ขั้นตอนการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเบื้องต้น ไว้เช็กด้วยตัวเองง่าย ๆ ก่อนเรียกช่างมาซ่อม ต้องทำอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
เราซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ อย่างไมโครเวฟ เตาอบ เครื่องซักผ้า ทีวี ตู้เย็น เตารีด และอื่น ๆ ภายในบ้าน เพื่อมาอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน จนทุกวันนี้ก็เหมือนจะกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ไปแล้ว และเมื่อใช้งานอยู่ทุกวันก็เป็นธรรมดาที่เครื่องใช้ไฟฟ้าจะเสื่อมสภาพหรือชำรุดเสียหายไปบ้าง ซึ่งถ้าหากเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องไหนเสียก็คงสร้างความลำบากกับเราได้ไม่น้อยเหมือนกัน ฉะนั้นคงดีกว่าหากเราจะมาเรียนรู้วิธีซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเบื้องต้นด้วยตัวเองกันสักหน่อย ก่อนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายไปกับการจ้างช่าง ลองมาดูวิธีกันก่อนค่ะ
หลายครั้งที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้งานไม่ได้เพราะความสะเพร่าของเราเอง เป็นต้นว่า ลืมเสียบปลั๊ก เสียบปลั๊กไม่แน่น หรือเสียบปลั๊กแล้วแต่ดันลืมกดเปิดสวิตช์ซะอย่างนั้น ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ก็เลยต้องมาเตือนกันก่อนว่าถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดความผิดปกติ หรือเปิดใช้งานไม่ได้ ให้คุณตรวจสอบเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แบบนี้เบื้องต้นก่อน เพราะบางทีเครื่องใช้ไฟฟ้าอาจจะยังใช้งานได้ตามปกติ ไม่ได้ชำรุดอย่างที่เราเข้าใจ
ปกติแล้วกระแสไฟฟ้าภายในบ้านของเราจะถูกจำกัดอยู่ที่ 220 โวลต์ ซึ่งก็หมายความว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราจะนำมาใช้ต้องมีกำลังไฟที่ไม่เกินไปกว่านั้น ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดกรณีไฟฟ้าลัดวงจรได้ ดังนั้น เราควรต้องดูให้แน่ใจว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราจะใช้งานมีกำลังไฟฟ้าอยู่ที่เท่าไร เพราะถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีกำลังการใช้ไฟที่เกิน 220 โวลต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะไม่สามารถใช้งานได้ หรืออาจลัดวงจรขึ้นมาจนเป็นอันตรายนั่นเอง
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าฟิวส์และเบรกเกอร์ในตัวเครื่องไม่ได้ขัดข้องหรือขาดไป เพราะถ้า 2 อุปกรณ์ในเครื่องนี้ไม่ทำงานก็จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเกเรไม่ยอมทำงานขึ้นมาด้วย ซึ่งหากว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ทำงานเพราะเหตุนี้ก็แค่หาซื้อฟิวส์มาเปลี่ยนใหม่ เท่านี้เครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะกลับมาทำงานได้ตามปกติแล้วค่ะ
หากว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุดเป็นอุปกรณ์ที่ต้องพึ่งเชื้อเพลิงอื่น ๆ เช่น แก๊ส หรือน้ำ คงต้องตรวจสอบเชื้อเพลิงเหล่านี้ในเครื่องด้วยว่ามีเพียงพอให้เครื่องทำงานได้ตามปกติหรือเปล่า เหมือนกับการขับรถยนต์นั่นแหละค่ะ ที่ต้องคอยหมั่นเติมน้ำมัน น้ำกลั่น และน้ำมันเครื่องอยู่เสมอ เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างเป็นปกติดี
1. ตรวจสอบปลั๊ก
หลายครั้งที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้งานไม่ได้เพราะความสะเพร่าของเราเอง เป็นต้นว่า ลืมเสียบปลั๊ก เสียบปลั๊กไม่แน่น หรือเสียบปลั๊กแล้วแต่ดันลืมกดเปิดสวิตช์ซะอย่างนั้น ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ก็เลยต้องมาเตือนกันก่อนว่าถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดความผิดปกติ หรือเปิดใช้งานไม่ได้ ให้คุณตรวจสอบเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แบบนี้เบื้องต้นก่อน เพราะบางทีเครื่องใช้ไฟฟ้าอาจจะยังใช้งานได้ตามปกติ ไม่ได้ชำรุดอย่างที่เราเข้าใจ
2. เช็กกระแสไฟ
ปกติแล้วกระแสไฟฟ้าภายในบ้านของเราจะถูกจำกัดอยู่ที่ 220 โวลต์ ซึ่งก็หมายความว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราจะนำมาใช้ต้องมีกำลังไฟที่ไม่เกินไปกว่านั้น ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดกรณีไฟฟ้าลัดวงจรได้ ดังนั้น เราควรต้องดูให้แน่ใจว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราจะใช้งานมีกำลังไฟฟ้าอยู่ที่เท่าไร เพราะถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีกำลังการใช้ไฟที่เกิน 220 โวลต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะไม่สามารถใช้งานได้ หรืออาจลัดวงจรขึ้นมาจนเป็นอันตรายนั่นเอง
3. ดูฟิวส์และเบรกเกอร์
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าฟิวส์และเบรกเกอร์ในตัวเครื่องไม่ได้ขัดข้องหรือขาดไป เพราะถ้า 2 อุปกรณ์ในเครื่องนี้ไม่ทำงานก็จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเกเรไม่ยอมทำงานขึ้นมาด้วย ซึ่งหากว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ทำงานเพราะเหตุนี้ก็แค่หาซื้อฟิวส์มาเปลี่ยนใหม่ เท่านี้เครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะกลับมาทำงานได้ตามปกติแล้วค่ะ
4. เติมเชื้อเพลิง
หากว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุดเป็นอุปกรณ์ที่ต้องพึ่งเชื้อเพลิงอื่น ๆ เช่น แก๊ส หรือน้ำ คงต้องตรวจสอบเชื้อเพลิงเหล่านี้ในเครื่องด้วยว่ามีเพียงพอให้เครื่องทำงานได้ตามปกติหรือเปล่า เหมือนกับการขับรถยนต์นั่นแหละค่ะ ที่ต้องคอยหมั่นเติมน้ำมัน น้ำกลั่น และน้ำมันเครื่องอยู่เสมอ เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างเป็นปกติดี
5. ปลอดภัยไว้ก่อน
ถ้าตรวจสอบการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าเบื้องต้นแล้วทุกอย่างเป็นปกติดี แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าก็ยังไม่ยอมทำงาน อย่างนี้คงต้องลองซ่อมแซมด้วยตัวเองกันแล้วล่ะ แต่ก่อนจะลงมือซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรก็ตาม ควรจะตรวจสอบก่อนว่าได้ตัดไฟฟ้าเพื่อป้องกันเครื่องไฟฟ้าทำงานแล้วหรือยัง เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด เช่น ไฟช็อตหรือไฟดูดเอาได้ เมื่อแน่ใจแล้วค่อยเช็กอุปกรณ์ว่ามีความผิดปกติตรงจุดไหนหรือไม่ แต่ถ้าดูไม่ออกจะหยิบคู่มือการใช้งานของอุปกรณ์ชิ้นนั้นขึ้นมาดูประกอบไปด้วยก็ได้ค่ะ
สำหรับอุปกรณ์ที่วงจรด้านในถูกปิดอย่างแน่นหนาด้วยนอตก็ต้องคลายนอตออกก่อน โดยแนะนำให้ดูวิธีจากคู่มือประกอบ จะได้คลายนอตได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อสภาพการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ถ้าหากอุปกรณ์ชิ้นนั้นถูกตอกด้วยหมุดโลหะ หรือขึงด้วยเส้นลวดอย่างแน่นหนา อาจจะเกินกำลังความสามารถของเราไปสักหน่อยที่จะซ่อมแซม ดังนั้น หิ้วไปให้ช่างผู้ชำนาญการตรวจสอบให้ดีกว่าค่ะ
ส่วนมากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียมักจะมีสาเหตุมาจากอุปกรณ์ภายในเครื่องเกิดชำรุดหรือพังไปบางส่วน ซึ่งเราสามารถหาซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนด้วยตัวเองได้ โดยดูตามคู่มือการใช้งานที่จะมีวิธีเปลี่ยนอะไหล่ต่าง ๆ ของเครื่องใช้ไฟฟ้าบอกเอาไว้อยู่แล้ว ที่สำคัญถ้าเราหาซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนเองจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมไปได้เยอะอีกด้วย
สุดท้ายถ้าลองซ่อมด้วยตัวเองก็ไม่ได้ผล อย่างนี้คงต้องยอมแพ้ แล้วหอบเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียไปซ่อมแซมที่ศูนย์บริการรับซ่อม หรือศูนย์ใหญ่ของยี่ห้อเจ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ เลย เพื่อให้ช่างผู้ชำนาญการเขาจัดการแก้ปัญหาให้เรา วิธีนี้อาจจะเสียเวลาและเปลืองเงินในกระเป๋าสักหน่อย แต่ถ้ามันคุ้มค่าก็ต้องยอมแลกล่ะเนอะ
หากยังพอมีหนทางที่จะซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง และการซ่อมแซมที่ว่านี้ก็ดูจะคุ้มค่ากว่าการควักเงินในกระเป๋าไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นใหม่ ไม่ว่าใครก็คงเลือกที่จะซ่อมมากกว่าแน่ ๆ และถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นโปรดของคุณเกิดเกเรไม่ยอมทำงานขึ้นมาบ้าง ยังไงก็ลองนำเทคนิคตามที่เราบอกไปซ่อมแซมกันดูก่อนนะคะ เผื่อจะช่วยประหยัดค่าซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าลงไปได้บ้าง
6. คลายนอต
สำหรับอุปกรณ์ที่วงจรด้านในถูกปิดอย่างแน่นหนาด้วยนอตก็ต้องคลายนอตออกก่อน โดยแนะนำให้ดูวิธีจากคู่มือประกอบ จะได้คลายนอตได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อสภาพการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ถ้าหากอุปกรณ์ชิ้นนั้นถูกตอกด้วยหมุดโลหะ หรือขึงด้วยเส้นลวดอย่างแน่นหนา อาจจะเกินกำลังความสามารถของเราไปสักหน่อยที่จะซ่อมแซม ดังนั้น หิ้วไปให้ช่างผู้ชำนาญการตรวจสอบให้ดีกว่าค่ะ
7. ซื้ออะไหล่มาเปลี่ยน
ส่วนมากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียมักจะมีสาเหตุมาจากอุปกรณ์ภายในเครื่องเกิดชำรุดหรือพังไปบางส่วน ซึ่งเราสามารถหาซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนด้วยตัวเองได้ โดยดูตามคู่มือการใช้งานที่จะมีวิธีเปลี่ยนอะไหล่ต่าง ๆ ของเครื่องใช้ไฟฟ้าบอกเอาไว้อยู่แล้ว ที่สำคัญถ้าเราหาซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนเองจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมไปได้เยอะอีกด้วย
8. ปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญ
สุดท้ายถ้าลองซ่อมด้วยตัวเองก็ไม่ได้ผล อย่างนี้คงต้องยอมแพ้ แล้วหอบเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียไปซ่อมแซมที่ศูนย์บริการรับซ่อม หรือศูนย์ใหญ่ของยี่ห้อเจ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ เลย เพื่อให้ช่างผู้ชำนาญการเขาจัดการแก้ปัญหาให้เรา วิธีนี้อาจจะเสียเวลาและเปลืองเงินในกระเป๋าสักหน่อย แต่ถ้ามันคุ้มค่าก็ต้องยอมแลกล่ะเนอะ
หากยังพอมีหนทางที่จะซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง และการซ่อมแซมที่ว่านี้ก็ดูจะคุ้มค่ากว่าการควักเงินในกระเป๋าไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นใหม่ ไม่ว่าใครก็คงเลือกที่จะซ่อมมากกว่าแน่ ๆ และถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นโปรดของคุณเกิดเกเรไม่ยอมทำงานขึ้นมาบ้าง ยังไงก็ลองนำเทคนิคตามที่เราบอกไปซ่อมแซมกันดูก่อนนะคะ เผื่อจะช่วยประหยัดค่าซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าลงไปได้บ้าง
ขอบคุณข้อมูลจาก : digi2l.co.in และ sewellelectric.com