่อหาไอเดียรูปแบบห้องครัวก็ได้ เป็นแหล่งข้อมูลที่ค่อนข้างดีที่หนึ่งเลย โดยทั่วไปแล้ว ความกว้างของเคาน์เตอร์จะอยู่ที่ 60 เซนติเมตร และความสูงจากพื้นถึงท็อปเคาน์เตอร์ที่ประมาณ 77-80 เซนติเมตร จะเหมาะสมกับรูปร่างของคนไทย แต่ตอนทำจริง ๆ จะลดตัวโครงสร้างหลักลงนิดหน่อยถ้าเราก่ออิฐและหล่อท็อปเคาน์เตอร์ เพราะอาจจะต้องเผื่อความหนาจากการปูกระเบื้องด้วย ซึ่งขนาดเล็กสุดของแผ่นแกรนิตโต้จะอยู่ที่ 60X60 เซนติเมตร แต่ถ้าแผ่นท็อปเคาน์เตอร์หินก็ไม่ต้องกังวลเครื่องความกว้าง เนื่องจากตัดตามความต้องการของเราได้
- หลังจากแบบ 3 มิติเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการคลี่แบบเพื่อคำนวณปริมาณไม้และแยกส่วนประกอบของตู้เป็นชิ้น ๆ โดยเรามองตู้แต่ละใบแยกเป็นโมดุลย่อย ๆ และใส่สีต่าง ๆ กันไว้เพื่อให้ง่ายต่อการแยกประเภทและป้องกันการสับสน หลังจากที่แยกเสร็จแล้วก็เอาแต่ละชิ้นส่วนมาวาง Layout บนไม้อัดที่เราวาดไว้ ขนาด 1.2 X 2.4 เมตร ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานสำหรับไม้อัด
- ในรูปจะเป็นเลเอาท์ก่อนที่เราจะปรับเปลี่ยนแบบเล็กน้อย เพราะเรากังวลเรื่องปลวกอย่างมากหลังจากที่เพื่อนบ้านเดินมาเล่าว่าชุดครัวของเขาโดนน้องปลวกแทะเรียบ เล่นเอาพี่หมีและน้องหมีจิตตกอยู่ช่วงหนึ่ง แต่เราก็ทำอะไรไม่ได้มากเพราะซื้อไม้มาแล้ว เลยตัดสินใจเปลี่ยนวัสดุทำเคาน์เตอร์จากไม้เป็นเคาน์เตอร์มวลเบาแทน ย้อมไม้ด้วยน้ำยากันปลวกสำหรับตู้ด้านบนแทน (หวังว่าน้องปลวกจะยังไม่มาเร็ว ๆ นี้)
พอเสร็จขั้นตอนเหล่านี้ เราก็จะได้โมเดลมาหนึ่งชุดที่จะบอกเราว่าต้องใช้วัสดุอะไร จำนวนกี่ชิ้น เราก็คิดออกมาเป็นค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ที่เราจะต้องใช้ เราจะได้วางแผนการใช้เงินได้ถูก วางแผนลำดับในการซื้อของก็อ้างอิงจากแบบได้ อันนี้ต้องลองจัดสรรกันดูตามความสะดวกของแต่ละคน (ค่าใช้จ่าย แนะนำให้ลงใน Excel ครับ แก้ไขง่าย) สุดท้ายอย่าลืมว่ามันจะมีค่าใช้จ่ายที่เรามองไม่เห็นอยู่ด้วยนะ ซึ่งอันนี้จะต้องระวัง เช่น อุปกรณ์สิ้นเปลือง (สี ตะปูเกลียว กระดาษทราย กาว ปูน สำหรับเครื่องมือช่างที่ต้องซื้อเพิ่ม จะซื้ออะไร ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบครัวและหน้างานของแต่ละคน ประเมินเอาจากแบบนั่นแหละครับ
พอเสร็จขั้นตอนเหล่านี้ เราก็จะได้โมเดลมาหนึ่งชุดที่จะบอกเราว่าต้องใช้วัสดุอะไร จำนวนกี่ชิ้น เราก็คิดออกมาเป็นค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ที่เราจะต้องใช้ เราจะได้วางแผนการใช้เงินได้ถูก วางแผนลำดับในการซื้อของก็อ้างอิงจากแบบได้ อันนี้ต้องลองจัดสรรกันดูตามความสะดวกของแต่ละคน (ค่าใช้จ่าย แนะนำให้ลงใน Excel ครับ แก้ไขง่าย) สุดท้ายอย่าลืมว่ามันจะมีค่าใช้จ่ายที่เรามองไม่เห็นอยู่ด้วยนะ ซึ่งอันนี้จะต้องระวัง เช่น อุปกรณ์สิ้นเปลือง (สี ตะปูเกลียว กระดาษทราย กาว ปูน สำหรับเครื่องมือช่างที่ต้องซื้อเพิ่ม จะซื้ออะไร ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบครัวและหน้างานของแต่ละคน ประเมินเอาจากแบบนั่นแหละครับ
- หลังจากออกแบบอยู่สักพัก สุดท้ายแบบห้องครัวของเราก็ลงตัวสักที ในส่วนของการเขียนแบบ เราใช้เวลาอยู่นานพอสมควรเลย แต่ข้อดีก็คือเรารู้ว่าจะเริ่มงานได้จากตรงไหนก่อน มีปัญหาส่วนไหนที่เราอาจจะต้องเจอ แล้วก็ได้วิธีจัดการปัญหาก่อนที่มันจะเกิดขึ้นจริง ถ้าจะให้เขียนก็คงจะไม่จบง่าย ๆ แต่สิ่งหนึ่งที่บอกได้เลย คือ แบบดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ทำงานง่ายขึ้นเยอะ
สรุปสั้นๆ : เขียนแบบให้ละเอียด ชัดเจน จะช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น
สรุปสั้นๆ : เขียนแบบให้ละเอียด ชัดเจน จะช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น
คำถามที่ 3 : ต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ? หาได้จากที่ไหน ?
