รีวิวทำเคาน์เตอร์ครัวปูนขนาด 2.5x1.5 เมตร ด้วยตัวเองในราคาประหยัด ถึงแม้จะเป็นการทำครัวเองครั้งแรก แต่ก็เสร็จสวยงาม น่าภูมิใจไม่เบา
เพราะต้องการเคาน์เตอร์ครัวที่แข็งแรงและทนทาน คุณ Inzentre สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม จึงต้องเซย์โนให้กับครัวบิวล์อิน แล้วหันมาตั้งใจสร้างครัวปูนแทน ทว่าหลังจากที่ตามหาช่างทำครัวกันอยู่สักพักใหญ่ เกือบทุกรายคิดราคาเคาน์เตอร์เปล่าขนาด 2.5x1.5 เมตร เริ่มต้นที่ 18,000 บาท กันทั้งนั้น
ซึ่งราคานี้ถือว่าแรงเกินไปสำหรับเขามาก เพราะว่าเขามีงบประมาณอยู่เพียงแค่น้อยนิด ก็เลยต้องร้องเพลงรอต่อไป แต่ไม่นานมากนัก เขาก็ได้เจอกับรีวิวก่อเคาน์เตอร์มวลเบาสำเร็จรูป ที่กลายมาเป็นแรงบันดาลใจและเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาลงมือทำครัวปูนเองครั้งนี้ เอาเป็นว่าเรื่องราวของเขาจะเป็นอย่างไร ห้องครัวของเขาจะสวยงามแค่ไหน ตามไปอ่านกันได้เลยค่ะ
รีวิวการทำครัวปูนสำเร็จรูปด้วยตัวเอง
เรื่องมีอยู่ว่า
แฟนอยากได้ครัวที่แข็งแรง ทนทาน ไม่ชอบแบบบิวต์อิน ก็เลยสรุปว่าจะทำครัวปูน
จึงได้สอบถามราคากับช่างต่าง ๆ แต่เมื่อเจอราคาก็ถึงกับช็อก ราคาค่าแรงกับเคาน์เตอร์เปล่า ขนาด 2.5x1.5 เมตร คิดประมาณ 18,000 บาท
(แอบคิดในใจสมัยก่อนราคาไม่ถึงครึ่งเลย) ราคาแรงไป งบยังไม่ถึง
ก็เลยต้องพับโครงการไปก่อน
จนได้มาเห็นรีวิวก่อเคาน์เตอร์มวลเบาสำเร็จรูปของตราเพชร นั่งศึกษาอยู่พอสมควร เลยคิดในใจ "เออ เราก็น่าจะทำได้นี่หว่า ไม่น่ายาก" ก็เลยตัดสินใจไปสั่งเคาน์เตอร์ที่ไทวัสดุ (ต้องสั่งที่แผนกโครงสร้างนะครับ แผนกครัวไปบอก แล้วเขาจะเอ๋อ ๆ หน่อย 555) โดยชิ้นส่วนที่สั่งมีดังนี้ครับ
1. Top Sink 150 เซนติเมตร จำนวน 1 ชิ้น
2. Top Gar 90 เซนติเมตร จำนวน 1 ชิ้น
3. Top Counter 150 เซนติเมตร จำนวน 1 ชิ้น
4. Floor Sink 141 เซนติเมตร จำนวน 1 ชิ้น
5. Floor Counter 82 เซนติเมตร 1 ชิ้น
จนได้มาเห็นรีวิวก่อเคาน์เตอร์มวลเบาสำเร็จรูปของตราเพชร นั่งศึกษาอยู่พอสมควร เลยคิดในใจ "เออ เราก็น่าจะทำได้นี่หว่า ไม่น่ายาก" ก็เลยตัดสินใจไปสั่งเคาน์เตอร์ที่ไทวัสดุ (ต้องสั่งที่แผนกโครงสร้างนะครับ แผนกครัวไปบอก แล้วเขาจะเอ๋อ ๆ หน่อย 555) โดยชิ้นส่วนที่สั่งมีดังนี้ครับ
1. Top Sink 150 เซนติเมตร จำนวน 1 ชิ้น
2. Top Gar 90 เซนติเมตร จำนวน 1 ชิ้น
3. Top Counter 150 เซนติเมตร จำนวน 1 ชิ้น
4. Floor Sink 141 เซนติเมตร จำนวน 1 ชิ้น
5. Floor Counter 82 เซนติเมตร 1 ชิ้น
6. Column High 75.5 เซนติเมตร จำนวน 5 ชิ้น
ราคาของบวกค่าส่ง 200 บาท รวมแล้วอยู่ที่ประมาณเกือบ 6,000 บาทครับ แต่ว่าต้องรอของ 15 วัน โดยประมาณนะครับ
- และแล้วของก็มาถึง
- นั่งเล็งอยู่นาน ลองยกดู
หนักกว่าที่คิดแฮะ โดยขั้นแรกที่ทำคือ เจาะรูซิงค์และเตาแก๊ส
อุปกรณ์ที่ใช้ก็เท่าที่มี ได้แก่ เครื่องตัดกระเบื้อง เลื่อยลันดา
และที่ขาดไม่ได้ก็คือสว่านครับ (จริง ๆ
ตัดมวลเบาควรใช้เลื่อยวงเดือนมากกว่า แต่ว่าเครื่องตัดยืมเขามาอีกที
ประหยัดงบ แหะ ๆ)
- อุปกรณ์พร้อมก็เจาะ เจาะ แล้วก็เจาะ
ซึ่งขั้นตอนที่ผมทำคือ กำหนดขนาดที่จะเจาะ
แล้วใช้เครื่องเจียตัดเซาะร่องนำแนวก่อน จากนั้นก็เอาสว่านค่อย ๆ
เจาะไล่มาเรื่อย ๆ จนเลื่อยลันดาเข้าไปทำงานได้
ทีนี้ก็ตัดด้วยเลื่อยลันดาเลยครับ
ป.ล. เจาะช่องเตาแก๊สน่าจะต้องโดนเหล็กเสริมในแผ่นพื้นครับ เพราะขนาดเตามันยาวกว่าช่องที่เขาเตรียมไว้ให้เจาะครับ
ป.ล. เจาะช่องเตาแก๊สน่าจะต้องโดนเหล็กเสริมในแผ่นพื้นครับ เพราะขนาดเตามันยาวกว่าช่องที่เขาเตรียมไว้ให้เจาะครับ
-
ระหว่างที่เจาะช่องต่าง ๆ ก็โยกมาทำอีกงาน คือ งานก่อเคาน์เตอร์ครับ
ผมเลือกใช้ปูนกาวในการก่อไปเลย ก่อง่าย ติดเลยครับ
โดยขั้นตอนก็ใช้เกรียงหวีแปรงตรงที่เราต้องการจะก่อ จากนั้นก็วางอิฐลงไป
แล้วใช้ค้อนเคาะให้เข้ากันสนิทอีกที
อย่าลืมเอาระดับน้ำมาเช็กระดับด้วยนะครับ
- พอเจาะช่องเสร็จแล้ว
ก็นำมาประกอบเป็นท็อปเคาน์เตอร์เลย ลองเอาซิงค์และเตามาสวมดูหน่อย
ก็จะได้หน้าตาประมาณนี้ครับ พอก่อเสร็จก็หมดไปหนึ่งวันพอดีเลย
แอบยากกว่าที่คิดแฮะ
- หลังจากก่อเสร็จแล้วเว้นมาเป็นอาทิตย์ (ทำเฉพาะวันหยุดครับ) ก็มาถึงขั้นตอนปูกระเบื้อง เป็นขั้นตอนที่หนักใจสุด เพราะต้องตัดกระเบื้องให้เข้าร่อง ซึ่งยากมาก เพราะมันอันตรายและมีโอกาสกระเบื้องแตกได้ ผมเลยเลือกใช้ท็อปเป็นกระเบื้อง 60x60 เซนติเมตร ครับ เหตุผลเพราะว่ากลัวกระเบื้องแผ่นใหญ่แพง ๆ จะแตกเอา เลยเซฟเงินตัวเองดีกว่า
ส่วนเวลาตัดก็ใช้ลูกหมูตัดกระเบื้องครับ บอกเลยถ้าไม่มั่นใจ อย่าลองครับ อันตรายจริง ๆ และควรมีอุปกรณ์เซฟตี้ที่พร้อมนะครับ ส่วนวิธีการก่อก็ให้ใช้ปูนกาว เกรียงหวี ค้อน ระดับน้ำธรรมดาครับ รูปร่างก็จะประมาณนี้ครับ
ส่วนเวลาตัดก็ใช้ลูกหมูตัดกระเบื้องครับ บอกเลยถ้าไม่มั่นใจ อย่าลองครับ อันตรายจริง ๆ และควรมีอุปกรณ์เซฟตี้ที่พร้อมนะครับ ส่วนวิธีการก่อก็ให้ใช้ปูนกาว เกรียงหวี ค้อน ระดับน้ำธรรมดาครับ รูปร่างก็จะประมาณนี้ครับ
- พอเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ก็หาบานตู้ใต้เคาน์เตอร์ซิงค์มาปิด อันนี้จากโฮมโปร สั่งแล้วต้องรอเหมือนกันครับ ลองเอามาติดดูว่าต้องก่ออิฐด้านข้างอีกเท่าไหร่
- ติดบานตู้เสร็จแล้วก็เอาเศษมวลเบาที่ตัดมาก่อปิดส่วนที่เหลือช่องว่างของบานตู้ครับ หน้าตาก็จะดีขึ้นมาหน่อย ระหว่างนั้นก็ทาสีผนังไปด้วยเลย คนทำครัวชอบสไตล์มืด ๆ ก็จัดให้ครับ สีเทา-ดำทั้งห้อง แล้วพอทาเสร็จ ที่ดูดควันก็มาติดให้พอดี (ใช้บริการของโฮมโปร โดยรวมถือว่าโอเค แต่ราคาแอบแพงไปหน่อย)
- จากนั้นก็ทำการติดกระเบื้องด้านหน้าและด้านข้างทั้งหลายครับ ส่วนนี้ผมก็หนักใจมากเหมึอนกัน เพราะว่ามันตัดยากและปูยากมากเพื่อจะให้มันสวย ต้องอาศัยคนที่มีฝีมือจริง ๆ งานถึงจะออกมาเนี้ยบ ซึ่งผมไม่มีเลย ปูเสร็จหน้าตาก็จะแปลก ๆ หน่อย (ลายอิฐมอญ ผมเป็นคนอยากได้เอง ไม่อยากให้ดำไป ณ ตอนนี้แฟนก็บ่นว่าไม่สวย ผมก็ได้แต่นั่งมองตาปริบ ๆ ก็ชอบนี่นา) หลังจากนั้นก็ไปซื้อที่คว่ำจานมาติดอีกนิดเพื่อให้ดูมีอะไรพอวางได้ เวลาล้างจานเสร็จ
- ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการเก็บงานยาแนว ขั้นตอนนี้ผมสบายละ ป้าย ๆ ปาด ๆ เช็ด ๆ แป๊บ ๆ ก็เสร็จครับ และแล้วครัวของผมก็ออกมาหน้าตาแบบนี้ครับ
ค่าใช้จ่ายที่ก่อเคาน์เตอร์ทั้งหมดมีดังนี้ครับ
1. ค่าเคาน์เตอร์ 5,900 บาท
2. ค่าลูกหมู+ใบตัด ประมาณ 1,300 (ซื้อเพิ่มทีหลัง เนื่องจากยืมหลายวัน เกรงใจเขาครับ)
3. ค่ากระเบื้องประมาณ 2,000 บาท
4. ค่าเลื่อยลันดา 199 บาท
5. ค่าปูนกาวประมาณ 500 บาท
6. ค่าอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ประมาณ 500 บาท
7. ค่าบานตู้ 2,590 บาท
พวกสว่าน ตลับเมตร ระดับน้ำ ผมมีอยู่แล้วครับ พอรวมเลขกลม ๆ ทั้งหมดก็ประมาณ 18,000 ครับ ราคานี้เท่ากับค่าแรงช่างเลย 555 แต่ถึงอย่างไรผมก็เข้าใจช่างครับว่างานแบบนี้ต้องอาศัยฝีมือและความอดทนจริง ๆ กว่าจะเสร็จแต่ละงาน ผมก็ล่อไป 2 เดือนได้ (ทำเฉพาะวันหยุด เสาร์-อาทิตย์)
ราคาซิงค์ 3,000 ฮู้ทกับเตา 9,900 เบ็ดเสร็จครัวนี้หมดไปประมาณ 30,000 ครับ ถือว่าประหยัดงบได้ดีเลยทีเดียว
สุดท้ายนี้ รีวิวนี้ผมตั้งใจเสนอเป็นแนวทางสำหรับการทำครัวเองครับ จะบอกว่าเหนื่อยแต่ก็สนุก อาจจะมีหลาย ๆ ท่านทำได้ดีกว่าผม แต่ตอนนี้ผมก็ภูมิใจแล้วว่าอย่างน้อย ๆ มันก็สามารถใช้งานได้ครับ ยังไงก็แนะนำติชมได้เลยครับ ความรู้เรื่องช่างผมไม่ค่อยมีเท่าไร พร้อมรับฟังทุกความเห็นครับ ^^
ป.ล. ขออภัยด้วยครับ ผมหมุนรูปไม่เป็น บางรูปเบี้ยวและไม่ชัดเพราะถ่ายแบบพาโนรามาครับ ^^
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คุณ Inzentre สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม
1. ค่าเคาน์เตอร์ 5,900 บาท
2. ค่าลูกหมู+ใบตัด ประมาณ 1,300 (ซื้อเพิ่มทีหลัง เนื่องจากยืมหลายวัน เกรงใจเขาครับ)
3. ค่ากระเบื้องประมาณ 2,000 บาท
4. ค่าเลื่อยลันดา 199 บาท
5. ค่าปูนกาวประมาณ 500 บาท
6. ค่าอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ประมาณ 500 บาท
7. ค่าบานตู้ 2,590 บาท
พวกสว่าน ตลับเมตร ระดับน้ำ ผมมีอยู่แล้วครับ พอรวมเลขกลม ๆ ทั้งหมดก็ประมาณ 18,000 ครับ ราคานี้เท่ากับค่าแรงช่างเลย 555 แต่ถึงอย่างไรผมก็เข้าใจช่างครับว่างานแบบนี้ต้องอาศัยฝีมือและความอดทนจริง ๆ กว่าจะเสร็จแต่ละงาน ผมก็ล่อไป 2 เดือนได้ (ทำเฉพาะวันหยุด เสาร์-อาทิตย์)
ราคาซิงค์ 3,000 ฮู้ทกับเตา 9,900 เบ็ดเสร็จครัวนี้หมดไปประมาณ 30,000 ครับ ถือว่าประหยัดงบได้ดีเลยทีเดียว
สุดท้ายนี้ รีวิวนี้ผมตั้งใจเสนอเป็นแนวทางสำหรับการทำครัวเองครับ จะบอกว่าเหนื่อยแต่ก็สนุก อาจจะมีหลาย ๆ ท่านทำได้ดีกว่าผม แต่ตอนนี้ผมก็ภูมิใจแล้วว่าอย่างน้อย ๆ มันก็สามารถใช้งานได้ครับ ยังไงก็แนะนำติชมได้เลยครับ ความรู้เรื่องช่างผมไม่ค่อยมีเท่าไร พร้อมรับฟังทุกความเห็นครับ ^^
ป.ล. ขออภัยด้วยครับ ผมหมุนรูปไม่เป็น บางรูปเบี้ยวและไม่ชัดเพราะถ่ายแบบพาโนรามาครับ ^^
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คุณ Inzentre สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม