เปลี่ยนโกดังเก็บของ สร้างบ้านใหม่สไตล์ไทย-จีน พร้อมสวนสุดร่มรื่น

เปลี่ยนโกดังเก็บของแสนธรรมดา ต่อเติมให้เป็นบ้านหลังใหม่สไตล์ไทย-จีน พร้อมดีไซน์สวย ๆ ที่ใครเห็นก็ต้องร้องว้าว

ต่อเติมบ้าน

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก O.U.R Architect

อยากสร้างบ้านสักหลัง แต่มีพื้นที่ไม่มาก มาตามเราไปดูการเปลี่ยนโกดังเก็บของ เป็นบ้านสองชั้นขนาดกะทัดรัด แต่น่าอยู่ไปหมดทุกมุม แถมยังใช้พื้นที่ทุกตารางเมตรได้เกิดประโยชน์สูงสูด สอดคล้องไปกับทิศทางลมและแสง ที่ออกแบบโดย O.U.R Architect กัน

Bangna House (RED House)
โดย O.U.R Architect

ต่อเติมบ้าน

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก O.U.R Architect

บ้านแดง หรือ RED House หลังนี้สร้างขึ้นใหม่แทนที่โกดังเก็บของเก่าข้างบ้าน สำหรับญาติที่จะย้ายเข้ามาอยู่ด้วยในช่วงวัยเกษียณพร้อมกับครอบครัว และเป็นโครงการต่อเติมบ้านเพื่อขยายพื้นที่ห้องน้ำ โดยฟังก์ชันที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือ ห้องนอน 2 ห้อง และพื้นที่ส่วนกลาง 

ต่อเติมบ้าน

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก O.U.R Architect

ต่อเติมบ้าน

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก O.U.R Architect

ซึ่งจุดเริ่มต้นของแนวคิดและแรงบันดาลใจในการออกแบบบ้าน ได้มาจากการไปพบและเห็นบ้านทั้งแบบดั้งเดิมและแบบใหม่ของครอบครัว ทำให้สังเกตถึงการเปลี่ยนแปลง-กลายร่างของพื้นที่แบบบ้านจีน เมื่อได้ลองศึกษาจึงรู้ว่าสิ่งนี้เรียกว่า Tianjing (เทียนจิน) หรือบ้านแบบจีนทางภาคใต้ที่เน้นการเปิดคอร์ตกลางบ้านเพื่อให้เกิดการระบายอากาศที่ดี ในขณะเดียวกันคอร์ตกลางบ้านนี้ก็ทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อของการขยายครอบครัว ขยายเรือนแบบจีนออกไปอีกด้วย 

ต่อเติมบ้าน

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก O.U.R Architect

แนวความคิดนี้จึงนำมาสู่การออกแบบและการเชื่อมต่อบ้านใหม่และเก่าด้วยคอร์ตกลางบ้านซึ่งเชื่อมกับห้องนั่งเล่นอันเปรียบเสมือนพื้นที่ส่วนกลาง เกิดเป็นคอร์ตเชื่อมบ้านใหม่ และกระจายเรือนของอีก 2 ครอบครัวออกไปสองข้าง การออกแบบพื้นที่เช่นนี้จะช่วยให้การระบายอากาศดีขึ้น และช่วยให้ลมระบายเข้าบ้านเดิมดีขึ้นอีก การออกแบบรูปทรงอาคารที่เป็นหลังคาโค้ง เชิดขึ้น ได้แรงบันดาลใจมาจากหลังคาบ้านจีนสมัยเก่า นำมาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบ โดยใช้เป็นหลังคาชิ้นเดียวคลุมเรือนย่อยทั้งสองเอาไว้ และปาดช่องหลังคาเพื่อให้ลมและแสงเข้าอาคารได้ง่ายขึ้น

ต่อเติมบ้าน

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก O.U.R Architect

การเลือกใช้อิฐช่องลมเข้ามาเป็น Façade อาคารโดยการเลือกลายและสีให้มีส่วนผสมระหว่างความไทยและจีน โดยอิฐช่องลมนี้จะให้ความรู้สึกที่ต่างกันทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน โดยในบางช่องจะใช้อิฐช่องลมที่มีรูขนาดใหญ่เพื่อให้แสงสว่างส่องออกมาแบบ Random โดยคนที่อยู่ในบ้านสามารถใช้ช่องนี้เป็นหน้าต่างมองออกมาหน้าบ้านได้, ฝ้าใต้หลังคา ใช้ฝ้าระบายอากาศเพื่อให้ช่วยระบายความร้อนใต้หลังคาได้ดีขึ้น 

ต่อเติมบ้าน

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก O.U.R Architect

สวนกลางบ้าน ใช้ต้นหลิวเป็นต้นประธาน เพื่อสร้างร่มเงาในตอนกลางวัน และให้ลมสามารถผ่านได้ง่าย เนื่องจากใบมีความโปร่ง และสร้าง Character ให้กับ Space ได้เป็นอย่างดี, บ่อน้ำหน้าบ้าน ช่วยสร้างความรู้สึกเย็นสบาย ผ่อนคลายจากเสียงน้ำไหล และปลาที่แหวกว่ายช่วยสร้างความเพลิดเพลินให้กับเจ้าของบ้านได้ดี แถมยังช่วยเสริมฮวงจุ้ยตามความเชื่อของเจ้าของบ้านอีกด้วย

ต่อเติมบ้าน

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก O.U.R Architect

ต่อเติมบ้าน

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก O.U.R Architect

ต่อเติมบ้าน

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก O.U.R Architect

ต่อเติมบ้าน

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก O.U.R Architect

ต่อเติมบ้าน

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก O.U.R Architect

ต่อเติมบ้าน

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก O.U.R Architect

ต่อเติมบ้าน

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก O.U.R Architect

ต่อเติมบ้าน

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก O.U.R Architect

ต่อเติมบ้าน

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก O.U.R Architect

          โดยรวมแล้วบ้านหลังนี้เป็นอีกหนึ่งโปรเจกต์ที่ได้ทดลองออกแบบจากแนวคิดที่พัฒนาจากอาคารแบบพื้นถิ่น-จีนบรรพบุรุษ โดยการออกแบบนี้ยังช่วยขับเน้นพื้นที่รวมตัวของญาติ ๆ คนไทยเชื้อสายจีน รองรับกิจกรรมตามวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของเจ้าของบ้านและครอบครัว 

  • Project Name : Bangna House (RED House)
  • Project Type : Housing 
  • Location : Bangna-Trad 40, Bangkok
  • Designer : OURArchitect
  • Photography and Retouch : Pakkamanya NB
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : เฟซบุ๊ก O.U.R Architect
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เปลี่ยนโกดังเก็บของ สร้างบ้านใหม่สไตล์ไทย-จีน พร้อมสวนสุดร่มรื่น อัปเดตล่าสุด 27 พฤศจิกายน 2567 เวลา 00:44:36 6,254 อ่าน
TOP
x close