
เมทัลชีทคืออะไร

เมทัลชีทแบบไหนเหมาะกับการใช้งานอย่างไร


ระบบยิงสกรู

ระบบไม่ใช้สกรู
► ระบบยิงสกรู (Bolt System) ระบบที่ใช้สกรูยิงยึดระหว่างแผ่นเมทัลชีทกับแปหรือโครงสร้างหลังคา เป็นแบบที่นิยมใช้ เพราะติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับใช้กับลอนสเปน ลอนหลังเต่า ลอนมาตรฐาน และลอนเมริเดียน
► ระบบไม่ใช้สกรู (Boltless System) เป็นระบบติดตั้งแผ่นเมทัลชีทกับขายึดหรือคอนเน็กเตอร์ ไม่มีการใช้สกรูเจาะ ช่วยลดการรั่วซึมได้ดีกว่าระบบยิงสกรู เหมาะสำหรับเมทัลชีทลอนคลิปล็อก
4 เรื่องที่เจ้าของบ้านควรรู้ก่อนซื้อเมทัลชีท

◆ ความหนาของเมทัลชีทกับการใช้งาน
เมทัลชีทเป็นหนึ่งในวัสดุก่อสร้างที่มีความหนาให้เลือกหลากหลาย เนื่องจากความหนาแต่ละระดับจะเหมาะกับลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไป ยิ่งไปกว่านั้นความหนาที่เพิ่มขึ้นยังหมายถึงความแข็งแรงและการป้องกันเสียงที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทว่ามีสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ความหนาของเมทัลชีทมีผลต่อการออกแบบ การรับน้ำหนักของโครงสร้าง และความแข็งแรงของอาคารโดยตรง หากเลือกเมทัลชีทที่มีความหนาที่เหมาะสมกับการใช้งานและโครงสร้างของบ้าน ก็จะช่วยให้การก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ แข็งแรง และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น การซ่อมบำรุงเพราะเลือกความหนาผิดประเภทลงไปได้มากทีเดียว โดยตัวอย่างความหนาที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน มีดังนี้
► ความหนา 0.23-0.28 มิลลิเมตร : เหมาะกับงานหลังคาขนาดเล็ก เช่น ที่พักอาศัยชั่วคราว
► ความหนา 0.30-0.35 มิลลิเมตร : เหมาะกับงานหลังคาและผนังขนาดเล็กที่มีระยะแปไม่เกิน 1.2 เมตร เช่น บ้านพักอาศัย ส่วนต่อเติม โรงจอดรถ และกันสาด
► ความหนา 0.35-0.40 มิลลิเมตร : เหมาะกับงานหลังคาขนาดกลางและงานผนังทั่วไป เช่น โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง
► ความหนา 0.40-0.47 มิลลิเมตร : เหมาะกับงานหลังคาขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่มีระยะแปไม่เกิน 1.5 เมตร เช่น โรงงานหรืออาคารขนาดกลางที่ต้องการการก่อสร้างคุณภาพสูง
► ความหนา 0.47 มิลลิเมตรขึ้นไป : เหมาะกับงานหลังคาขนาดใหญ่ที่มีระยะแปถึง 2.5 เมตร เช่น โรงงานหรืออาคารขนาดใหญ่
เอาล่ะ มาถึงตอนนี้ทุกคนคงสังเกตเห็นแล้วว่า ยิ่งสิ่งก่อสร้างมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าไร ความหนาของเมทัลชีทก็ควรต้องเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ทว่านอกเหนือจากขนาดของสิ่งก่อสร้างแล้ว อย่าลืมพิจารณารูปลอนและระยะแปควบคู่กันไปด้วยนะ
◆ การเลือกสีหลังคาให้เหมาะกับสไตล์ของบ้าน
นอกจากความหนาแล้ว เมทัลชีทยังมีพื้นผิวให้เลือกมากมาย เช่น พื้นผิวสะท้อนความร้อน พื้นผิวลายธรรมชาติ และพื้นผิวประกายมุก ตามมาด้วยสีสันที่หลากหลาย ทั้งแบบพื้นฐานและแบบพิเศษ จนทำให้หลายคนเกิดความสับสนและตัดสินใจไม่ถูก ถ้าอย่างนั้นเราลองมาเช็กตัวอย่างการมิกซ์ แอนด์ แมตช์ สีหลังคาให้เข้ากับสีตัวบ้านหรือสไตล์ของบ้านแบบคร่าว ๆ กันไว้ก่อน
► โมเดิร์น (Modern) : เป็นสไตล์ที่สมาร์ตและทันสมัย โครงสร้างบ้านเป็นทรงสี่เหลี่ยม ตกแต่งเรียบง่าย เน้นหน้าต่างบานใหญ่ไว้เปิดรับแสงจากธรรมชาติ จึงเหมาะกับสีกลาง ๆ หรือสีโทนเย็น ไม่ฉูดฉาด เช่น หลังคาสีนูโว บลู จากบลูสโคป แซคส์ (BlueScope Zacs)
► ทรอปิคอล (Tropical) : เป็นสไตล์ที่อบอุ่น มีความเป็นธรรมชาติ ตัวบ้านมักสร้างจากไม้หรือเหล็กผสมไม้ จึงเหมาะกับสีเอิร์ธโทน เช่น หลังคาสีเนเชอรัล บราวน์ จากบลูสโคป แซคส์ (BlueScope Zacs)
► มินิมอล (Minimal) : เป็นสไตล์ที่เรียบง่าย สะอาด มีคอนเซ็ปต์น้อยแต่มาก ตัวบ้านมักเน้นโทนสีสว่าง จึงเหมาะกับสีขาว เช่น หลังคาสีเอเชียน ไวท์ จากบลูสโคป แซคส์ (BlueScope Zacs)
► อินดัสเทรีล (Industrial) : เป็นสไตล์ที่ดิบ เก๋ เท่ ชิค ตัวบ้านมักตกแต่งด้วยโครงเหล็ก ปูนเปลือย หรือผนังสีเข้ม เหมาะกับหลังคาที่มีสีสันสดใสตัดกัน เช่น หลังคาสีเอ็มจี เยลโล่ จากบลูสโคป แซคส์ (BlueScope Zacs)
◆ เมทัลชีทเคลือบสีดีกว่าไม่เคลือบอย่างไร
◆ เลือกที่มี มอก. รับประกัน
