สร้างบ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ งบไม่เกิน 2 ล้าน สวยเท่เก๋ไก๋เว่อร์ !

          ประสบการณ์สร้างบ้านโครงเหล็กสองชั้น 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ พร้อมโฮมออฟฟิศในตัว งานนี้ออกแบบเอง คุมงานเอง แต่ได้บ้านสวยเท่ น่าอยู่ จนต้องมองเหลียวหลังเลย

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          เมื่ออยากได้บ้านที่เป็นทั้งที่ทำงานและที่อยู่อาศัยในตัว นักออกแบบบ้านอย่าง คุณ สมาชิกหมายเลข 5557995 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ก็เลยไม่รอช้า ลุกขึ้นออกแบบบ้านในฝันของตัวเองให้ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด แล้วเริ่มลงมือก่อสร้างและคุมงานเองทันที ที่สำคัญเขาเลือกใช้โครงสร้างเหล็กหมดทั้งหลัง เพราะต้องการกลิ่นอายความเข้ม ดิบ เท่ ทว่าก็แข็งแรงและทนทานไปในตัว ฮั่นแน่ มาถึงตอนนี้ทุกคนคงอยากจะรู้กันแล้วล่ะสิว่าเขาทำได้อย่างไร ทำอะไรไปบ้าง เสร็จแล้วดีงามมากน้อยแค่ไหน ถ้างั้นอย่ามัวรอช้า ตามมาดูกันได้เลยค่ะ

บ้านเหล็กของนักออกแบบบ้านบ้าน 

          "Plain Plain Designer\'s Steel House" บ้านหลังนี้ถูกสร้างขึ้นในจังหวะและโอกาสที่เหมาะสม มีจุดประสงค์หลัก 2 อย่าง คือ เป็นทั้งที่ทำงานและที่อยู่อาศัย โดยชั้นล่างตั้งใจให้เป็นโฮมออฟฟิศ ส่วนชั้นบนตั้งใจให้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งบ้านจะออกแบบให้มีความเรียบง่าย และคำนึงถึงการใช้งานของผู้อยู่เป็นหลัก มีการลดทอนส่วนที่ไม่จำเป็นและไม่ต้องการออก ลึก ๆ ก็อยากให้ทุกท่านอ่านกระทู้ไปด้วยใจที่เปิดกว้าง เหมือนที่ผมเปิดและเตรียมใจพร้อมรับทั้งส่วนดีและด้อยจากการสร้างบ้านด้วยเหล็กหลังนี้ด้วยความเต็มใจยิ่ง

          "บ้านเหล็กสีดำ" ก่อนที่ผมจะตัดสินใจเลือกสร้างบ้านเหล็ก ผมตั้งคำถามขึ้นมาหนึ่งคำถาม คือ ถ้าเราทำบ้านเหล็กด้วยความใส่ใจและพยายามให้ได้ผลลัพท์ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ แล้วบ้านหลังนี้ถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ไม่ต่างจากบ้านที่สร้างอย่างดีด้วยปูนหรือไม้ มันจะดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ปลอดภัยไปได้สักกี่ปี ก่อนที่เราจะตัดสินใจสร้างบ้านหลังใหม่ ? ดังนั้นบ้านเหล็กหลังน้อยหลังนี้จึงถูกสร้างขึ้นอย่างตั้งใจ เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการดำเนินชีวิต ทั้งชีวิตการงานและชีวิตครอบครัว แล้วเดี๋ยวเราก็ค่อย ๆ มาหาคำตอบกันเนาะ

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          "เริ่มโครงการ" บ้านหลังนี้ผมตั้งใจดูแลการก่อสร้างเอง ไม่ได้จ้างผู้รับเหมา และเนื่องจากผมทำงานออกแบบ ผมจึงเริ่มงานด้วยการวาดภาพในหัวคร่าว ๆ แล้วค่อยลงมือเขียนแบบในคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมพื้นฐานสำหรับคนทำงานกราฟิก เลยได้แบบบ้านที่ดู...ง่ายจัง

