x close

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว สไตล์โคโลเนียลบ้านทุ่ง งบ 8.6 แสน พร้อมทริกการสร้าง

          แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว สไตล์โคโลเนียลบ้านทุ่ง 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ หน้าต่างบานเกล็ดทั้งหลัง มีระเบียง พร้อมประสบการณ์สร้างบ้าน แค่เห็นก็อยากไปอยู่ด้วยแล้ว
แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          ใครมีโครงการอยากสร้างบ้านแบบฝรั่งผสมความเป็นไทย หรือผสมสไตล์ของตัวเองหน่อย ๆ ไม่ว่าจะสร้างในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด ลองมาดูไอเดียสร้างบ้านแบบโคโลเนียล หรือ แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว ของ คุณสมาชิกหมายเลข 4390367 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม เป็นหลังคาทรงจั่ว แต่ได้ดัดแปลงให้ชายคาต่ำ และเปิดชายคาหน้าต่างห้องนอนกับห้องครัวเพื่อรับลมและแดด ตัวบ้านสีโทนอ่อนหรือสีพาสเทล หน้าต่างบานเกล็ดทั้งหลัง มาพร้อมระเบียง ใช้เวลาสร้างแค่ 6 เดือนกับงบประมาณ 8 แสนปลาย ๆ พร้อมเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่น่ารู้สำหรับคนอยากปลูกบ้านจ้า

บ้านจั่วโคโลเนียลบ้านทุ่ง@นครนายก

          สวัสดีขอรับ เริ่มกันเลยครับ หลังจากที่ได้ถมที่มาปีกว่าก็เริ่มวางแผนสร้างบ้าน สเปกที่ตั้งไว้คือบ้านจั่วสูงชั้นเดียว กว้าง 6 เมตร ยาว 10 เมตร 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ 1 ห้องครัว 1 ห้องโถง 1 ห้องเก็บของ 1 ระเบียง หน้าต่างบานเกล็ดทั้งหลัง ยกพื้นสูง 1 เมตร หลังคาลอนคู่ SCG เขียวประกายมุก ไม้ฝา SCG โคโลเนียลสีงาช้าง (บางส่วน)

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          หลังจากได้ฤกษ์ยกเสาก็เสาะหาผู้รับเหมา ผมจะใช้วิธีขับรถเวลาผ่านบ้านที่กำลังก่อสร้างก็จะแวะเข้าไปดูผลงาน ซึ่งแถวนี้ในรัศมี 2 กิโลเมตร มีถึง 3 เจ้า 1 ในนั้นห่างแค่ 200 เมตร แต่ยังไม่ได้คุย ไปคุยผู้รับเหมาเจ้าแรก (ซึ่งผมเคยแวะดูผลงานเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา) ก็เลยจบที่เจ้านี้แหละ เป็นผู้ใหญ่บ้านต่างหมู่ ห่างไป 2 กิโลเมตร เหมาทั้งค่าของกับค่าแรง (ยกเว้นกระเบื้องปูพื้น-ผนัง, สุขภัณฑ์ห้องน้ำ, โคมไฟ+หลอดไฟ, ฉนวนกันความร้อน, สี (เพิ่มสเปกจาก 4SS เป็น Super shield) เจ้าของซื้อเอง ทำสัญญาจ่ายเงินงวดแรกเสร็จก็เริ่มตีผัง

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - วันยกเสาเอกก็มาถึง ของที่ใช้จะไม่มีอาหารคาวที่ทำจากสิ่งมีชีวิตครับ อาจารย์บอกว่าวันมงคลเยี่ยงนี้ไม่ควรเบียดเบียนชีวิตผู้อื่นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และเทพพรหมต่าง ๆ ก็ไม่เสวยของคาว ยกเว้นเหล้าขาวซึ่งเปรียบเสมือนน้ำอมฤตของเทวดา (เป็นความเชื่อและความเห็นส่วนกลุ่มคนนะขอรับ ออเจ้า)

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - แผ่นยันต์ 12 แผ่นรองก้นหลุม 

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - เริ่มก่อสร้างกันไปเรื่อย ๆ บางวันเราก็ไม่ได้เข้ามาดู แต่จะคอยคุยคอยถามหัวหน้าช่างเกี่ยวกับขั้นตอนเป็นระยะ เช่น ระยะเวลาถอดแบบ, บ่มปูน อื่น ๆ ซึ่งก็ตรงกับที่เราหาข้อมูลมา ทำให้สบายใจไปได้ระดับหนึ่ง และนี่ก็เป็นการสร้างบ้านในแบบที่เราต้องการครั้งแรก ข้อมูลเลยยังไม่แน่นพอ เคยได้ยินมาว่าสร้างบ้านก็เหมือนเสี่ยงดวงกับผู้รับเหมา (แต่จะเหมือน คุกกี้เสี่ยงทายหรือเปล่าไม่แน่ใจ)

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - พี่โอเลี้ยง หัวหน้าช่างชุดแรก ๆ เดี๋ยวนี้อัปเป็นผู้รับเหมาไปรับงานเอง ไม่เบานะเนี่ย

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - พื้นเป็นแผ่นสำเร็จแล้วเทปูนทับ ยกเว้นครัวกับห้องน้ำที่ทำแบบเทปูน

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - ต้องบ่มซะหน่อย จะได้สุกไว ๆ

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - เจ้าบ้านเดินท่อน้ำยาฉีดปลวกเอง ใช้ท่อ PE 16 มม. ติดหัวมินิสปริงเกอร์ห่าง 80 ซม. วางกับพื้น พร้อมทดสอบด้วยน้ำประปา

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - โครงหลังคาเป็นเหล็กกล่องเชื่อมเต็ม (ตกลงรายละเอียดกับผู้รับเหมาก่อนทำสัญญา)

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

           - แปเป็นแปซีแพค (ซึ่งตอนท้าย ๆ จะบอกว่าเกิดอะไรขึ้นกับหลังคาจั่วลอนคู่ มุมหลังคาเกิน 40 องศาแล้วใช้แปซีแพค (หลังนี้ 45 องศา) ก็ให้ช่างมุงกันไปก่อน (สมมติว่ายังไม่มีอะไรเกิดขึ้นนะ)

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - ผนังรอบนอกก่อด้วยอิฐมวลเบา โครงเบาติดไม้ฝา ภายในเป็นอิฐมอญ ยกเว้นห้องน้ำเป็นอิฐมอญทุกด้าน

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - ผนังโครงเบาด้านในเป็นสมาร์ตบอร์ด SCG

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - ผนังห้องนอนด้านที่เจอแดดทิศตะวันออกก็บุฉนวนกันความร้อนหนา 3 นิ้ว Rt=27 เหมือนกับบนฝ้า

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - มีสุนัขพลัดถิ่นมาพักอาศัย นิสัยดีว่านอนสอนง่าย แล้วก็คลอดลูกมา 4 ตัว พอโตถึงรู้ว่าตัวละสายพันธุ์ ได้แก่ พูเดิล ไทย โกลเด้น และพิตบลู ผสมกลมกลืนกันไป ย่านนี้ทั้งนั้นเลย ช่างที่พักที่นี่ก็เลี้ยงดูปูเสื่ออย่างดี (อดมื้อ กิน 2 มื้อ)

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - เทปูนรอบบ้าน (แนะนำให้กว้าง 1.20 เมตรขึ้นไปครับ ถ้า 1 เมตรจะแคบไป) เป็นงานเหมาเพิ่ม หลังบ้านมียกพื้น 40 เซนติเมตรด้วย ผู้รับเหมาส่องกล้องจับระดับเองเลย

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - ข้ามขั้นตอนไปเยอะเลย มัวแต่ไปวิ่งซื้อของที่ห้างวัสดุแถวนครนายก  ธัญญะ รังสิต หินกองสระบุรี ไปมาครบหมดแล้ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - สีที่ใช้เป็น TOA Super Shield ภายนอก-กึ่งเงา, ภายใน-สีเนียน (อยู่ระหว่างด้าน-กึ่งเงา) เป็นการเพิ่มเกรดจาก 4Season (เราซื้อเอง แต่หักส่วนต่าง) ถึงตอนนี้ผู้รับเหมาส่ายหัว 2 ครั้ง พร้อมกับแซวเราว่า "เยอะ" อย่าเยอะ โถ ๆ แค่สีเกือบ 10 สี, กระเบื้อง+โมเสกอีก 14 ลาย มาว่าเราเยอะ แต่ก็จัดให้ด้วยดี

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - ใต้หลังคาใส่อิฐบล็อกช่องลม 2 ด้าน เข้า-ออก เพื่อการระบายความร้อนที่สะสมภายในหลังคา

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - งานสุขาภิบาล

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - พอดีมีฝนตกหนัก เลยขึ้นฝ้าไปเช็กหลังคากับช่าง พบมีรอยรั่วหลายจุด (สาเหตุจะขอไปกล่าวรวมตอนท้าย ๆ) ช่าง 2 พี่น้องชุดเก็บงานก็เลยจัดให้อย่างคล่องแคล่วว่องไว ยาซิลิโคนทุกหัวนอต รวมทั้งตรงครอบสันหลังคาด้วย (ปกติก็ใส่ครอบแห้งอยู่แล้ว แต่บางจุดเอาไม่อยู่) ถ้าให้เดาต้องเคยปีนเขาหรือไม่ก็เคยเก็บรังนกนางแอ่นมาแน่ (ล้อเล่น) แต่ก็คอยลุ้นอยู่ข้างล่าง

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - แล้วก็มีเหตุการณ์ผิดพลาดบางอย่างเกิดขึ้น "สีลอก" ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติครับที่งานทุกอย่างย่อมมีปัญหาอุปสรรคบ้าง ก็ต้องช่วยกันคิดแก้ไขกันไป สาเหตุน่าจะมาจากการทาสีรองพื้น ซึ่งผนังนอก-ในเป็นแบบสกิมโค้ท (ปูนฉาบตกแต่งผิวบาง) ชนิดปูนยิปซั่ม ถ้าเตรียมพื้นผิวไม่ดี ใช้สีรองพื้นผิดประเภท ทาไม่ทั่วถึง ทำผิดขั้นตอน สีก็จะลอกล่อนได้ แก้ไขโดยแซะสีออกหมด ทำความสะอาดพื้นผิว ทาสีรองพื้นปูนเก่าสูตรน้ำมันเกรดพรีเมียม แล้วทาสีจริงทับตามปกติ หลังจากแห้งแล้วทดสอบโดยใช้เทปใสแปะแล้วดึงออกแรง ๆ  ผ่านครับไม่มีสีลอกติดมา (สาเหตุที่ต้องลองเพราะอยากรู้เป็นประสบการณ์ครับ ทั้งปูนเก่าสูตรน้ำและสูตรน้ำมัน ลองหมดสำหรับผิวสกิมโค้ทชนิดยิปซั่ม ถ้าทำถูกตามขั้นตอนและวิธีการ จะไม่ลอกล่อนครับ)
แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - บ้านเสร็จแล้วครับ อาจจะเป็นโคโลเนียลที่ผสมผสานกันไปตามสไตล์ที่เราชอบ อะไรใหม่แปลก ชอบ ๆ ก็จับใส่เข้าไปครับ เวลาเราเข้าไปอยู่จริง เดินไปตรงนั้นก็โดน ตรงโน้นก็ดี ตรงนี้ก็ใช่ อยู่แล้วจะมีความสุขครับ

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - ตรงระเบียงข้างบันไดจะปล่อยโล่งไว้ก่อนครับ รอทำอ่างเลี้ยงปลาใหญ่ ๆ เวลายืนอยู่บนระเบียงแล้วมองลงมาจะเห็นลายสีบนหลังปลาอย่างสวยงามชัดเจน และปลาชนิดนี้ก็จะมีเฉพาะตัวผู้เท่านั้น ไม่มีตัวเมีย

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

        แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว

          - ครัวเล็กไปหน่อยครับ 2x2.7 เมตร พอยกตู้ใส่ของกับตู้เย็นเข้าไป แคบเลย แต่ก็เผื่อต่อเติมหลังบ้านทำครัวไทยไว้แล้วครับ ข้างบนก็จะเป็นครัวฝรั่งพวกมาม่า ปลากระป๋อง

          หลังคาแหว่ง ๆ เป็นสไตล์เราเองครับ บ้านจั่วสูงชายคาต่ำ ก็เลยต้องเปิดชายคาที่ตรงกับหน้าต่างห้องนอนกับห้องครัว เพื่อรับลมและแสงแดด และไว้ (แอบ) ส่องข้างบ้านด้วย ถ้าปิดหมดจะทึบและธรรมดาเกินไป และเชื่อว่าอีก 10-20 ปีข้างหน้า แบบบ้านจะแปลกแหวกแนวมากขึ้น เราก็เลยแปลกล่วงหน้าไว้ก่อนครับ วันข้างหน้าจะได้ไม่ตกเทรนด์

          สรุปค่าใช้จ่ายทั้งหมด+เทปูนรอบบ้าน+มุ้งลวดเหล็กดัดที่ติดภายหลัง = 8.6 แสน (ไม่ได้ตอกเสาเข็ม พื้นแถวนี้ค่อนข้างแข็ง) พื้นที่ใช้สอย ตัวบ้าน 60 ตร.ม.+ระเบียง 10 ตร.ม. รวม 70 ตร.ม. ใช้เวลาก่อสร้าง 6 เดือน 10 วันครับ

          ตบท้ายด้วยเกร็ดประสบการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ จากการสร้างบ้านหลังนี้ครับ

          หลังคาที่รั่วหลายจุดเนื่องจากมุมหลังคาที่แหลมมาก (หลังนี้ 45 องศา) พอยึดแผ่นหลังคาลอนคู่ที่มีน้ำหนักกับแปซีแพคซึ่งค่อนข้างบาง แผ่นหลังคาจะเลื่อนตกลงมาประมาณ 1 เซนติเมตร ทำให้นอตยึดกระเบื้องโย้เอียงเกิดช่องทำให้น้ำรั่วได้ (แก้ไขโดยใช้แปแบบเหล็กกัลวาไนซ์กล่อง แล้วยึดนอตกระเบื้องให้ทะลุแปทั้ง 2 ด้าน นอตก็จะไม่เอียง) ส่วนครอบสันหลังคาให้เลือกแบบปรับมุมได้ควบคู่กับการใช้ครอบแห้ง (Dry tech system) บังเอิญครอบสันแบบปรับมุมสีเขียวประกายมุกเลิกผลิตแล้ว และสเปกกระเบื้องแนะนำไว้ 15-40 องศา ก็เลยรั่วเลย (ตอนเด็ก ๆ เคยได้ยิน ไม่รู้ใครพูดว่า "กฎมีไว้ให้แหก" ก็เลยลองดูทั้งหลังคา หน้าต่าง ฯลฯ)

          ควรใส่เพลตหัวเสา หลังนี้ไม่ได้ใส่ (แผ่นเหล็กที่แปะไว้บนหัวเสาทุกต้นโดยยึดกับเหล็กเสริมเสาเพื่อรองรับยึดคานโครงหลังคา) เพราะหาข้อมูลมายังไม่พอ และเพื่อประหยัดงบ ทำให้การยึดเสากับคานหลังคาทำได้เพียงเชื่อมเหล็กเสาติดกับคานได้เพียง 2 เส้น (เสาเสริมเหล็ก 4 เส้น) อีก 2 เส้นที่เหลือทำได้แค่งอมาเชื่อมจิกคานไว้เฉย ๆ การยึดเกาะก็จะไม่เต็มที่ การรับน้ำหนักของหลังคาก็จะขาดหายไปบางส่วน และถ้ามีพายุลมแรง ๆ น่าเป็นห่วงหลังคาครับ

          ฝ้า ควรสูง 3 เมตรขึ้นไป แต่ไม่ควรต่ำกว่า 2.8 เมตร จะรู้สึกอึดอัด

          ผมใช้บานเกล็ดทั้งหลังเพราะเปิด-ปิดง่าย เปิดหรี่ทั้งวัน-คืนได้ ไม่ต้องฝ่าด่านผ้าม่าน มุ้งลวด เหล็กดัด (ตัวหมุนถ้าเปิดเช้า-ปิดเย็นทุกวัน จะมีอายุประมาณ 10 ปี ตัวละ 40-50 บาท)
ทิศรับลม ทิศใต้ประมาณ 8 เดือน แต่ต้องแลกกับมุมแดดส่องถึง 45 องศาเลยทีเดียวเชียว (อันนี่วัดมาเองเลย กับมือ)


