พาชมบ้านสองชั้นสไตล์โมเดิร์น 3 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ พร้อมคอร์ทต้นไม้กลางบ้าน และการตกแต่งภายในสุดเก๋ ของสถาปนิกที่สร้างบ้านให้ตัวเองเป็นหลังแรก !
เมื่อเพื่อนบ้านประกาศขายที่ดินแปลงติดกัน คุณ stargooseberrykennel สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ก็ไม่รอช้า รีบซื้อมาครอบครองไว้อย่างไว เพราะเป็นพื้นที่ทำเลทองติดรถไฟฟ้า แถมยังอยู่ใกล้กับบ้านหลังเดิมมาก เพิ่มเติมคือเขาเป็นสถาปนิก หวังจะปลูกไว้ขายได้กำไรเหนาะ ๆ ทว่าไป ๆ มา ๆ กลับเสียดาย ขอเปลี่ยนใจสร้างบ้านให้ตัวเองซะอย่างนั้น เอาล่ะสิ เป็นถึงสถาปนิกทั้งที จะให้สร้างบ้านหน้าตาธรรมดาทั่วไปก็ยังไง ๆ อยู่ ว่าแล้วก็ไม่รอช้า ขอจัดหนัก จัดเต็ม จนออกมาเป็นบ้านสุดเจ๋งหลังนี้เลยแล้วกัน !
เมื่อสถาปนิกต้องปลูกบ้านหลังแรกให้ตัวเอง
โดย คุณ stargooseberrykennel สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม
Chapter 1 บริบทที่ดินและที่มาที่ไป
การเริ่มต้นจะมีบ้านเป็นของตนเองในฐานะสถาปนิกนั้น
กว่าจะได้เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง อายุก็ปาเข้าไปหลักสี่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จะว่าเริ่มจากปลูกบ้านให้ตัวเองก็ไม่เชิงนัก
เพราะแรกเริ่มเดิมทีกะว่าจะทำไว้ขาย แต่ไป ๆ มา ๆ ชักเริ่มเสียดาย
เลยล้มแผนการแล้วเปลี่ยนมาเป็นบ้านหลังแรกของตัวเองซะอย่างนั้น
โดยเดิมทีที่ดินตรงนี้เป็นของเพื่อนบ้าน
ซึ่งเราเองตั้งแต่เกิดก็โตมากับบ้านเก่าที่ติดกันกับที่ดินแปลงนี้
จนวันหนึ่งเจ้าของบอกขายเพราะไม่มีคนมาอยู่ ทางครอบครัวเลยซื้อไว้
ประกอบกับรถไฟฟ้ากำลังจะมาพอดี แอบเห็นข่าวว่าจะเปิดให้บริการก่อนสิ้นปี
2561 นี้ ส่วนลักษณะที่ดินเป็นทรงแคบและลึก
จึงค่อนข้างมีข้อจำกัดในการออกแบบอยู่พอสมควร
แต่ทางเลือกที่เอามาใช้แก้ปัญหา คือ
หาทางเอาวิวที่เป็นส่วนตัวและสามารถใช้ประโยชน์จากวิวนี้ให้ได้มากที่สุด
Chapter 2 อยู่อย่างไทยไม่มีเชย
Chapter 2 อยู่อย่างไทยไม่มีเชย
- การทำคอร์ทตรงกลางเพื่อเพิ่มพื้นที่ส่วนที่ติดอากาศและสร้างมุมมองส่วนตัวให้กับห้องต่าง ๆ
สิ่งหนึ่งที่ผมชอบทำอยู่เสมอ ๆ ในการออกแบบ คือ การนำเอาภูมิปัญญาของไทยมาใช้ในการออกแบบ เมื่อมาถึงบ้านตัวเองก็ต้องไม่ลืมเอามาใช้ ลักษณะที่ว่าดังกล่าว คือ ในการเข้าถึง space ต่าง ๆ ของไทยมักจะมีส่วนที่เรียกว่า Transition Space ลองนึกภาพดูว่าเรือนไทยในสมัยก่อน จะมีชานบ้านเป็นตัวเชื่อมก่อนเดินไปในส่วนพื้นที่ใช้สอยอื่น ๆ ของบ้าน เช่น เมื่อคุณจะเดินไปครัว คุณต้องออกจากเรือนนอนมาเดินผ่านชานบ้าน แล้วจึงไปครัว เราก็เอาตรงนี้มาใช้
Chapter 3 ผสานความต้องการกับ Lifestyle
สิ่งหนึ่งที่ผมชอบทำอยู่เสมอ ๆ ในการออกแบบ คือ การนำเอาภูมิปัญญาของไทยมาใช้ในการออกแบบ เมื่อมาถึงบ้านตัวเองก็ต้องไม่ลืมเอามาใช้ ลักษณะที่ว่าดังกล่าว คือ ในการเข้าถึง space ต่าง ๆ ของไทยมักจะมีส่วนที่เรียกว่า Transition Space ลองนึกภาพดูว่าเรือนไทยในสมัยก่อน จะมีชานบ้านเป็นตัวเชื่อมก่อนเดินไปในส่วนพื้นที่ใช้สอยอื่น ๆ ของบ้าน เช่น เมื่อคุณจะเดินไปครัว คุณต้องออกจากเรือนนอนมาเดินผ่านชานบ้าน แล้วจึงไปครัว เราก็เอาตรงนี้มาใช้
Chapter 3 ผสานความต้องการกับ Lifestyle
อย่างที่กล่าวมา
บ้านหลังนี้เป็นบ้านหลังแรกและเป็นบ้านในอนาคตของลูก ๆ ด้วย
เพราะคงไม่ได้สร้างบ้านกันบ่อย ๆ อันดับแรกบ้านนี้จึงประกอบไปด้วย
ชั้น 1
- Living Room 1 ห้อง
- Kitchen and Dining 1 ห้อง
- Restroom 1 ห้อง
ชั้น 2
- ห้องนอน 3 ห้อง
- ห้องน้ำ 3 ห้อง
- Living Room 1 ห้อง
- Kitchen and Dining 1 ห้อง
- Restroom 1 ห้อง
ชั้น 2
- ห้องนอน 3 ห้อง
- ห้องน้ำ 3 ห้อง
เนื่องจากมีลูกเล็ก 2 คน
จึงเตรียมห้องนอนเผื่อไว้ให้ลูกทั้งสองในอนาคต ส่วนพื้นที่อื่น ๆ คือ
ส่วนที่ใช้ร่วมกัน และสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ต้นไม้กลางบ้าน
เป็นสิ่งแรกที่เขียนลงไปในแปลนบ้านก่อนที่จะกำหนดห้องอื่น ๆ เสียอีก
ในแปลนสังเกตได้ว่า ครัวจะอยู่ด้านหน้า ห้องรับแขกอยู่ด้านหลัง
เพราะต้องการความเป็นส่วนตัว แต่จริง ๆ
แล้วเราออกแบบพื้นที่ให้สามารถเชื่อมต่อกันได้
โดยมีสวนกลางบ้านเป็นตัวเชื่อม
Chapter 4 การย่อย mass และรูปแบบ pattern
Chapter 4 การย่อย mass และรูปแบบ pattern
การออกแบบบ้านหลังนี้เหมือนเป็นการทดลองนำเอาไอเดียหลาย ๆ อย่างมาลอง
การสะท้อนเอกลักษณ์ของบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญที่อยากให้บ้านมันมี Pattern
อะไรบางอย่างที่ไม่เหมือนใคร
เริ่มจากรูปทรงที่ดินที่ยาวเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เราก็จัดการเอา Mass
ตรงกลางออกเกิดเป็น Courtyard กลางบ้าน Mass
ส่วนตรงกลางที่ยกออกมาส่วนหนึ่งเอามาทำเป็น Volume หลังคาจั่วด้านหน้า
แล้วส่วนที่เหลือก็เอามาย่อยเป็นสัดส่วนเล็ก ๆ แล้วทำเป็น Skin Facade
อาคาร
Chapter 5 เริ่มก่อสร้าง
Chapter 5 เริ่มก่อสร้าง
- งานเข็มเจาะเสร็จเรียบร้อย
- เริ่มผูกคานคอดิน
- งานคานคอดินชั้น 1
-
ผนังตรงโถงบันไดใช้การเทคอนกรีตเปลือยโชว์พื้นผิว
โดยเราฝังไฟรอเอาไว้ก่อนเทคอนกรีตเลย บอกช่างไปว่าแกะแบบยังไงเอาแบบนั้นเลย
ไม่ต้องฉาบแต่งใด ๆ ทั้งสิ้น เอาเท่าที่ทำได้ให้ดีที่สุด
ไว้เดี๋ยวมาดูผลลัพธ์ครับ
- เริ่มงานพื้นชั้น 2 ก่อนก่อผนังเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง
- ผนังคอนกรีต Wall ครึ่งแรก
แกะแบบออกมาเป็นที่น่าพอใจใช้ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่เพอร์เฟกต์
แต่ก็ถือว่ายอมรับได้ในระดับหนึ่งทีเดียวสำหรับช่างที่ไม่เคยทำ
- เมื่อคอนกรีต Wall
ผสานกับโครงสร้างบันไดที่ใช้ในการเข้าแบบให้หยักตามโครงสร้าง ซึ่งเป็น
Pattern ที่กำหนดไว้ตั้งแต่การออกแบบ
- จุดยากอีกอย่างคือ
รูปทรงจั่วที่เราอยากให้มันออกมาเป็น Pure Form เรียบ ๆ นิ่ง ๆ
ไม่อยากได้หลังคาที่มีลอน ๆ เราจึงใช้วิธีการหล่อคอนกรีตหลังคา ซึ่ง Detail
ค่อนข้างยากนิดนึง แต่ช่างก็ยินดีทำให้
- หลังจากถอดแบบออกมาก็เริ่มเห็น Form เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ก่อนถึงงานฉาบปูน
- งานฉาบเริ่มมา บ้านดูเหมือนเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
- แล้วสิ่งที่รอคอยก็มาถึง
อย่างที่บอกแต่แรกว่าสิ่งแรกที่เขียนลงไปในแบบบ้านคือ ต้นไม้ใหญ่
ซึ่งจะช่วยให้บรรยากาศของบ้านดีขึ้นอย่างมาก
แต่การเอาเข้ามาก็ยากลำบากพอสมควรเลยทีเดียว แต่ก็คุ้มค่ากับการรอคอย
- ส่วนท้าย ๆ ของการก่อสร้างคือการทำ Skin อาคาร อย่างที่กล่าวไปเราพยายามหาเอกลักษณ์ เล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับบ้านหลังนี้ รูปแบบต่าง ๆ ที่ได้เห็น พยายามที่จะให้มันสอดประสานเป็นเรื่องราวเดียวกันทั้งภายนอกและภายใน
- แล้วสุดท้ายบ้านก็เสร็จ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี นิด ๆ นับจากวันตอกเข็ม
- คอร์ทตรงกลางบ้านช่วยเปิดมุมมองให้ห้องครัวและ Living Room ได้วิวที่เป็นส่วนตัว แถมสวนกลางบ้านยังสามารถเชื่อมส่วนทั้งสองนี้ไว้ด้วย
- Interior ภายในบ้านบางส่วนครับ
- เพิ่มการออกแบบแสงไฟเข้าไปในอาคารเพื่อที่ยามค่ำคืนจะได้ไม่มืด
สุดท้ายหวังว่าการรีวิวนี้คงจะมีประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับผู้ที่กำลังหรือมีแผนจะสร้างบ้านในอนาคตอันใกล้นี้ ขอบพระคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมกระทู้ด้วยครับ
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คุณ stargooseberrykennel สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คุณ stargooseberrykennel สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม