x close

อยากถอนชื่อผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน ทำอย่างไรดี ?

อยากถอนชื่อผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน ทำอย่างไรดี ?
อยากถอนชื่อผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน ทำอย่างไรดี ?

เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม

          มีปัญหากับการกู้ร่วมกัน หรืออยากแยกกู้เพื่อซื้อบ้านหลังใหม่ จะทำอย่างไรหากอยากถอนชื่อผู้กู้ร่วม วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก

          ในการกู้ซื้อบ้านร่วมกัน คนที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับวงเงินที่ต้องการกู้อาจจะต้อง กู้ร่วม กับคนใกล้ชิดเพื่อช่วยกันแบ่งเบาภาระหนี้ ให้ธนาคารมีความมั่นใจพอที่จะปล่อยสินเชื่อบ้านได้ แต่หากเกิดวันหนึ่งต้องการถอนชื่อออกจากการเป็นผู้กู้ร่วม จะต้องทำอย่างไร วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ จากเว็บไซต์ terrabkk.com มาให้คุณได้ทราบคำตอบกันค่ะ

ทางออกเมื่อต้องการถอนชื่อผู้กู้ร่วม (TerraBKK)


          ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ต้องการขอสินเชื่อจำนวนมากแต่มีฐานเงินเดือนน้อย คือ การกู้ร่วม ซึ่งจะเป็นการหาผู้อื่นมาเสริมรายได้และความรับผิดชอบต่อหนี้ ซึ่งสถาบันการเงินมักกำหนดให้บุคคลที่มีชื่อกู้ร่วม เป็นคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้กู้ ส่วนใหญ่แล้วหากเป็นพ่อแม่กู้ร่วมกับลูก จะไม่ค่อยมีปัญหา แต่ปัญหามักเกิดในกรณีที่เป็นบุคคลอื่นกู้ร่วมกัน เช่น พี่น้อง สามีภรรยาที่ภายหลังเลิกรากัน หรือในกรณีอื่น ๆ ตามแต่เงื่อนไขที่ทางธนาคารกำหนด
         
          การหาทางถอนชื่อผู้กู้ร่วมออก จึงเป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อย ๆ แต่เมื่อยื่นเรื่องติดต่อไปที่สถาบันการเงินมักได้รับการปฏิเสธ เพราะในการยื่นขอสินเชื่อ ทางสถาบันการเงินได้ประเมินความสามารถในการผ่อนชำระจากฐานรายได้ของสองคน หากขาดคนใดคนหนึ่งก็ก็เท่ากับว่าผิดจากเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ในตอนแรก

          แม้การถอนชื่อผู้กู้ร่วมจะไม่สามารถทำได้ แต่ใช่ว่าจะไม่มีทางออกเสียทีเดียว ทางออกสำหรับปัญหานี้คือการรีไฟแนนซ์ไปธนาคารอื่น ซึ่งเป็นการเปลี่ยนเจ้าหนี้เมื่อมีข้อเสนอที่ดีกว่า

          ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์เพื่อเปลี่ยนชื่อผู้กู้ร่วมก็จะเหมือนการรีไฟแนนซ์ปกติทั่วไป ทางธนาคารใหม่ที่ยื่นขอสินเชื่อจะพิจารณาจากวงเงินที่ขอว่าผู้กู้มีความสามารถในการผ่อนชำระทั้งหมดหรือไม่ หากประเมินแล้วผู้ขอรีไฟแนนซ์มีความสามารถในการผ่อนชำระ ทางธนาคารก็จะอนุมัติสินเชื่อ แต่ถ้าเป็นไปในทางตรงข้าม ธนาคารจะให้หาผู้กู้ร่วมใหม่ และดำเนินการรีไฟแนนซ์ต่อไป


อยากถอนชื่อผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน ทำอย่างไรดี


สิ่งที่ผู้กู้ต้องทำต่อไปก็คือ นำผู้กู้ร่วมไปที่กรมที่ดินเพื่อดำเนินการต่าง ๆ 3 ขั้นตอน ดังนี้

         1. ไถ่ถอนจำนองจากธนาคารเดิม

         2. ทำเรื่องซื้อขายระหว่างกัน (มีค่าธรรมเนียมประมาณ 5% ของราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)

         3. ทำการจดจำนองกับธนาคารใหม่ (มีค่าธรรมเนียม 1% ของเงินที่ขอกู้ธนาคาร)


ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายในครั้งเดียว

          หลังจากนั้นลูกหนี้ก็จะมีเพียงคนเดียวหรืออาจจะมีผู้กู้ร่วมผู้อื่นแทนคนเดิม ในกรณีที่รีไฟแนนซ์เพื่อเป็นผู้กู้เพียงผู้เดียวนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือความสามารถในการผ่อนชำระต่อวงเงินที่ยื่นขอจากธนาคารใหม่

          การกู้ร่วมมีจุดประสงค์เพื่อเสริมเครดิตและความน่าเชื่อถือแต่แรก หากประเมินตนเองและยอดหนี้ที่เหลือแล้วพบว่าไม่สามารถรับหนี้ไหว ก็ไม่ควรดำเนินการรีไฟแนนซ์ เพราะสุดท้ายก็ไม่สามารถขอสินเชื่อได้ เท่ากับเสียเวลาเปล่าอยู่ดี



ขอขอบคุณข้อมูลจาก






เรื่องที่คุณอาจสนใจ
อยากถอนชื่อผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน ทำอย่างไรดี ? อัปเดตล่าสุด 6 ตุลาคม 2557 เวลา 16:14:26 154,194 อ่าน
TOP