          ทิศเหนือก็ประมาณ 4 เดือน มุมแดดส่องประมาณ 75 องศาจากพื้นราบ

          พื้นห้องน้ำ, ครัว ควรต่ำกว่าพื้นบ้านสัก 10 เซนติเมตรเผื่อท่อน้ำแตกตอนไม่มีคนอยู่จะได้ไม่ท่วมพื้นบ้าน (อันนี่ก็เคยเจอมาเอง)

          สี ถ้าเป็น TOA กรณีสีผสม เวลาเลือกจากแผ่นแถบสี ต้องเลือกให้อ่อนลงจากโทนที่ชอบ 1 เบอร์ (ต้องเพิ่มเบอร์ขึ้น 1 เบอร์โทนจะอ่อนลง) ถ้าไปที่ร้านต้องถามเซลส์ก่อน

          ให้ความสำคัญกับสีรองพื้นด้วย ควรเป็นเกรดเดียวกันหรือดีกว่าสีทับหน้าเพื่อการยึดเกาะที่ดี และสีรองพื้นปูนใหม่ใช้กับปูนฉาบใหม่ในช่วง 30-90 วัน (ยกเว้นเลือกแบบเร่งด่วน ฉาบเสร็จ 2 วันก็ทาได้) สีรองพื้นปูนเก่า ใช้กับสีเก่าที่ทามานาน ลอกล่อน, ปูนฉาบตกแต่งผิวบางชนิดยิปซั่ม (สกิมโค้ท), แผ่นสมาร์ตบอร์ด, แผ่นยิปซั่ม ถ้าเป็นสูตรน้ำมัน จะดีกว่าสูตรน้ำ แต่กลิ่นจะแรงกว่า (จะเหม็นสำหรับคนทา ทิ้งไว้ 2-3 วัน หรือทาสีทับหน้า กลิ่นก็จะหายไป)

          ควรยกพื้นบ้านสัก 70-100 เซนติเมตร (ไม่ต้องถมใต้ถุน) เผื่อมีการซ่อมแซมท่อน้ำหรือติดเพิ่มเติม และป้องกันสัตว์เลื้อยคลานมีพิษต่าง ๆ เข้าบ้าน (เคยอยู่บ้านติดพื้น ตะขาบ จิ้งเหลน เข้าบ้านประจำ เคยโดนตะขาบกัดบนที่นอน 2 ครั้ง)

          ท่อน้ำทิ้งพื้นห้องน้ำ, ห้องครัว ควรใส่ P-Tape เพื่อป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงต่าง ๆ เข้าบ้าน โดยใส่ชิดใต้พื้น ถ้ามีสิ่งอุดตันก็ใช้น้ำฉีดไล่ออกได้

          ถ้าติดโคมไฟที่ใช้รีโมต เช่น โคมถาด ถ้าไม่มีคนอยู่บ้านให้ปิดที่สวิตซ์ ถ้าปิดด้วยรีโมต เวลามีไฟดับหรือกะพริบ หลอดจะติดเอง (เปลืองไฟ)


          ควรติดตะแกรงกันงู, สัตว์อื่น ๆ ที่ปลายท่อส้วม, ท่อน้ำทิ้ง (ใช้ตะแกรงสเตนเลส ถ้าเป็นพลาสติกหนูกัดขาดหมด) โดยติดที่ปลายท่อลงบ่อพักน้ำทิ้ง โดยเฉพาะงูเหลือม จากการพูดคุยกัน (คุยกับผู้รู้นะ ไม่ได้คุยกะงูเหลือม) ว่ามันสามารถดำน้ำได้ลึกและจะชอนไปตามท่อผ่านถัง SAT มุดขึ้นไปโผล่ชักโครกงับหนอนชาเขียวเราได้

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คุณสมาชิกหมายเลข 4390367 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
แบบบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่ว สไตล์โคโลเนียลบ้านทุ่ง งบ 8.6 แสน พร้อมทริกการสร้าง อัปเดตล่าสุด 16 สิงหาคม 2561 เวลา 17:43:22 79,492 อ่าน
TOP