วิธีดูแลรักษาตู้เย็น เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานตู้เย็นของเราให้ใช้งานไปได้นานหลายปี ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย พร้อมทั้งช่วยประหยัดไฟไปในตัว
ตู้เย็น ถือว่าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้านที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพราะนอกจากจะเก็บอาหาร แช่อาหารแล้ว ตู้เย็นยังมีหน้าที่ถนอมอาหาร เพื่อให้ผัก-ผลไม้ของเราใหม่ สด ตลอดเวลาด้วยล่ะค่ะ สำหรับวันนี้กระปุกดอทคอมก็ขอนำเคล็ดลับดี ๆ ในการบำรุงดูแลรักษาตู้เย็นมาฝากกัน เพื่อให้ตู้เย็นของเราจะได้ใช้งานเต็มประสิทธิภาพ แถมยังอยู่คู่บ้านของเราอย่างนี้ไปนาน ๆ อีกทั้งยังประหยัดค่าไฟ และประหยัดเงินในกระเป๋าด้วยนะคะ
1. ตำแหน่งวางตู้เย็น
การวางตู้เย็นในที่ที่ไม่ถูกต้องก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตู้เย็นมีอายุการใช้งานสั้นลง เพราะฉะนั้นเราควรจัดวางตู้เย็นในที่ที่เหมาะสม ดังนี้
- จัดวางในที่ที่มีอากาศถ่ายเท
- ให้แผงระบายความร้อนด้านหลังอยู่ห่างจากผนังประมาณ 6 นิ้ว เป็นอย่างน้อย
- อย่าให้หน้าต่างหรือม่านประตูมาอยู่ใกล้แผงระบายความร้อน เพราะจะทำให้ตู้เย็นทำงานหนัก
- อย่าตั้งตู้เย็นไว้ใกล้บริเวณต้นกำเนิดความร้อน อาทิ เตาแก๊ส เตาหุงข้าว
- อย่าตั้งตู้เย็นในบริเวณที่เปียกชื้น
- ฐานตั้งตู้เย็นต้องแข็งแรงมั่นคง
2. การจัดกระแสไฟฟ้า และกำลังไฟให้ถูกต้อง
แม้ว่าตู้เย็นจะออกแบบไว้ใช้งานกับไฟฟ้า 220 โวลต์ แต่ก็มีตู้เย็นบางชนิดที่ใช้ไฟฟ้าชนิด 100 โวลต์ หลงเหลืออยู่บ้าง เพราะฉะนั้นหากใครซื้อตู้เย็นชนิด 100 โวลต์ ต้องใช้เครื่องแปลงแรงดันจาก 220 โวลต์ ให้ลดลงเหลือ 110 โวลต์ เสียก่อน
3. การติดตั้งเต้าเสียบปลั๊ก
การติดตั้งเต้าเสียบปลั๊กไฟเพื่อให้เหมาะสมกับการเสียบปลั๊กตู้เย็นนั้น ควรอยู่สูงไม่ต่ำกว่าระดับ 1.25 เมตร เพื่อป้องกันบุตรหลานของท่านจับต้อง หรือเอาสิ่งของอย่างอื่นแหย่เข้าไป ซึ่งย่อมเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และเต้าเสียบควรต้านกระแสไฟฟ้าได้ไม่ต่ำกว่า 250-300 วัตต์
การวางตู้เย็นในที่ที่ไม่ถูกต้องก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตู้เย็นมีอายุการใช้งานสั้นลง เพราะฉะนั้นเราควรจัดวางตู้เย็นในที่ที่เหมาะสม ดังนี้
- จัดวางในที่ที่มีอากาศถ่ายเท
- ให้แผงระบายความร้อนด้านหลังอยู่ห่างจากผนังประมาณ 6 นิ้ว เป็นอย่างน้อย
- อย่าให้หน้าต่างหรือม่านประตูมาอยู่ใกล้แผงระบายความร้อน เพราะจะทำให้ตู้เย็นทำงานหนัก
- อย่าตั้งตู้เย็นไว้ใกล้บริเวณต้นกำเนิดความร้อน อาทิ เตาแก๊ส เตาหุงข้าว
- อย่าตั้งตู้เย็นในบริเวณที่เปียกชื้น
- ฐานตั้งตู้เย็นต้องแข็งแรงมั่นคง
2. การจัดกระแสไฟฟ้า และกำลังไฟให้ถูกต้อง
แม้ว่าตู้เย็นจะออกแบบไว้ใช้งานกับไฟฟ้า 220 โวลต์ แต่ก็มีตู้เย็นบางชนิดที่ใช้ไฟฟ้าชนิด 100 โวลต์ หลงเหลืออยู่บ้าง เพราะฉะนั้นหากใครซื้อตู้เย็นชนิด 100 โวลต์ ต้องใช้เครื่องแปลงแรงดันจาก 220 โวลต์ ให้ลดลงเหลือ 110 โวลต์ เสียก่อน
การติดตั้งเต้าเสียบปลั๊กไฟเพื่อให้เหมาะสมกับการเสียบปลั๊กตู้เย็นนั้น ควรอยู่สูงไม่ต่ำกว่าระดับ 1.25 เมตร เพื่อป้องกันบุตรหลานของท่านจับต้อง หรือเอาสิ่งของอย่างอื่นแหย่เข้าไป ซึ่งย่อมเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และเต้าเสียบควรต้านกระแสไฟฟ้าได้ไม่ต่ำกว่า 250-300 วัตต์
แต่ถ้าหากเกิดเหตุการณ์สายไฟหลุดจากเต้าเสียบในขณะที่ตู้เย็นทำงานอยู่ ให้ปล่อยรอทิ้งไว้ประมาณ 3-4 นาที อย่าเพิ่งนำเสียบกลับเข้าไปทันที เพราะลูกสูบอัดแก๊สฟรีออนในคอมเพรสเซอร์อาจค้างอยู่ ทำให้เกิดอันตรายได้
4. วิธีซื้อตู้เย็น ควรดูที่อะไรบ้าง ?
- ควรเลือกตู้เย็นที่มีขนาดพอเหมาะสำหรับครอบครัว เช่น ถ้ามีจำนวน 4-5 คน ก็ควรจะใช้ตู้เย็นขนาด 4-5 คิวบิกฟุต (ประมาณคนละ 1 คิวบิกฟุต) ถ้าครอบครัวใหญ่ก็เพิ่มได้ตามส่วน แต่ไม่ควรเกิน 10 คิวบิกฟุต
- ตรวจดูความมิดชิดของฝาตู้เย็น อย่าให้มีรูรั่วของอากาศออกมาข้างนอกได้
- หลีกเลี่ยงการใช้ตู้เย็นชนิดที่ไม่มีน้ำแข็งจับ เพราะกระบวนการละลายน้ำแข็งของตู้เย็นชนิดดังกล่าวจะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น
- เลือกซื้อตู้เย็นประตูเดียว เนื่องจากตู้เย็น 2 ประตูจะกินไฟมากกว่าตู้เย็นประตูเดียวที่มีขนาดเท่ากัน เพราะต้องใช้ท่อน้ำยาทำความเย็นที่ยาวกว่า และใช้คอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่กว่า
- เลือกซื้อตู้เย็นที่ได้ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ใหม่ ซึ่งประหยัดได้มากกว่าเบอร์ 5 เดิม ประมาณร้อยละ 20
- ตู้เย็นชนิดกดปุ่มละลายน้ำแข็งกินไฟน้อยกว่าชนิดละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ (No Frost)
- ตรวจสอบยางขอบประตูตู้เย็น โดยเสียบกระดาษระหว่างขอบยางแล้วปิดประตู ถ้าสามารถเลื่อนกระดาษขึ้น-ลงได้แสดงว่าขอบยางเสื่อม ควรเปลี่ยนใหม่ เพราะคอมเพรสเซอร์ทำงานหนัก สิ้นเปลืองไฟ [อ่านเพิ่มเติม : วิธีเปลี่ยนขอบยางประตูตู้เย็นเอง โดยไม่ต้องง้อช่าง !]
- ตรวจดูความมิดชิดของฝาตู้เย็น อย่าให้มีรูรั่วของอากาศออกมาข้างนอกได้
- หลีกเลี่ยงการใช้ตู้เย็นชนิดที่ไม่มีน้ำแข็งจับ เพราะกระบวนการละลายน้ำแข็งของตู้เย็นชนิดดังกล่าวจะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น
- เลือกซื้อตู้เย็นประตูเดียว เนื่องจากตู้เย็น 2 ประตูจะกินไฟมากกว่าตู้เย็นประตูเดียวที่มีขนาดเท่ากัน เพราะต้องใช้ท่อน้ำยาทำความเย็นที่ยาวกว่า และใช้คอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่กว่า
- เลือกซื้อตู้เย็นที่ได้ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ใหม่ ซึ่งประหยัดได้มากกว่าเบอร์ 5 เดิม ประมาณร้อยละ 20
- ตู้เย็นชนิดกดปุ่มละลายน้ำแข็งกินไฟน้อยกว่าชนิดละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ (No Frost)
- ตรวจสอบยางขอบประตูตู้เย็น โดยเสียบกระดาษระหว่างขอบยางแล้วปิดประตู ถ้าสามารถเลื่อนกระดาษขึ้น-ลงได้แสดงว่าขอบยางเสื่อม ควรเปลี่ยนใหม่ เพราะคอมเพรสเซอร์ทำงานหนัก สิ้นเปลืองไฟ [อ่านเพิ่มเติม : วิธีเปลี่ยนขอบยางประตูตู้เย็นเอง โดยไม่ต้องง้อช่าง !]
5. ใช้ตู้เย็นอย่างไรให้ประหยัดไฟ ?
- อย่านำอาหารที่ร้อนหรือยังอุ่นแช่ในตู้เย็น
- อย่าเปิดตู้เย็นโดยไม่จำเป็น เพราะค่าไฟฟ้าจะเพิ่มตามจำนวนครั้งของการเปิดตู้เย็น
- อย่าเปิดประตูตู้เย็นค้างไว้เป็นเวลานาน ๆ
- ไม่ควรแช่ของจนแน่นเกินไป เพราะความเย็นจะไหลเวียนไม่สะดวก
- อย่าตั้งตู้เย็นใกล้เตาไฟหรือหม้อหุงข้าว หรือถูกแสงอาทิตย์โดยตรง เพราะจะทำให้ตู้เย็นระบายความร้อนไม่ดี เป็นเหตุให้สิ้นเปลืองไฟ
- อย่าเปิดตู้เย็นโดยไม่จำเป็น เพราะค่าไฟฟ้าจะเพิ่มตามจำนวนครั้งของการเปิดตู้เย็น
- อย่าเปิดประตูตู้เย็นค้างไว้เป็นเวลานาน ๆ
- ไม่ควรแช่ของจนแน่นเกินไป เพราะความเย็นจะไหลเวียนไม่สะดวก
- อย่าตั้งตู้เย็นใกล้เตาไฟหรือหม้อหุงข้าว หรือถูกแสงอาทิตย์โดยตรง เพราะจะทำให้ตู้เย็นระบายความร้อนไม่ดี เป็นเหตุให้สิ้นเปลืองไฟ
6. ดูแลตู้เย็นใช้งานได้นาน ๆ
- ควรตั้งสวิตช์ควบคุมอุณหภูมิของตู้เย็นให้เหมาะสม ในอุณหภูมิ 3-6 องศาเซลเซียส ส่วนช่องแช่แข็งติดตั้งอุณหภูมิประมาณลบ 15-18 องศาเซลเซียส ถ้าตั้งไว้เย็นกว่าที่กำหนด 1 องศาเซลเซียส จะสิ้นเปลืองไฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 25
- หมั่นละลายน้ำแข็งอย่าให้น้ำแข็งเกาะในช่องน้ำแข็งมากเกินไป โดยกดปุ่มละลายน้ำแข็งหรือดึงปลั๊กออกจนน้ำแข็งละลายหมด
- ควรตั้งตู้เย็นห่างจากผนังทั้งด้านหลังและด้านข้างอย่างน้อย 6 นิ้ว เพื่อให้การระบายความร้อนดีขึ้น ประหยัดไฟได้ร้อยละ 39
การดูแลรักษาตู้เย็นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยในการประหยัด...ทั้งประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ แถมยังประหยัดเงินในกระเป๋าได้อีกด้วย วิธีง่าย ๆ อย่างนี้ลองนำไปทำตามกันดูนะคะ ^ ^
- ควรตั้งสวิตช์ควบคุมอุณหภูมิของตู้เย็นให้เหมาะสม ในอุณหภูมิ 3-6 องศาเซลเซียส ส่วนช่องแช่แข็งติดตั้งอุณหภูมิประมาณลบ 15-18 องศาเซลเซียส ถ้าตั้งไว้เย็นกว่าที่กำหนด 1 องศาเซลเซียส จะสิ้นเปลืองไฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 25
- หมั่นละลายน้ำแข็งอย่าให้น้ำแข็งเกาะในช่องน้ำแข็งมากเกินไป โดยกดปุ่มละลายน้ำแข็งหรือดึงปลั๊กออกจนน้ำแข็งละลายหมด
- ควรตั้งตู้เย็นห่างจากผนังทั้งด้านหลังและด้านข้างอย่างน้อย 6 นิ้ว เพื่อให้การระบายความร้อนดีขึ้น ประหยัดไฟได้ร้อยละ 39
การดูแลรักษาตู้เย็นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยในการประหยัด...ทั้งประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ แถมยังประหยัดเงินในกระเป๋าได้อีกด้วย วิธีง่าย ๆ อย่างนี้ลองนำไปทำตามกันดูนะคะ ^ ^