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - แต่ก็ไม่ลืมคำนึงถึงเรื่องดิน ฟ้า อากาศ เลยต้องลงลึกอีกสักหน่อย ซึ่งความต้องการเบื้องต้นของผมคือ รับแดดเช้า ไม่เอาแดดบ่าย / อยากให้มีบานเฟี้ยม, บานเลื่อน และบานกระทุ้ง / ปูผนังบ้านด้วยไม้แผ่นแนวตั้ง / มีระเบียงเล็ก ๆ / ห้องน้ำใหญ่ ๆ เพดานสูง ๆ / บันไดนอกบ้าน / ภายนอกสีดำ / ภายในสีครีม ทีนี้หลังจากได้แบบบ้านคร่าว ๆ ที่พอใจ ก็มอบหมายให้ผู้ชำนาญการดำเนินการเขียนแบบที่ถูกต้องและขออนุญาตก่อสร้างแทน ส่วนรายละเอียดและขั้นตอน ขออนุญาตข้ามไปเลยนะครับ

ระหว่างรออนุญาตก่อสร้าง ก็จัดการเรื่องช่าง ซึ่งผมสรุปการทำงานไว้คร่าว ๆ คือ

     - ฐานรากและระบบท่อใช้ช่างปูน

     - ตัวบ้านจากชั้นล่างไปจนถึงหลังคาพร้อมทำสีใช้ช่างเหล็ก

     - งานเก็บรายละเอียดต่าง ๆ ไปจนถึงงานตกแต่งใช้ตัวเอง+ช่างฝีมือ

หลังจากได้แบบบ้านที่ถูกต้อง และได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างได้แล้วก็ลุยกันเลย


บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - ผมเลือกใช้ฐานรากแบบบ้านปูน ขนาดหลุม 1x1x1.5 เมตร ผูกเหล็ก ทำฐานแผ่ เทฐาน เทคาน วางแผ่นพื้นคอนกรีต เทพื้น ฯลฯ ทุกอย่างถูกต้องตามที่ควรจะเป็น โดยขั้นตอนเทพื้น ผมสั่งให้ Plant ปูนผสมน้ำยากันซึมลงในคอนกรีตด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นจากดินซึมขึ้นมาในบ้านครับ

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - ตั้งเสาชั้น1และ2 ผมเลือกใช้บีมขนาด 6x8 นิ้วเป็นเสา และ Wide Flange ขนาด 4x8 นิ้วเป็นคาน พร้อมใช้เหล็กกล่องขนาด 2x6 นิ้วเต็มวางเป็นตง ขออภัยที่ไม่ได้ใช้ศัพท์เทคนิค ขอเรียกตามช่างนะครับ ผมเลือกคานและตงเหมือนบ้านสมัยเก่า คือ วางคานบนหัวเสาแล้ววางตงทับลงบนคานอีกที

          ช่างให้คำแนะนำเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายคือ บ้านมี 9 เสา เราสั่งบีมความยาว 6 เมตรมา 5 ต้น ตัดครึ่ง จะได้เสาบีม 3 เมตร จำนวน 10 เสา (เหลือเศษไว้ใช้งานหนึ่งเสา) เพื่อใช้รับน้ำหนักเต็ม ๆ ในชั้นล่าง ชั้นบนไม่ได้รับน้ำหนักมาก ก็ใช้เสาเหล็ก 6x6 นิ้วเต็ม วางต่อขึ้นไปจากคานอีกที ผมเห็นดีเห็นงามด้วย เนื่องจากประหยัดงบไปได้เยอะ จึงเป็นอันตกลงตามนั้นเลย

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น
 
          - ระยะระหว่างตงคือ 60 เซนติเมตร ซึ่งก็ลงตัวกับแผ่นวีว่าบอร์ดที่จะเอามาใช้ปูเป็นแผ่นพื้นชั้น 2 ก็เป็นอันว่าใช้ได้ (ลองให้ช่างวางตงระยะ 40 เซนติเมตรแล้วดูอึดอัดไปหน่อย) ไปกันต่อครับ

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - ตรงวงกลมเป็นรอยต่อระหว่างเสา 2x6 นิ้ว กับคาน ผมให้ช่างวางเพลทหนา 10 มิลลิเมตรตรงตีนเสา ก่อนเชื่อมกับคาน เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ซึ่งเราก็เช็กกับช่างโดยละเอียด ยืนยันว่าแข็งแรงดีครับ

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - โครงหลังคา ผมคุยกับช่างว่าผมต้องการหลังคาที่มีความลาดเอียงไม่มาก ช่างก็น่ารักจัดให้ได้ตามที่เราต้องการ แปหลังคาที่เห็นเป็นเส้นเล็ก ๆ คือเหล็กขนาด 1.5x1.5 นิ้วเต็ม ซึ่งเช็กแล้วก็แข็งแรงดีครับ

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - เนื่องจากระยะเพดาน-ท้องหลังคาไม่สูง ผมจึงทำให้มีช่องใต้หลังคา เพื่อช่วยระบายความร้อนได้เร็ว ๆ จำเป็นต้องทำภาพอธิบายด้วย 555 อารมณ์ประมาณหลังคาครอบตัวบ้าน เหมือนใส่หมวกใต้หลังคาจะได้ไม่เป็นเตาอบ จะช่วยได้มากหรือน้อยไว้คอยมาดูกันครับ

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - มีช่องประมาณ 20 เซนติเมตร ด้านล่างชายคารอบตัวบ้านทั้ง 4 ด้าน จากนั้นก็ทำตะแกรงกันนกเข้าไปทำรังครับ

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - ช่วงที่ทำบ้านเป็นช่วงปลายฝนกำลังจะเข้าหนาว ยังมีฝนประปราย วันก่อนมุงหลังคาได้ยินช่างคุยกัน "พรุ่งนี้ฝนอย่าตกนะ งานจะได้ไม่ติดขัด สาธุ สาธุ" สมพรปากมั้ยล่ะคุณช่าง ฟ้าใสแดดเปรี้ยง ถึงกับต้องปีนลงมาพักเป็นช่วง ๆ กันเลยทีเดียว 555

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - เสร็จจากมุงหลังคาก็ต่อด้วยปูพื้นชั้น 2 ด้วยวีว่าบอร์ด 20 มิลลิเมตร วันปูพื้นผมไปช่วยช่างดึงแผ่นขึ้นบ้าน อดถ่ายรูปเลย

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - ผมออกแบบให้บันไดอยู่นอกบ้าน เพื่อใช้งานพื้นที่ในบ้านได้เต็มที่ ซึ่งผมได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าปลอดภัยและเหมาะสมตามต้องการดี

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - ผนังทิศตะวันตก : ชั้นล่างผมเลือกทำเป็นผนังปูนขัดสีดำ ส่วนชั้นบนปูไม้เทียมแนวตั้งแบบบ้านยุคเก่า ฝั่งนี้รับแดดบ่ายเต็ม ๆ ไม่ทำหน้าต่าง มีแค่สองบานเล็ก ๆ ชั้นสองตรงห้องนอน เพื่อระบายอากาศเท่านั้นครับ

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - ผนังทิศตะวันออก : ผมออกแบบให้เป็นกระจกเพื่อรับแสงและแดดตอนเช้า โดยทำโครงเหล็กรับกระจกทั้งชั้น 1-2 ทั้งแถบ

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - แต่แล้วก็พบว่ามันเป็นรูปแบบที่ใช้กันทั่ว ๆ ไป เลยตัดสินใจปรับใหม่ เพราะอยากให้เกิดภาพที่ดูต่างหน่อย ซึ่งช่างก็ยินดีปรับให้ด้วยความหน้ามุ่ย 555 ก็เลยจบที่ลายนี้ ช่องสีฟ้าเป็นบานกระทุ้งครับ

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

          -การป้องกันสนิม ข้อมูลนี้เป็นสิ่งที่ผมให้ช่างทำตอนทำบ้านหลังนี้นะครับ
          1. ก่อนนำเหล็กมาใช้งาน ช่างจะทาสีกันสนิมก่อน 1 เที่ยว (ผสมสีกันสนิมให้ข้นหน่อย ข้อดีคือสีหนา ข้อด้อยคือทาแล้วผิวเหล็กไม่เรียบ)
          2. ใช้เหล็กตามปกติ ตัด เชื่อม เจียร ซึ่งจากในกระทู้ ตอนที่เห็นเป็นโครงสร้างก็จะมีร่องรอยสนิมเป็นปกติครับ แต่เมื่องานตัด เชื่อม เจียร เสร็จเรียบร้อยช่างก็จะทาสีดำด้านทับอีก 1 เที่ยว เพื่อเก็บรอยเชื่อมหรือร่องรอยสนิมจากการทำงานครับ
          3. ลงสีจริง ถ้าสีจริงเลือกใช้สีดำด้าน ก็ลง 1-2 เที่ยวก็สวยแล้วครับ แต่ถ้าเลือกใช้สีอื่นก็อาจต้องทาจนกว่าจะสวยครับ ปกติก็2-3เที่ยวครับ

          -ปูนขัดสี ช่างจะก่อผนังปูนเรียบธรรมดาขึ้นมาก่อน ขณะที่ปูนหมาดผมก็ให้ช่างผสมปูนเพื่อขัดมัน พร้อมผสมสีฝุ่นดำ (หรือสีที่ชอบ) และน้ำยากันซึมลงไปด้วย แล้วทำการรีดเป็นปูนขัดมันทับหน้า ภาพที่ได้ก็จะเป็นปูนขัดมันสีดำ ลูบไม่เป็นฝุ่นปูนและกันน้ำซึม งานแบบนี้แล้วแต่คนชอบนะครับ ว่ากันไม่ได้...แต่ผมและเจ้าของบ้านเลิฟ 555

          -พื้นปูนทำสี ใช้การขัดมันธรรมดา ทารองพื้น ทาสี แล้วค่อยเคลือบผิวด้วยน้ำยาเคลือบผิวปูนสรรพคุณทนเหยียบย่ำ ทนขีดข่วน ผมใช้สูตรน้ำ กลิ่นไม่แรง ให้ช่างทาไว้ที่ 3 เที่ยวครับ แต่ก็คิดว่าอาจจะลงเพิ่มชั้นอีกทีหลัง ตอนนี้ก็ใช้งานได้ดีครับ (วิธีนี้ต้องทำกันซึมให้ดี)

          -ผนังและพื้นที่เป็นปูนทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นภายนอกหรือภายใน ผมให้ช่างผสมน้ำยากันซึมก่อนทำงานเพื่อป้องกันเรื่องความชื้นเข้าบ้าน และหลังทำงานก็ให้ทาน้ำยาเคลือบผิวไว้อย่างน้อย 3 เที่ยวครับ จะช่วยรักษาผิวหน้าของปูน และช่วยยืดอายุการใช้งานขึ้นได้อีกเยอะ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการป้องกันการซึมของน้ำและความชื้นได้ดียิ่งขึ้นด้วย

          -การปูผนังแนวตั้งด้วยไม้เทียม จำเป็นต้องทำการอุดรอยต่อระหว่างแผ่นด้วยซิลิโคน เพื่อป้องกันน้ำฝนซึมเข้าบ้าน ซึ่งพอมีโอกาสได้ทำเอง ก็ถึงบางอ้อว่าทำไมคนทำบ้านถึงไม่ค่อยเลือกใช้วิธีนี้ เหตุเพราะมันยุ่งยากหลายขั้นตอนครับ

          -ผมให้ช่างทาน้ำยาเคลือบผิวไม้เทียมทุกแผ่นก่อนปูเพื่อป้องกันน้ำและความชื้น ทำให้การทาสีจริงค่อนข้างยาก ช่างต้องทาสีจริงภายนอกถึง 3 เที่ยว (สีอุตสาหกรรม ใช้ทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย) แต่ผลที่ได้ออกมาคือดีงามครับ

          - สีภายใน ผมเลือกใช้วิธีการให้สีทางศิลปะที่เรียกเป็นภาษาปากสั้น ๆ ว่า "โมโนโทนหรือโมโนโครม (Monochromatic Color)" ซึ่งผมมักจะเรียกติดปากง่าย ๆ ว่า "สีนี้บนสีนี้" อย่างที่บ้านผมเลือกใช้ "ครีมบนครีม" คือเลือกใช้โทนสีเดียวแต่หลายเฉด คนชอบก็ชอบ คนไม่ชอบก็มักจะบอกว่ามันดูจืดชืด นานาจิตนะครับ การทำไม่ยาก แต่ยุ่งยาก ต้องคิดและคอยบอกช่างเป็นจุด ๆ ไปครับ

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

           - สีภายนอกดำด้าน

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - ด้านทิศตะวันออกที่ปรับโครงรับกระจกใหม่ครับ

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - ภายในใช้ Cornsilk ทาพื้น ผนัง และเพดาน ให้เป็น Background แล้วใช้ Cream+Egg Shell ผสมให้เป็นเฉดเข้ม-กลาง-อ่อนไว้ตกแต่งครับ

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - ชั้นล่าง

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - ชั้นบน

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - ระหว่างการตกแต่ง

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - งานตกแต่งยังไม่เสร็จ 100% ถึงตอนนี้ก็กำลังทำไปด้วยอยู่ครับ

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

บ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น

          - รั้วหน้าบ้านทำเป็นเฟี้ยมครับ เวลาทำงานก็จะเปิดโล่ง
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สร้างบ้านโครงเหล็ก 2 ชั้น 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ งบไม่เกิน 2 ล้าน สวยเท่เก๋ไก๋เว่อร์ ! อัปเดตล่าสุด 4 สิงหาคม 2565 เวลา 10:18:06 201,321 อ่าน
TOP
x close