ขั้นตอนต่อไป คือการเลือกซื้อวัสดุอุปกรณ์ สำหรับคนที่ตัดสินใจใช้ไม้ แนะนำให้ไปที่ "บางโพ" เลยครับ แหล่งรวมวัสดุอุปกรณ์สำหรับงานไม้แหล่งใหญ่อันดับต้น ๆ ของประเทศ ไม้จริง ไม้อัด ไม้เทียม ไม้ประสาน ไม้แปรรูป ไม้เสา ไม้กลึง มีเยอะแยะไปหมด เล่นเอาเลือกกันไม่ถูก ส่วนเราสองคนเราเลือกใช้ "ไม้ประสานยางพารา" ความหนา 16 มิลลิเมตร (อันที่จริงแล้วชอบลายของไม้สนฟินแลนด์มากกว่า แต่ความแข็งแรงของไม้สนสู้ไม้ยางพาราไม่ได้ โดนอะไรนิดหน่อยก็บุบ บอบบางเกินไป รู้สึกว่าทำงานด้วยลำบาก เทียบกับไม้ยางพาราแข็งกว่า เหนียวกว่า จะไม่ค่อยมีปัญหาตอนยึดสกรูเหมือนไม้สนที่เกลียวหวานง่ายกว่า ถอดเข้า-ถอดออกบ่อย ๆ ไม่ได้ สุดท้ายเลยต้องตัดใจเลือกไม้ยางพาราเพราะเน้นการใช้งานเป็นหลัก พวกวัสดุประเภทไม้ต้องทำใจเรื่องการโก่งงอ-บิดตัวจากความชื้นด้วยนะครับ มันเป็นธรรมชาติของไม้จริง ต้องทำความเข้าใจนิดหนึ่ง (สาเหตุที่ไม่เลือกไม้อัดทั้งที่ราคาถูกกว่าบิดตัวน้อยกว่า เพราะว่าไม่เคยทำสีไม้อัด ลองศึกษาการทำสีแบบ High glossy แล้วคิดว่าคงจะใช้เวลาทำนานเกินไปเลยตัดทิ้ง อีกอย่างชอบลายไม้ธรรมชาติมากกว่าด้วยครับ ที่เหลือก็ไปแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเอา) อีกอย่างที่ขาดไม่ได้ก็คือ น้ำยากันปลวก, สีสำหรับเคลือบผิวไม้และอุปกรณ์ตัด-เจาะ (เลื่อย-ดอกสว่าน) อุปกรณ์ขัด (กระดาษทราย/ตัวจับ) อุปกรณ์ยึด (นอต/ตะปู) และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แนะนำว่าให้วางแผนในการซื้อของดี ๆ จะได้ไม่ต้องเดินทางหลายรอบ อย่าลืม ! อุปกรณ์ Safety ซึ่งสำคัญมาก ๆ เงินหาเมื่อไรก็ได้แต่ร่างกายไม่มีอะไหล่เปลี่ยน เพราะฉะนั้นห้ามงกในเรื่องนี้นะ
สำหรับคนที่ไม่มีรถกระบะจะซื้อไม้ได้ไหม คำตอบคือ "ได้ครับ" เพราะร้านค้าส่วนใหญ่ที่นี่มีบริการรับตัดด้วย แต่เรื่องของค่าใช้จ่ายอาจจะต้องพูดคุยกับเจ้าของร้านเอง เขาคิดเป็นราคาต่อการตัด 1 ครั้งนะ เริ่มที่ 20-100 บาท อันนี้แล้วแต่สกิลการต่อรองของแต่ละคน ส่วนผมซื้อเลื่อยวงเดือนแล้วเอาใส่รถมาตัดที่บ้านเอง โดยปกติแล้วเราจะไปซื้อที่ร้านเดิมตลอด เหมือนเป็นร้านประจำไปแล้ว เฮียเจ้าของร้านใจดี ถ้าซื้อน้อย ๆ ไว้ทำงาน DIY ไม่อยากซื้อเต็มแผ่นให้มีเศษเหลือ แกก็มีแบ่งขายนะ ถ้าไม่มีความรู้เรื่องระบบสีก็ถามได้เลย ซื้อของแล้วฝากรถไว้ครึ่งวันแกก็ไม่ว่า (แจ้งแกนิดหนึ่ง) ร้านอยู่เกือบสุดซอย บอกก่อนเลยว่าเราสองคนไม่ได้ส่วนแบ่งจากการขายของนะ แกไม่น่าจะจำเราได้ด้วยซ้ำเพราะซื้อน้อย นาน ๆ ที แต่รู้สึกว่าอะไรที่ดี ๆ ก็อยากส่งต่อ สุดท้ายก็คืออยากให้ลองคุยดูหลาย ๆ ร้านก่อนตัดสินใจ ราคาไม่ห่างกันมากหรอก (เราซื้อน้อย) แต่การบริการบอกเลยว่าแต่ละร้านไม่เหมือนกัน
ตรงนี้สำคัญ ! สิ่งที่ต้องระวังในการเลือกของที่บางโพ คือ "การจอดรถ" เนื่องจากที่นี่เป็นถนนที่เปิดให้เดินรถได้ทางเดียว และจะกำหนดการจอดแต่ละฝั่งตามวันคู่/คี่ เพราะฉะนั้นต้องสังเกตป้ายให้ดีก่อนจอด วันนี้วันที่เท่าไร ให้จอดฝั่งซ้ายหรือขวา มีสตินิดหนึ่ง มิฉะนั้นอาจจะเจอใบสั่งของคุณพี่ตำรวจได้ รู้สึกว่าเขาตรวจตลอดทั้งวันนะเพราะที่นี่รถเข้าออกค่อนข้างเยอะ
สำหรับคนที่ไม่มีรถกระบะจะซื้อไม้ได้ไหม คำตอบคือ "ได้ครับ" เพราะร้านค้าส่วนใหญ่ที่นี่มีบริการรับตัดด้วย แต่เรื่องของค่าใช้จ่ายอาจจะต้องพูดคุยกับเจ้าของร้านเอง เขาคิดเป็นราคาต่อการตัด 1 ครั้งนะ เริ่มที่ 20-100 บาท อันนี้แล้วแต่สกิลการต่อรองของแต่ละคน ส่วนผมซื้อเลื่อยวงเดือนแล้วเอาใส่รถมาตัดที่บ้านเอง โดยปกติแล้วเราจะไปซื้อที่ร้านเดิมตลอด เหมือนเป็นร้านประจำไปแล้ว เฮียเจ้าของร้านใจดี ถ้าซื้อน้อย ๆ ไว้ทำงาน DIY ไม่อยากซื้อเต็มแผ่นให้มีเศษเหลือ แกก็มีแบ่งขายนะ ถ้าไม่มีความรู้เรื่องระบบสีก็ถามได้เลย ซื้อของแล้วฝากรถไว้ครึ่งวันแกก็ไม่ว่า (แจ้งแกนิดหนึ่ง) ร้านอยู่เกือบสุดซอย บอกก่อนเลยว่าเราสองคนไม่ได้ส่วนแบ่งจากการขายของนะ แกไม่น่าจะจำเราได้ด้วยซ้ำเพราะซื้อน้อย นาน ๆ ที แต่รู้สึกว่าอะไรที่ดี ๆ ก็อยากส่งต่อ สุดท้ายก็คืออยากให้ลองคุยดูหลาย ๆ ร้านก่อนตัดสินใจ ราคาไม่ห่างกันมากหรอก (เราซื้อน้อย) แต่การบริการบอกเลยว่าแต่ละร้านไม่เหมือนกัน
ตรงนี้สำคัญ ! สิ่งที่ต้องระวังในการเลือกของที่บางโพ คือ "การจอดรถ" เนื่องจากที่นี่เป็นถนนที่เปิดให้เดินรถได้ทางเดียว และจะกำหนดการจอดแต่ละฝั่งตามวันคู่/คี่ เพราะฉะนั้นต้องสังเกตป้ายให้ดีก่อนจอด วันนี้วันที่เท่าไร ให้จอดฝั่งซ้ายหรือขวา มีสตินิดหนึ่ง มิฉะนั้นอาจจะเจอใบสั่งของคุณพี่ตำรวจได้ รู้สึกว่าเขาตรวจตลอดทั้งวันนะเพราะที่นี่รถเข้าออกค่อนข้างเยอะ
ส่วนเครื่องมือช่าง จะเลือกใช้ Hand tool หรือ Power tool อันนี้ก็แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละท่าน ถ้าไม่มีพื้นฐานจริง ๆ ก็ถามคนขายได้ว่าใช้ยังไง หรือ ลองดูรีวิวและการเลือกซื้อเครื่องไม้เครื่องมือใน Youtube ก่อนตัดสินใจซื้อก็ได้ครับ ของ Meplus channel ก็อธิบายไว้เข้าใจง่ายเลยครับ หรือของ Thaicarpenter ก็ครอบคลุมเครื่องมือพื้นฐานดี (ที่เอ่ยมาไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียนะ และต้องขออภัยที่อ้างชื่อ หากไม่เหมาะสมแจ้งลบได้เลยนะครับ) แต่ถ้าจะให้แนะนำก็มี
1. เลื่อยวงเดือน (ของผมเลือก 4 นิ้ว เพียงพอต่อการใช้งานของผม น้ำหนักเบา เสียงเบากว่าตัวใหญ่ ตัดช้า ๆ ไม่รีบร้อน)
2. สว่านไฟฟ้า อุปกรณ์สองชิ้นนี้สำคัญสุดสำหรับความคิดผม ส่วนพวก Clamp ช่วยจับ ฉาก อันนี้ก็สำคัญ ติดบ้านไว้ไม่เสียหาย สะดวกมากเวลาทำงานคนเดียว ส่วนเครื่องขัด อันนี้จะช่วยเรื่องของการลดระยะเวลาทำงาน ไม่มีก็ยังทำงานได้ หรือถ้ายังตัดสินใจไม่ได้ค่อยแวะห้างตระกูล Home ทั้งหลายทีหลังก็ได้ครับ พนักงานพร้อมขายพร้อมอธิบาย
1. เลื่อยวงเดือน (ของผมเลือก 4 นิ้ว เพียงพอต่อการใช้งานของผม น้ำหนักเบา เสียงเบากว่าตัวใหญ่ ตัดช้า ๆ ไม่รีบร้อน)
2. สว่านไฟฟ้า อุปกรณ์สองชิ้นนี้สำคัญสุดสำหรับความคิดผม ส่วนพวก Clamp ช่วยจับ ฉาก อันนี้ก็สำคัญ ติดบ้านไว้ไม่เสียหาย สะดวกมากเวลาทำงานคนเดียว ส่วนเครื่องขัด อันนี้จะช่วยเรื่องของการลดระยะเวลาทำงาน ไม่มีก็ยังทำงานได้ หรือถ้ายังตัดสินใจไม่ได้ค่อยแวะห้างตระกูล Home ทั้งหลายทีหลังก็ได้ครับ พนักงานพร้อมขายพร้อมอธิบาย
- หลังจากเขียนแบบและซื้อของเสร็จแล้ว ถึงเวลาลงมือจริงได้แล้วสิ เริ่มงานได้ เริ่มต้นเลยก็จะเป็นการเตรียมพื้นที่ การวัดหน้างานจริงและการขีดเส้นบอกระยะให้ชัดเจน จากนั้นก็จับฉากให้ดี จะได้ไม่ลำบากในการเก็บงานทีหลัง (พอดีที่บ้านแดดร้อนเลยต้องกางม่านหน่อย)
- เพราะว่าไม่อยากตัดบัวพื้น ไม่รู้จะตัดยังไง กลัวตัดไม่สวย เลยเลือกที่จะหั่นเคาน์เตอร์มวลเบาส่วนที่เป็นฐานเพื่อหลบส่วนนี้แทน ซึ่งคิดว่าง่ายกว่า อีกอย่างบัวพื้นของเราเป็นไม้เทียมเลยไม่กลัวว่าปลวกจะแทะตรงนี้เท่าไร ส่วนวิธีการตัดก็ง่าย ๆ คือวัดจากขอบเข้าไปในตัวก้อนอิฐมวลเบาประมาณ 12 mm. ใช้ฉากวัดแล้วขีดนำร่องไว้ก่อนจะได้ตัดตรง ๆ หน่อย จากนั้นก็ใช้ใบเลื่อยตัดเหล็กค่อย ๆ ตัดไปเรื่อย ๆ ตามความสูงของบัวพื้นประมาณ 12 เซนติเมตร หลังจากนั้นก็เอาแผ่นเคาน์เตอร์ที่ได้ไปลองเทียบกับผนัง จะเห็นว่าใส่ได้พอดีเลย
- สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้หลังจากตั้งฐานเคาน์เตอร์มวลเบา คือ การวัดระดับน้ำเพื่อดูว่าฐานที่เราตั้งเอียงหรือเปล่า จุดสังเกตก็ คือ ถ้าฟองน้ำอยู่ตรงกลางระหว่างขีดที่ 1 และ 2 ก็แปลว่าได้ระดับพอดี ไม่เอียงซ้ายหรือเอียงขวา ลองปรับ ๆ ยก ๆ ดู เดี๋ยวก็ได้ครับ ไม่ยาก ส่วนใครอยากใช้การก่ออิฐแดงหรืออิฐมวลเบา ก็ใช้วิธีดิ่งด้วยลูกดิ่ง หรือ วัดระดับน้ำเป็นระยะ ๆ ก็ช่วยได้เยอะ (ถ้าไม่ใช้ เดี๋ยวก่อเสร็จแล้วเอียงเป็นหอเอนเมืองปิซา จะหาว่าไม่เตือน)
- ถ้าใครตัดสินใจที่จะใช้เคาน์เตอร์มวลเบาจริง ๆ ในตอนที่ไปซื้ออยากให้ตรวจรับให้ละเอียดหน่อย เพราะเราเจองานซ่อม 1 ชิ้น ที่เกิดจากการเอาปูนมาปิดทับรอยกะเทาะ ทำให้ระดับของเสาไม่เท่ากัน ผิดจากขนาดมาตรฐานไป 1.5 เซนิเมตร พอวางระดับน้ำระหว่างแผ่นฐานสองแผ่นเลยเอียงแบบชัดเจนแล้วต้องมาตัดออกทีหลัง แล้วเนื้อของวัสดุใหม่และวัสดุเดิมไม่เหมือนกัน ตัวที่เอามาปิดซ่อมเป็นปูนทั่วไปซึ่งแข็งกว่ามาก ๆ ทำให้การตัดค่อนข้างลำบากและใช้เวลานานมาก จริง ๆ แล้ววัสดุตัวนี้ต้องพรุนตัวทั้งก้อน ถ้าบริเวณไหนเรียบผิดปกติแบบผิวปูนหล่อหรือฉาบมาก็ขอเปลี่ยนเลย เพื่อความสบายใจ
- หลังจากทุกอย่างเรียบร้อยแล้วขั้นตอนต่อไปคือการผสมปูนและเริ่มติดตั้ง ปูนที่เราใช้เป็นปูนชนิดพิเศษจากโรงงานสำหรับติดตั้งเคาน์เตอร์มวลเบาโดยเฉพาะ (เขาว่ามาแบบนี้) สำหรับสัดส่วนน้ำที่ใช้ผสมก็ดูได้จากข้างถุงได้เลย ใส่ปูนใส่น้ำแล้วก็คน เป็นอันจบขั้นตอน จากรูปจะเห็นได้ว่าเราปูอิฐมวลเบาลงบนแผ่นกระเบื้องโดยตรง ซึ่งจริง ๆ แล้วควรจะต้องผ่ากระเบื้องและกะเทาะออกให้เห็นพื้นปูนด้านล่างให้หมด การติดลงบนกระเบื้องโดยตรงอาจจะส่งผลต่อความแข็งแรงในการยึดเกาะในอนาคต (แต่เราก็สอบถามไปทางผู้ผลิตแล้ว ทางบริษัทยืนยันว่าสามารถปูลงบนแผ่นกระเบื้องได้ แต่การยึดเกาะอาจจะน้อยกว่าตามที่ได้บอกไว้ข้างต้น ก็เลยลองเสี่ยงดู เพราะไม่อยากผ่ากระเบื้องปูพื้น ด้วยความเป็นมือใหม่ กลัวมันจะลามไปทั้งบ้าน)
- หลังจากวางแผ่นฐานเสร็จ อย่าลืมยึดส่วนของขอบฐานด้านบนกับผนังด้วยแผ่นเหล็กรู (ไม่รู้ภาษาช่างเรียกอะไร เขาใช้สำหรับติดตั้งอิฐมวลเบา) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงในการยึดเกาะอีกชั้นหนึ่ง หาซื้อได้ตามห้างตระกูล Home ทั่วไป
- หลังจากฐานเคาน์เตอร์เสร็จขั้นตอนต่อไปก็เป็นการทำท็อปเคาน์เตอร์ วิธีการก็ไม่ยากแค่ยกแผ่นเคาน์เตอร์ ป้ายด้วยปูนแล้วแปะลงไป แต่ส่วนที่ยากคือส่วนของการเจาะช่องสำหรับใส่ซิงค์ล้างจาน ซึ่งตัวท็อปสำหรับซิงค์ล้างจานจะเป็นท็อปชนิดพิเศษที่เสริมเหล็กบริเวณขอบมากกว่าแผ่นแบบปกติเพื่อความแข็งแรง เพราะฉะนั้นเวลาจะซื้อต้องวางแผนให้ดี เดี๋ยวจะสั่ง ท็อปผิดประเภท (ราคาแบบแผ่นปกติและซิงค์ต่างกันพอสมควร)
- การเจาะแผ่นท็อปริ่มต้นด้วยการวัดขนาดของฐานซิงค์สแตนเลส จากนั้นนำมาวาดลงบนแผ่นท็อปอิฐมวลเบาโดยพยายามให้จุดศูนย์กลางของตัวซิงค์สแตนเลสอยู่ตรงตำแหน่ง Center line ของแผ่น (จะเยื้องซ้ายหรือขวา ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบของเรา) แต่ควรเว้นขอบให้เหลือประมาณด้านละ 5 เซนติเมตร จากนั้นใช้สว่านเจาะรูบริเวณมุมทั้ง 4 มุม เพื่อใช้สำหรับสอดใบเลื่อยตัดเหล็ก ที่เหลือก็แค่ใช้ความอึดถึกทน หั่นไปเรื่อย ๆ จนทะลุถึงกันทั้ง 4 ด้าน ในขั้นตอนนี้ต้องใช้ความใจเย็นเป็นอย่างมาก หากเร่งรีบจนเกินไปจะทำให้แผ่น Top ซิงค์หักได้ แปลว่าเราต้องเสียตังค์ซื้อแผ่นท็อปอันใหม่
- ยึดแผ่นท็อปและส่วนฐานเคาน์เตอร์ด้วยปูนเชื่อม เคาะเบา ๆ ด้วยค้อนยางเพื่อให้แผ่นมวลเบาเชื่อมกัน
- เก็บรายละเอียดกันหน่อย
- ต่อไปเป็นขั้นตอนการกรุผนังเคาน์เตอร์ เนื่องจากเรามีเศษอะลูมิเนียมคอมโพสิตอยู่นิดหน่อยจึงเอามาลองใช้กับงานนี้เพื่อประหยัดงบซื้อกระเบื้อง (แม่ไปได้มาจากไหนก็ไม่รู้) ใช้กาวตะปูเป็นตัวช่วยยึดเกาะและใช้ตะปูเกลียวยึดทั้ง 4 มุมอีกครั้ง
- กว่างานเคาน์เตอร์จะจบก็ใช้เวลาร่วม 2 เดือน มีเวลาว่างแค่เสาร์-อาทิตย์ ค่อย ๆ ทำไปเรื่อย ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วควรจะรีบจบงานนี้ให้ไวที่สุดเพราะฝุ่นเยอะมาก
- งานโครงสร้างเคาน์เตอร์ปูนจบไปบางส่วน ต่อไปก็เริ่มเข้างานไม้แล้วจ้า ซึ่งเป็นงานถนัดกว่าสำหรับเราสองคน สาเหตุที่เลือกไม้ยางพาราประสานเป็นเพราะว่าเป็นไม้ที่มีผิวค่อนข้างสวย พื้นผิวหน้าเรียบมาจากโรงงานเลยไม่ต้องวุ่นวายกับการเก็บผิวมากนัก แค่ขัดด้วยกระดาษทรายก็ทำสีผิวต่อได้เลยทันที (ถ้ามีเครื่องขัดจะเป็นอะไรที่ฟินมาก แต่ถ้าไม่มีเครื่องมือก็ถือว่าเป็นการเล่นกล้ามไปในตัวก็แล้วกัน)
- อย่างที่บอกไปตอนต้นว่า Drawing ที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ในขั้นตอนนี้ไม่ค่อยวุ่นวายมากสำหรับผม กางกระดาษที่วาดเลเอาท์แล้วตัดตามอย่างเดียวไม่ต้องคิดอะไรมาก ใช้ตลับเมตรวัดขนาดหัว-ท้าย โดยอย่าลืมเผื่อความหนาของใบเลื่อยด้วย จะตัดในเส้นหรือนอกเส้นก็ต้องใช้รูปแบบเดียวกันให้ตลอด การตัดไม้ไม่เหมือนการใช้กรรไกรตัดกระดาษ เนื้อไม้ตรงส่วนที่เป็นรอยตัดจะหายไปเท่า ๆ กับความหนาใบเลื่อย ต้องกำหนดวิธีตัดของตัวเองให้ดี ไม่เช่นนั้นขนาดของชิ้นงานไม้ที่ได้จะผิดจากแบบ จากนั้นวางไม้บรรทัดเป็นรั้วซอย (ถ้าไม่มีก็ใช้ขอบของแผ่นไม้แทน) ล็อกด้วย Clamp ยึดกันเลื่อน ขณะที่ตัดก็ค่อย ๆ ดันเลื่อยวงเดือนช้า ๆ การเดินเลื่อยที่เร็วเกินไปอาจทำให้ไม้แตกได้ ใจเย็นนิดหนึ่งจะได้ไม่ต้องเสียเวลาซ่อมงาน (ถ้าใช้ในเลื่อยฟันถี่ ๆ จะดีกว่าใบหยาบสำหรับงานแบบนี้) สำหรับคนที่ตัดไม้อัด ช่างหลาย ๆ คนทั้งไทยและเทศแนะนำว่าให้แปะกระดาษกาวบนแนวตัดก่อน (หน้า-หลัง) รอยที่ได้จะไม่เป็นเสี้ยนไม้เล็ก ๆ ผมเคยลองแล้วก็ได้ผลดีอยู่ครับ
- อย่างที่บอกไปตอนต้นว่า Drawing ที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ในขั้นตอนนี้ไม่ค่อยวุ่นวายมากสำหรับผม กางกระดาษที่วาดเลเอาท์แล้วตัดตามอย่างเดียวไม่ต้องคิดอะไรมาก ใช้ตลับเมตรวัดขนาดหัว-ท้าย โดยอย่าลืมเผื่อความหนาของใบเลื่อยด้วย จะตัดในเส้นหรือนอกเส้นก็ต้องใช้รูปแบบเดียวกันให้ตลอด การตัดไม้ไม่เหมือนการใช้กรรไกรตัดกระดาษ เนื้อไม้ตรงส่วนที่เป็นรอยตัดจะหายไปเท่า ๆ กับความหนาใบเลื่อย ต้องกำหนดวิธีตัดของตัวเองให้ดี ไม่เช่นนั้นขนาดของชิ้นงานไม้ที่ได้จะผิดจากแบบ จากนั้นวางไม้บรรทัดเป็นรั้วซอย (ถ้าไม่มีก็ใช้ขอบของแผ่นไม้แทน) ล็อกด้วย Clamp ยึดกันเลื่อน ขณะที่ตัดก็ค่อย ๆ ดันเลื่อยวงเดือนช้า ๆ การเดินเลื่อยที่เร็วเกินไปอาจทำให้ไม้แตกได้ ใจเย็นนิดหนึ่งจะได้ไม่ต้องเสียเวลาซ่อมงาน (ถ้าใช้ในเลื่อยฟันถี่ ๆ จะดีกว่าใบหยาบสำหรับงานแบบนี้) สำหรับคนที่ตัดไม้อัด ช่างหลาย ๆ คนทั้งไทยและเทศแนะนำว่าให้แปะกระดาษกาวบนแนวตัดก่อน (หน้า-หลัง) รอยที่ได้จะไม่เป็นเสี้ยนไม้เล็ก ๆ ผมเคยลองแล้วก็ได้ผลดีอยู่ครับ
- เมื่อได้ชิ้นส่วนครบตามต้องการ ขั้นตอนต่อไปคือการประกอบตู้ เราสองคนเลือกใช้ตะปูเกลียวความยาว 1.5 นิ้ว หัวน็อตเบอร์ 7 ในการยึดไม้แต่ละชิ้นเข้าด้วยกัน ก่อนที่จะไขนอตผมเจาะนำด้วยดอกสว่าน 3 มิลลิเมตร ก่อน เพื่อช่วยลดการแตกของไม้ซึ่งส่วนใหญ่จะแตกตรงแนวขวางของลายไม้ และอีกเหตุผลหนึ่งคือ ผมหาซื้อตะปูเกลียวหยาบสำหรับยึดไม้ไม่ได้ เลยจำเป็นต้องซื้อแบบละเอียดมาแทน ตะปูเกลียวละเอียดมันไม่ค่อยดูดไม้ รูเจาะนำจะช่วยตรงนี้ (เคยใช้เบอร์ 8 แล้วไม้แตก ไม่รู้เกี่ยวไหม อาจจะปรับทอร์กของสว่านเยอะไปก็ได้) สำหรับคนที่ใช้ไม้ยางพาราประสาน ควรวาง Layout ของการตัดให้ด้านที่ยาวที่สุดของชิ้นงานอยู่ขนานกับแนวลายไม้ เพราะไม้ชนิดนี้เกิดจากการต่อกันด้วยกาว การรับแรงตามแนวขวางค่อนข้างแย่ ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานที่ไม้จะต้องรับแรงตามขวาง
- ประกอบตู้เสร็จขั้นตอนต่อไปคือการขัดด้วยกระดาษทรายให้ผิวเรียบ จากนั้นก็เคลือบกันปลวก 2-3 รอบ ทิ้งไว้ให้ครบ 24 ชั่วโมงแล้วค่อยเอาไปเคลือบผิวหรือทำสีต่อ (น้ำยาเหม็นโคตร) ถ้าชอบสีธรรมชาติของยางพาราก็เอาไปเคลือบได้เลย หลังจากเคลือบเสร็จไม้จะมีสีอมเหลืองนิดหน่อย แต่สำหรับเราสองอยากคนอยากได้ตู้ไม้สีน้ำตาลเข้ม เลยต้องย้อมสีก่อน 2 รอบ ด้วยสีย้อมไม้ (สีประดู่) เพื่อให้ได้สีตามต้องการก่อนที่จะลงแลคเกอร์เป็นขั้นตอนต่อไป (สำหรับคนที่ไม่มีปั๊มลมสามารถใช้แปรงทาสีทาได้เลย ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องซื้อปั๊มลมมาเพื่องานนี้ อันนี้สมบัติเก่าจ้า)
- ขอแนะนำในเรื่องของงานสีนิดหน่อย สีเคลือบที่ขายในท้องตลาดมีหลากหลายประเภท เช่น ใช้ภายนอก-ภายใน บางชนิดสามารถเปิดขวดแล้วใช้ได้เลย แต่บางชนิดต้องผสมให้ได้ตามสัดส่วนของแต่ละผู้ผลิตที่ได้กำหนดไว้ก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้ เพราะฉะนั้นควรอ่านคู่มือให้เข้าใจก่อนลงมือทำ และในครั้งแรกไม่ควรผสมสีทีเดียวหมด เพราะจะทำให้สีแห้งและเราทาสีไม่ทัน ลองผสมดูทีละน้อยแล้วกะปริมาณใหม่ในครั้งต่อไป สีส่วนใหญ่ผสมแล้วจะเก็บได้ไม่นาน เหลือคือทิ้งเลย
- ตัดสินใจอยู่นานเรื่องวัสดุท็อปเคาน์เตอร์ คิดในใจว่าเคาน์เตอร์ของเราต้องสวยหรูและดูแพง (ลงทุนลงแรงไปเยอะ ก็อยากให้ออกมาสวย) เพราะฉะนั้นสิ่งที่เหมาะสมกับเคาน์เตอร์เราเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากแผ่นแกรนิตสีดำเกรดเอเท่านั้นเขาว่ากันว่าเกรดดี ๆ น้ำจะซึมได้น้อย แต่พอดูราคาแล้วก็ตัดสินใจได้ว่าแกรนิตโต้ 60 X 60 ก็ใช้ได้นะ (ตอนแรกสุดตั้งใจจะใช้ผิวท็อปเป็นไม้แล้วเคลือบด้วยเรซิ่นเอา แต่ว่าไม่อยากมาปวดหัวทีหลังกับการดูแลรักษา เลยหันมาสนใจวัสดุจำพวกหินเพื่อให้สามารถรับงานหนัก ๆ ได้ สับ โขลก ทุบ เป็นวิธีพื้นฐานของการทำอาหารไทยต้องพิจารณาส่วนนี้ร่วมด้วย)
- เนื่องจากว่าไม่เคยปูกระเบื้องมาก่อนก็เลยตัดสินใจจ้างช่างมาปูให้ ใจไม่กล้าพอเลยทำให้เสียใจจนถึงทุกวันนี้ เรื่องของเรื่องคือ ในส่วนรอยต่อตรงขอบเล็ก ๆ ของซิงค์ที่ยาวเกิน 70 เซนติเมตร แล้วต้องต่อด้วยกระเบื้องชิ้นเล็ก ๆ ช่างก็ตัดมาแปะ แต่ว่าช่างปูกระเบื้องไม่ได้ระนาบนี่สิ กลายเป็นรอบบุ๋มลงไป ตอนไปเจอก็แก้อะไรไม่ได้แล้ว ปูนเซตตัวไปแล้ว สุดท้ายก็ได้แต่ทำใจ
- การติดตั้งตู้ลอย โดยปกติแล้วเห็นช่างมืออาชีพใช้อยู่ 2 วิธี คือ 1. ฝังพุกตะกั่วหรือพุกไม้แล้วยึดด้วยสกรู 2. ติดตั้งด้วยอุปกรณ์สำหรับแขวนตู้ (ไม่แน่ใจว่าศัพท์ภาษาช่างเรียกว่าอะไร) ซึ่ง 2 วิธีนี้จะปกปิดตำแหน่งติดตั้งได้เนียนเสมือนว่าตู้ลอยได้จริง ๆ โดยไม่ต้องใช้ฐานเพื่อรองรับให้ดูเกะกะ แต่สำหรับเราสองคนไม่รู้เทคนิคในการติดตั้ง เลยใช้วิธีดิบ ๆ บ้าน ๆ ด้วยการเจาะด้วยสว่านเบอร์ 10 ทั้ง 4 มุมของตู้ แล้วยกขึ้นทาบกับผนังเพื่อมาร์กจุดเจาะ จากนั้นฝังพุกเหล็กกับผนัง ขันนอตเพื่อให้ส่วนที่เป็นเกลียวตัวผู้ยืดออกมา ยกตู้ใส่แล้วปิดด้วยนอตตัวเมียในขั้นตอนสุดท้าย นอตส่วนที่เหลือก็ใช้หินเจียรเจียออก ด้วยวิธีนี้จะทำให้เราเห็นหัวนอตโผล่ในตู้ไม่สวยงาม แต่เราสองคนไม่ซีเรียสเท่าไรเพราะสุดท้ายแล้วจะมีประตูปิดอีกครั้งหนึ่งมองไม่เห็นหัวนอตอยู่แล้ว
- หลังจากตู้ลอยเสร็จ คิวต่อไปก็เป็นชั้นลอยไมโครเวฟที่ฟิวชั่นกับชั้นวางจานเหล็ก ราคา 1,800 บาทจากห้างสีฟ้าแถวบางนา เราสองคนชอบการออกแบบ Fitting และชั้นวางต่าง ๆ ของห้างนี้มาก แต่ไม่อยากซื้อมาทั้งเซตเพราะไม่เข้ากับคอนเซ็ปต์ของเรา เลยเลือกซื้อเฉพาะอุปกรณ์ที่ชอบแล้วจำวิธีการติดตั้งมาออกแบบและปรับใช้กับตู้เราทีหลัง บางตำแหน่งอาจจะต้องเจาะเพิ่ม หรือปรับแก้บ้างเล็กน้อยเพราะว่ามันถูกออกแบบมาค่อนข้างเฉพาะ แต่ก็ไม่ได้เหลือบ่ากว่าแรงมากนัก ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สนุกขั้นตอนหนึ่ง (ต้องมาลุ้นว่าที่ซื้อมาจะใช้ได้ไหม)
- ติดตั้งชั้นลอยด้วยพุกเหล็กเหมือนเดิม โชว์หัวนอตนิดหน่อยดู Loft ดี (ไม่ได้ตั้งใจทำให้เป็น Loft หรอกแต่หัวเจียเข้าไม่ได้ต่างหาก นึกแล้วก็ขำตัวเอง)
- เนื่องจากพื้นที่ด้านข้างเคาน์เตอร์ครัวด้านซ้าย มีช่องว่างประมาณ 15-20 เซนติเมตร ทำให้ต้องหาอะไรมาใส่เพื่อรองรับแผ่นกระเบื้องแกรนิตโต้ที่ปูเกินมาและต้องการให้มีพื้นที่ใช้สอยสูงสุด เลยตัดสินใจทำตู้ที่เป็นลิ้นชักเลื่อนเข้าออกได้ โดยการทำกล่องสี่เหลี่ยมเป็นเฟรมนอกและติดตั้ง Fitting ลิ้นชักแบบรางสไลด์ เพื่อให้สามารถเลื่อนเข้าออกได้ สำหรับคนที่ชอบฟังชันก์แบบนี้ แนะนำให้ติดตั้ง Fitting ด้านบนแทนเพราะเราพบปัญหาว่าเมื่อใช้งานไปได้สักพักหนึ่ง ลิ้นชักจะเกิดการฝืดทำให้เลื่อนลิ้นชักออกมาได้ไม่สุด (อาจจะมาจากไม้บวม หรือ Fitting รับน้ำหนักมากเกินไป)
- งานโครงสร้างเสร็จก็เริ่มงานปูกระเบื้องผนังตามเลยทันที เพราะเป็นงานที่ไม่ได้ใช้เสียงดังสามารถทำกลางคืนหลังเลิกงานได้ โดยการปูกระเบื้องเราตัดสินใจใช้กาวเซรามิคในการติดแทนที่จะใช้ปูนเพราะคิดว่ากระเบื้องผนังไม่จำเป็นต้องรับแรงมากและเราไม่อยากให้บ้านเลอะเพราะปูกระเบื้องไม่เป็น วิธีนี้เราไม่ยืนยันถึงประสิทธิภาพการยึดติดเพราะเราก็ไม่รู้ว่าจะอยู่ได้นานแค่ไหน มันเหมือนเป็นการทดลองของเราสองคนมากกว่า แต่หลังจากใช้งานมาประมาณ 6 เดือนก็ยังไม่เกิดปัญหาอะไร แต่มีข้อระวังนิดหน่อย เนื่องจากกระเบื้องที่เราใช้เป็นแบบบาง ทำให้แตกหักได้ง่าย ในขั้นตอนการติดตั้งไม่ควรให้เหลือพื้นที่ช่องว่างใต้กระเบื้อง เพราะหากเกิดการกระแทกจะเกิดการแตกหักได้ง่าย หลังจากปูกระเบื้องเสร็จก็ยาแนวด้วยปูนยาแนวสีดำ ห้องครัวเป็นห้องที่ค่อนข้างจะถูกใช้งานหนัก การใช้ยาแนวสีอ่อนจะทำให้เกิดตำหนิหรือคราบฝังลึกได้ง่ายในอนาคต
- ฟิตติ้งและการเก็บงาน ส่วนของการติดตั้งบานประตูและลิ้นชักด้านใต้เคาน์เตอร์ ควรเลือกฟิตติ้งให้เหมาะกับแต่ละประเภทของการรับน้ำหนัก สำหรับห้องครัวของเรา ลิ้นชักที่มีขนาดใหญ่จะใช้ฟิตติ้งรางสไลด์แบบมีฐานรองรับด้านล่าง (จำชื่อไม่ได้) ซึ่งคู่มือเคลมว่าสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 70 กิโลกรัม/ตัว ส่วนลิ้นชักขนาดเล็กจะเลือกใช้รางสไลด์แบบทั่วไปซึ่งมีราคาถูกกว่า (งกตลอด)
- หลังจากติดตั้งตัวลิ้นชักเสร็จ ขั้นตอนสุดท้ายก็เป็นการติดตั้งบานประตูเคาน์เตอร์ ในขั้นตอนนี้เราต้องการให้บานประตูลอยสูงจากพื้นประมาณ 1.5 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการขูดกับพื้นกระเบื้องตอนใช้งาน อีกเหตุผลก็คือ ตัวบานประตูมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ทำให้ตอนดึงลิ้นชักออกมาสุดจะเกิดการถ่วงน้ำหนักตรงปลาย เลยต้องเผื่อระยะตกไว้ และในขั้นตอนการติดตั้งเราจะใช้ไม้ยางพาราประสานรองพื้นก่อนทำการยึดนอตของตัวลิ้นชักและบานประตู ทำให้หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว บานประตูมีระนาบใกล้เคียงกันสวยงาม
และแล้วครัวของเราก็เสร็จสิ้นประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นงานเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การยิงซิลิโคนเพื่อปิดช่องว่างต่าง ๆ เพื่อกันน้ำกันซึม งานเก็บสี เก็บรอยขูดขีด ซึ่งก็ไม่มีรายละเอียดอะไรมาก ในที่สุดก็เสร็จแล้ว ครัวที่ใช้เวลาในการวางแผนและทำงานถึง 6 เดือน มาดูกันว่าผลของการดันทุรังจะออกมาเป็นแบบไหน ฟังก์ชั่นไหนน่าสนใจบ้าง ไปดูกัน
และแล้วครัวของเราก็เสร็จสิ้นประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นงานเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การยิงซิลิโคนเพื่อปิดช่องว่างต่าง ๆ เพื่อกันน้ำกันซึม งานเก็บสี เก็บรอยขูดขีด ซึ่งก็ไม่มีรายละเอียดอะไรมาก ในที่สุดก็เสร็จแล้ว ครัวที่ใช้เวลาในการวางแผนและทำงานถึง 6 เดือน มาดูกันว่าผลของการดันทุรังจะออกมาเป็นแบบไหน ฟังก์ชั่นไหนน่าสนใจบ้าง ไปดูกัน
อัพเดทค่าค่าลงทะเบียนสำหรับคอร์สนี้ (ค่าใช้จ่าย)
สุดท้ายแล้วต้องขอขอบคุณทุก ๆ ท่านที่สนใจ และพยายามอ่านกันจนจบ ภาษาจะเวิ่นเว้อเยอะ ต้องขออภัยจริง ๆ อะไรที่เจอแล้วรู้สึกว่าเป็นปัญหาก็อยากจะบอกไว้ก่อน เผื่อมีคนสนใจทำห้องครัวเองจะได้มีข้อมูลเอาไปปรับใช้ได้ สำหรับโปรเจกต์ต่อไปตั้งใจจะลุยห้องทำงานต่อเลย ตอนนี้เริ่มมาได้ 20 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเสร็จแล้วจะมาแชร์ให้ชมนะครับ ใครที่มีข้อแนะนำดี ๆ เชิญแนะนำและติชมได้เลย ทางเรายินดีรับฟังเพื่อนำมาปรับกับงานอื่น ๆ ของเราในอนาคตครับ ส่วนใครที่อยากพูดคุยหรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีอีกหนึ่งช่องทางที่แฟนเพจ หมีสร้างบ้าน ของเราครับ ตอนนี้เพิ่งเริ่มต้น ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างเท่าไรเลย ขอให้สนุกกับการแต่งบ้านครับ ขอบคุณครับ
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คุณ สมาชิกหมายเลข 4682278 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คุณ สมาชิกหมายเลข 4682278 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม