น้ำท่วม ทำยังไงดี ? มาดูวิธีรับมือน้ำท่วม เคล็ดลับเตรียมความพร้อมทั้งก่อนและระหว่างเกิดเหตุ เพื่อความปลอดภัยของคน บ้าน และทรัพย์สิน
เพราะ "น้ำท่วม" เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งฝนตกหนัก พายุเข้า ลมมรสุม การตัดไม้ทำลายป่า สิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำ หรือแม้กระทั่งอ่างเก็บน้ำแตก ฉะนั้นจึงเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยในประเทศไทย ที่สำคัญสร้างความเสียหายต่อบ้าน ชีวิต และทรัพย์สินเป็นอย่างมาก งานนี้กระปุกดอทคอมก็เลยขอรวบรวมวิธีรับมือกับน้ำท่วมมาฝากกัน โดยมีทั้งการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดน้ำท่วม การเตรียมรับมือเมื่อรู้ว่าจะเกิดน้ำท่วม และการปฏิบัติตัวเมื่อน้ำท่วมฉับพลัน หรือต้องอพยพฉุกเฉินเลย
การแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมแบ่งออกเป็น 4 ระดับด้วยกัน ดังนี้
- เฝ้าระวังอุทกภัย : ระดับที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดน้ำท่วมและอยู่ในระหว่างการสังเกตการณ์
- การเตือนภัย : การเตือนภัยว่าจะเกิดน้ำท่วมแน่นอน และให้รับมือเตรียมพร้อมป้องกันตัวเองและทรัพย์สิน
- อพยพทันที : แจ้งเตือนเมื่อเกิดน้ำท่วมรุนแรง
- การกลับเข้าสู่ภาวะปกติ : การแจ้งเตือนเมื่อเหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติหรือเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
ระดับการเตือนภัยน้ำท่วม
การแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมแบ่งออกเป็น 4 ระดับด้วยกัน ดังนี้
- เฝ้าระวังอุทกภัย : ระดับที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดน้ำท่วมและอยู่ในระหว่างการสังเกตการณ์
- การเตือนภัย : การเตือนภัยว่าจะเกิดน้ำท่วมแน่นอน และให้รับมือเตรียมพร้อมป้องกันตัวเองและทรัพย์สิน
- อพยพทันที : แจ้งเตือนเมื่อเกิดน้ำท่วมรุนแรง
- การกลับเข้าสู่ภาวะปกติ : การแจ้งเตือนเมื่อเหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติหรือเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
โดยสามารถติดตามระดับน้ำจากสถานนีวัดน้ำในจังหวัดต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้ผ่านเว็บไซต์คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ www.thaiwater.net
วิธีเตรียมความพร้อมก่อนเกิดน้ำท่วม
ติดตามเฝ้าระวังภัย
หมั่นติดตามข่าวสาร พยากรณ์อากาศ และประกาศเตือนภัยอยู่เสมอ เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ และศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
สังเกตจากธรรมชาติ
ให้ความสนใจความเปลี่ยนแปลงจากสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่สามารถบอกเหตุได้ เช่น ฝนตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง หรือน้ำในคลองขึ้นสูงผิดปกติ เป็นต้น
จัดเตรียมอุปกรณ์
หากสถานการณ์ดูท่าจะไม่ค่อยดี ให้กักตุนข้าวของเครื่องใช้จำเป็นไว้ โดยควรแพ็กใส่กระเป๋าฉุกเฉินและแยกสำหรับแต่ละคนให้เรียบร้อย
สำรวจเส้นทางอพยพ
มองหาสถานที่ปลอดภัยและศึกษาข้อมูลในพื้นที่ว่าใช้ที่ไหนพักอาศัยระหว่างน้ำท่วม พร้อมแจ้งรายละเอียดให้คนในครอบครัวทราบ หรือถ้าเป็นไปได้ควรเชิญชวนสมาชิกในบ้านมาทำแผนรับมือเตรียมไว้จะดีที่สุด
บันทึกช่องทางติดต่อขอความช่วยเหลือและเตือนภัย
เก็บเบอร์สายด่วนต่าง ๆ เว็บไซต์เตือนภัย และแอปพลิเคชันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเอาไว้ เช่น 192 ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ, 1784 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, 1199 ศูนย์ปลอดภัยทางน้ำ, 1196 อุบัติเหตุทางน้ำ, 1669 บริการแพทย์ฉุกเฉิน, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร เป็นต้น
วิธีรับมือน้ำท่วม
ภาพจาก think4photop / Shutterstock.com
- จัดเก็บเอกสารสำคัญไว้ในซองกันน้ำ เช่น บัตรประชาชน บัตรประจำตัว ทะเบียนบ้าน เอกสารเกี่ยวกับรถ เอกสารทางการเงินและธนาคาร รวมถึงสมุดโน๊ต ดินสอ และช่องทางสำหรับขอความช่วยเหลือต่าง ๆ
- เตรียมสิ่งของจำเป็นเอาไว้ใช้ยามเกิดภัย เช่น น้ำ อาหาร ยารักษาโรค เสื้อผ้า ถุงนอน ผ้าห่ม เอกสารสำคัญ ไฟฉายและถ่าน ไม้ขีดและไฟแช็ก กระดาษชำระ ผ้าอนามัย ยากันยุง ถุงดำ เชือก นกหวีด เทปกาว รองเท้าแตะ มีดพก และเสื้อชูชีพ (ถ้ามี)
- ตุนน้ำสะอาดสำหรับดื่มและใช้ให้ได้มากที่สุด
- ชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ให้พร้อมไว้ตลอดเวลา
- ปิดช่องปลั๊กไฟเพื่อป้องกันน้ำเข้าและป้องกันไฟดูด
- ยกของใช้ในบ้านขึ้นที่จำเป็นและสำคัญขึ้นที่สูงเพื่อป้องกันความเสียหาย
- ปิดจุดเพื่อป้องกันน้ำเข้าบ้าน เช่น ใช้กระสอบทรายกันน้ำ ติดแผงกั้นน้ำ ก่ออิฐกันน้ำ และอุดช่องน้ำทิ้งหรือท่อน้ำบนพื้น เป็นต้น
- ย้ายผู้ป่วย เด็ก คนชรา และสัตว์เลี้ยงไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย
- ย้ายยานพาหนะทั้งรถจักรยานยนต์และรถยนต์ไปไว้ในพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง
- ปิดระบบไฟฟ้าให้เรียบร้อย พร้อมทั้งปิดแก๊สและเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วย
- สวมเสื้อผ้าที่กระฉับกระเฉงและมีโทนสีสว่างเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวและสังเกตเห็น
- ฉีดสเปรย์หรือทายาป้องกันยุงและแมลง
- ห้ามเข้าใกล้สายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
- หลีกเลี่ยงการเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล
- กลับเข้าที่เดิม หากรู้สึกไม่ปลอดภัย หรือรู้สึกถึงกระแสไฟในน้ำ แล้วแจ้งขอความช่วยเหลือ
น้ำท่วม เป็นภัยจากธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สามารถลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเองและทรัพย์ของเราได้ ด้วยการรับมือเตรียมความพร้อม โดยการติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด จัดเก็บข้าวของให้พร้อม และอพยพไปยังที่ปลอดภัย
- เตรียมสิ่งของจำเป็นเอาไว้ใช้ยามเกิดภัย เช่น น้ำ อาหาร ยารักษาโรค เสื้อผ้า ถุงนอน ผ้าห่ม เอกสารสำคัญ ไฟฉายและถ่าน ไม้ขีดและไฟแช็ก กระดาษชำระ ผ้าอนามัย ยากันยุง ถุงดำ เชือก นกหวีด เทปกาว รองเท้าแตะ มีดพก และเสื้อชูชีพ (ถ้ามี)
- ตุนน้ำสะอาดสำหรับดื่มและใช้ให้ได้มากที่สุด
- ชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ให้พร้อมไว้ตลอดเวลา
- ปิดช่องปลั๊กไฟเพื่อป้องกันน้ำเข้าและป้องกันไฟดูด
- ยกของใช้ในบ้านขึ้นที่จำเป็นและสำคัญขึ้นที่สูงเพื่อป้องกันความเสียหาย
- ปิดจุดเพื่อป้องกันน้ำเข้าบ้าน เช่น ใช้กระสอบทรายกันน้ำ ติดแผงกั้นน้ำ ก่ออิฐกันน้ำ และอุดช่องน้ำทิ้งหรือท่อน้ำบนพื้น เป็นต้น
- ย้ายผู้ป่วย เด็ก คนชรา และสัตว์เลี้ยงไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย
- ย้ายยานพาหนะทั้งรถจักรยานยนต์และรถยนต์ไปไว้ในพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง
ในกรณีที่น้ำท่วมฉับพลัน หรือต้องอพยพออกจากบ้านกะทันหัน ควรปฏิบัติตัวดังนี้
- ปิดระบบไฟฟ้าให้เรียบร้อย พร้อมทั้งปิดแก๊สและเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วย
- สวมเสื้อผ้าที่กระฉับกระเฉงและมีโทนสีสว่างเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวและสังเกตเห็น
- ฉีดสเปรย์หรือทายาป้องกันยุงและแมลง
- ห้ามเข้าใกล้สายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
- หลีกเลี่ยงการเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล
- กลับเข้าที่เดิม หากรู้สึกไม่ปลอดภัย หรือรู้สึกถึงกระแสไฟในน้ำ แล้วแจ้งขอความช่วยเหลือ
น้ำท่วม เป็นภัยจากธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สามารถลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเองและทรัพย์ของเราได้ ด้วยการรับมือเตรียมความพร้อม โดยการติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด จัดเก็บข้าวของให้พร้อม และอพยพไปยังที่ปลอดภัย
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ วิธีรับมือน้ำท่วม :
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมทรัพยากรน้ำ, หน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ, cicc.chula.ac.th และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย