เปิดประวัติ 3 ตึกสูงในตำนานสุดแกร่ง ที่กลายเป็นไวรัลและถูกพูดถึงอีกครั้ง ถึงความแข็งแรงหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว กลับมาเป็นไวรัลอีกครั้งหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนสะกาย ที่ประเทศเมียนมา และสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ กระทั่งทำให้ตึก สตง. แห่งใหม่ที่กำลังก่อสร้างถล่มลงมา [อ่านข่าว : รู้แล้ว ตึกก่อสร้างที่ถล่มย่านจตุจักร เป็นหน่วยงานรัฐที่ไหน สร้างมา 5 ปี งบ 2 พันล้าน] ในขณะที่ตึกกำลังก่อสร้างหลายแห่งยังคงอยู่ รวมถึงตึกสูงระฟ้าในกรุงเทพฯ หลายแห่งที่แม้จะสร้างมานานแต่ก็ยังคงตั้งตระหง่าน แข็งแรง สวยงาม เหมือนเดิม แม้เวลาจะผ่านไปหลายปีหรือจะเกิดแผ่นดินไหวล่าสุด มีตึกอะไรบ้าง และใครเป็นคนสร้าง ไปดูกัน อีกหนึ่งตึกที่ถูกพูดถึงมากที่สุด แม้จะสร้างไม่เสร็จและอยู่คู่ย่านสาทรมานานหลายปี แต่ก็ยังตั้งสูงตระหง่านแม้จะเกิดแผ่นดินไหว สำหรับ สาทร ยูนีค ทาวเวอร์ ตึกสูง 185 เมตร 49 ชั้น พื้นที่ใช้สอยกว่า 90,000 ตารางเมตร ที่ออกแบบโดย ผช. ศ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ สถาปนิกชื่อดังของไทย เดิมถูกวางคอนเซ็ปต์ให้เป็นคอนโดหรูระดับไฮเอนด์วิวแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้กลายเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของกรุงเทพฯ แต่ทว่าการก่อสร้างต้องชะงักลงหลังเจอกับปัญหาด้านเงินลงทุนจากพิษเศรษฐกิจในวิกฤตต้มยำกุ้งช่วงปี 2540 ซึ่งงานด้านโครงสร้างเสร็จไปแล้วกว่า 80% แต่ยังเหลืองานวางระบบและตกแต่งภายใน พร้อมกับถูกทิ้งร้างไว้จนถึงปัจจุบัน อ่านเพิ่มเติม : เจาะลึก ตึกร้างสาทร ตำนานชวนสยอง อนุสรณ์ปี 40 ตึกสูงระฟ้าที่เคยเป็นตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทย ด้วยความสูง 309 เมตร จำนวน 88 ชั้น ตั้งอยู่ใจกลางย่านประตูน้ำ แหล่งค้าขายและส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดย คุณเบียร์ ได้เล่าที่มาใน Vlog Beer Baiyoke ว่า คุณปู่ (คุณเล็งเลิศ ใบหยก) มาประมูลที่ดินตรงนี้ตั้งแต่สมัยยังเป็นชานเมืองที่ไม่มีอะไร ได้มาประมาณ 40 ไร่ เริ่มต้นด้วยการสร้างโรงหนังแล้วมาเปลี่ยนเป็นสร้างตึก เริ่มจากตึกใบหยก 1 (หรือตึกสายรุ้ง) จากนั้นคุณพ่อ (คุณพ่อพันธ์เลิศ ใบหยก) ก็มารับช่วงต่อ หลังจากที่มีการสร้างตึกสูงอื่น ๆ ขึ้นมา เลยมีความคิดว่าอยากจะสร้างตึกสูงกว่าใบหยก 1 แต่ไม่อยากใช้พื้นที่เยอะ เลยสร้างตึกแนวตั้งและใช้ Facility ให้เต็มพื้นที่และเกิดประโยชน์สูงสุด จนกลายเป็นตึกใบหยก 2 แห่งนี้ เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2533-2541 หรือประมาณ 9 ปี ที่สำคัญการสร้างตึกใบหยก 2 ยังให้ความสำคัญกับรากฐาน ใช้เสาเข็มทั้งหมด 306 ต้น อีกทั้งตัวอาคารยังมีการออกแบบมาให้สามารถ “ยืดหยุ่น” หรือ “โยก” ได้ในระดับที่ควบคุมได้เมื่อเกิดแผ่นดินไหว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายรุนแรงหรือพังถล่มอีกด้วย หากใครเดินทางผ่านย่านรัชโยธิน บนถนนพหลโยธินบ่อย ๆ คงจะคุ้นหน้าคุ้นตากับตึกสูงรูปทรงเป็นเอกลักษณ์แห่งนี้เป็นอย่างดี กับตึกรูปทรงสุดแปลกตาแห่งยุค 90 ที่เรียกกันว่า "ตึกช้าง" จำนวน 32 ชั้น ความสูง 102 เมตร สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2540 ออกแบบโดย ศ. ดร.อรุณ ชัยเสรี และองอาจ สาตรพันธุ์ (ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย) ซึ่งแม้การออกแบบตึกแห่งนี้จะมีข้อจำกัดมากมาย ทั้งข้อกำหนดของกฎหมายต่าง ๆ ข้อกำหนดของพื้นที่ที่ดิน รวมถึงการต้องเชื่อม 3 อาคารเข้าด้วยกัน รวมถึงการเปิดพื้นที่โล่งตรงกลาง 2 ช่องระหว่างตึก แต่สุดท้ายก็กลายเป็นตึกที่มีดีไซน์โดดเด่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วยการเติมแต่งดีเทลเข้าไปทั้งช่องหน้าต่างวงกลมที่ดูเหมือนตา แถบหน้าต่างกระจกสีดำแทนหู แนวแถบสีเหลืองของงา ส่วนด้านหลังตึกยังมีแนวอาคารสีดำที่เป็นส่วนของหางช้างด้วย เรียกว่าแต่ละตึกแม้เวลาจะผ่านมาหลายปี แต่ก็ยังคงสวยงาม มีเอกลักษณ์ และแข็งแรง จนกลายเป็นตำนานแห่งกรุงเทพฯ ไปเลยทีเดียว วิธีเช็กรอยร้าวจากแผ่นดินไหว แบบไหนอันตราย แจ้งใครได้บ้าง คอนโดเสียหายจากแผ่นดินไหว ใครต้องจ่ายค่าซ่อม ยกเลิกสัญญาเช่าได้ไหม ? พักหนี้แผ่นดินไหว ธนาคารไหนเข้าร่วมบ้าง ลงทะเบียนอย่างไร ใครมีสิทธิ เช็กเลย ! แอปฯ เตือนภัยพิบัติ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ไฟไหม้ ช่วยเตรียมรับมือภัยธรรมชาติ ขอบคุณข้อมูลจาก : ข่าวระบบคมนาคมขนส่ง, thai.tourismthailand.org, Beer Baiyoke และเฟซบุ๊ก งานสถาปนิก : ASA EXPO
แสดงความคิดเห็น