วิธีปลูกถั่วแดงหลวง ถั่วอะซูกิ และถั่วขาว ถั่วจากโครงการหลวง ที่มีการสนับสนุนให้ชาวดอยปลูกทดแทนฝิ่น เป็นแหล่งโปรตีนในครัวเรือน และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูง
เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของในหลวง รัชกาลที่ 9 วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาไปดูวิธีการปลูกถั่วจากโครงการหลวง 3 ชนิดคือ การปลูกถั่วแดงหลวง การปลูกถั่วอะซูกิ และการปลูกถั่วขาว ที่ถูกนำมาปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ให้ชาวดอยปลูกทดแทนฝิ่น อีกทั้งเป็นแหล่งโปรตีนที่สามารถปลูกรับประทานในครัวเรือนได้ พร้อมทั้งยังสร้างอาชีพให้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูงอีกด้วย
เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของในหลวง รัชกาลที่ 9 วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาไปดูวิธีการปลูกถั่วจากโครงการหลวง 3 ชนิดคือ การปลูกถั่วแดงหลวง การปลูกถั่วอะซูกิ และการปลูกถั่วขาว ที่ถูกนำมาปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ให้ชาวดอยปลูกทดแทนฝิ่น อีกทั้งเป็นแหล่งโปรตีนที่สามารถปลูกรับประทานในครัวเรือนได้ พร้อมทั้งยังสร้างอาชีพให้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูงอีกด้วย
ภาพจาก มูลนิธิโครงการหลวง
1. ถั่วแดงหลวง (Red kidney bean)
- ที่มา
ถั่วแดงหลวง (Red kidney bean) ถั่วพระราชทาน ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานให้ชาวดอยไว้ปลูกทดแทนฝิ่น เนื่องจากเห็นว่าการปลูกฝิ่นนั้นจะส่งผลเสียในอนาคต อีกทั้งยังกลายเป็นแหล่งโปรตีนสำหรับรับประทานในครัวเรือนได้ พร้อมกันนี้ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวดอย กระทั่งกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญบนพื้นที่ราบสูงอีกหนึ่งชนิดจนถึงปัจจุบัน
- ลักษณะและสายพันธุ์
ถั่วแดงหลวง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Phaseolus vulgaris L. จัดอยู่ในกลุ่มของพืชล้มลุก ลักษณะลำต้นคล้ายกับต้นถั่วเหลือง ตั้งตรง แตกกิ่งออกเป็นพุ่มทรงเตี้ย ความสูงประมาณ 40-65 เซนติเมตร ออกใบเรียงกันเป็นใบเดี่ยวตามข้อ มีใบย่อย 3 ใบ โดยออกเป็นคู่ตรงข้ามและอีกใบอยู่ตรงกลาง มีดอกออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงสีเขียว ส่วนกลีบดอกมีทั้งสีขาวและสีชมพูขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ขอบกลีบย่น ปลายกลีบโค้งมน
ส่วนเมล็ดจะอยู่ในฝักทรงกระบอกสีเขียว เมื่อฝักเริ่มแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนและดำ ความยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ด 3-6 เมล็ด สีของเมล็ดจะเปลี่ยนไปตามอายุ เมล็ดอ่อนจะมีสีขาว ก่อนเปลี่ยนเป็นสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่จะกลายเป็นสีแดงเข้ม ความกว้าง 0.4-0.5 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร ซึ่งพันธุ์ของถั่วแดงหลวงที่มูลนิธิโครงการหลวงได้ผลิตให้เกษตรกรปลูกคือ ถั่วแดงหลวงพันธุ์หมอกจ๋าม ส่วนสายพันธุ์ใหม่ที่อยู่ระกว่างการทดสอบ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์หมอกจ๋ามสายพันธุ์ปรับปรุง และถั่วแดงหลวงสายพันธุ์ เอ็ม เค เอส 8 (MKS#8)
- วิธีปลูกถั่วแดงหลวง- ที่มา
ถั่วแดงหลวง (Red kidney bean) ถั่วพระราชทาน ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานให้ชาวดอยไว้ปลูกทดแทนฝิ่น เนื่องจากเห็นว่าการปลูกฝิ่นนั้นจะส่งผลเสียในอนาคต อีกทั้งยังกลายเป็นแหล่งโปรตีนสำหรับรับประทานในครัวเรือนได้ พร้อมกันนี้ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวดอย กระทั่งกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญบนพื้นที่ราบสูงอีกหนึ่งชนิดจนถึงปัจจุบัน
- ลักษณะและสายพันธุ์
ถั่วแดงหลวง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Phaseolus vulgaris L. จัดอยู่ในกลุ่มของพืชล้มลุก ลักษณะลำต้นคล้ายกับต้นถั่วเหลือง ตั้งตรง แตกกิ่งออกเป็นพุ่มทรงเตี้ย ความสูงประมาณ 40-65 เซนติเมตร ออกใบเรียงกันเป็นใบเดี่ยวตามข้อ มีใบย่อย 3 ใบ โดยออกเป็นคู่ตรงข้ามและอีกใบอยู่ตรงกลาง มีดอกออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงสีเขียว ส่วนกลีบดอกมีทั้งสีขาวและสีชมพูขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ขอบกลีบย่น ปลายกลีบโค้งมน
ส่วนเมล็ดจะอยู่ในฝักทรงกระบอกสีเขียว เมื่อฝักเริ่มแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนและดำ ความยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ด 3-6 เมล็ด สีของเมล็ดจะเปลี่ยนไปตามอายุ เมล็ดอ่อนจะมีสีขาว ก่อนเปลี่ยนเป็นสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่จะกลายเป็นสีแดงเข้ม ความกว้าง 0.4-0.5 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร ซึ่งพันธุ์ของถั่วแดงหลวงที่มูลนิธิโครงการหลวงได้ผลิตให้เกษตรกรปลูกคือ ถั่วแดงหลวงพันธุ์หมอกจ๋าม ส่วนสายพันธุ์ใหม่ที่อยู่ระกว่างการทดสอบ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์หมอกจ๋ามสายพันธุ์ปรับปรุง และถั่วแดงหลวงสายพันธุ์ เอ็ม เค เอส 8 (MKS#8)
พื้นที่ที่เหมาะสำหรับการปลูกถั่วแดงหลวง ควรเป็นพื้นที่ราบหรือพื้นที่ที่มีความชันน้อย เช่น พื้นที่ชายฝั่งแม่น้ำหลังน้ำลด สำหรับที่สูงควรเป็นบริเวณที่ไม่อับลมและแดดส่องไม่ถึง เนื่องจากจะทำให้ต้นโตช้าและมีโรคระบาดมาก จึงไม่เหมาะกับการปลูกในหน้าร้อน แต่จะให้ผลดีหากปลูกในช่วงต้นฤดูฝน (ประมาณเดือนพฤษภาคม) หรือปลายฤดูฝน (ประมาณเดือนกันยายน) และฤดูหนาว (ประมาณเดือนพฤศจิกายน) ดินที่ใช้ควรเป็นดินร่วนเหนียว เพราะเก็บความชื้นได้ดีและเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยมีค่า pH ระหว่าง 5.5-6.5
การปลูกในแปลงควรกำจัดวัชพืชออกออก จากนั้นขุดดินให้ร่วนซุยและเกลี่ยดินให้ราบเรียบ (แต่หากเป็นพื้นที่ลาดชันไม่จำเป็นต้องพรวนดิน เพราะหากมีฝนตกหนัก จะทำให้หน้าดินถูกชะล้างไป) จากนั้นเจาะร่องน้ำภายในแปลงปลูกและรอบ ๆ แปลงปลูกให้เป็นทางน้ำไหลผ่าน ป้องกันการชะล้างหน้าดินของแปลงปลูก ในแต่ละหลุมหยอดไม่เกิน 2-3 เมล็ด ระยะห่างระหว่างหลุมประมาณ 20-25 เซนติเมตร และระยะปลูกระหว่างแถวประมาณ 50-60 เซนติเมตร
- การดูแลและเก็บเกี่ยว
สำหรับการปลูกในดินร่วนเหนียวควรให้น้ำประมาณ 10 วันต่อครั้ง แต่หากเป็นดินทรายมาก ควรให้น้ำถี่ขึ้นประมาณ 7-10 วันต่อครั้ง นอกจากนี้ในช่วงแรกให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เมื่อถั่วแดงมีอายุได้ประมาณ 12-15 วัน และเปลี่ยนเป็นปุ๋ยไนโตรเจน สูตร 21-0-0 เมื่อมีอายุได้ 35-40 วัน ระหว่างนี้ให้ระวังเรื่องโรคและแมลงเป็นพิเศษ การเก็บเกี่ยวจะทำได้เมื่อฝักถั่วของทั้งต้นแห้งสนิท ใบถั่วแห้งและร่วงจากลำต้นเกือบหมด โดยใช้วิธีตัดต้นแล้วนำมาตากแดดประมาณ 2-3 วัน จึงจะเก็บเมล็ดพันธุ์ได้
2. ถั่วอะซูกิ (Azuki bean)
ถั่วที่ทางมูลนิธิโครงการหลวงได้ผลิตขึ้นมา เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงปลูกขายสร้างรายได้ เดิมนำเข้าถั่วอะซูกิพันธุ์ เอริโมะ (Erimo) จากประเทศญี่ปุ่นมาปลูกเมื่อปี พ.ศ. 2539 แต่เมื่อนำมาปลูกในไทยจริง ๆ ก็พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมหลายอย่าง เช่น ลำต้น สีดอก สีฝัก ฯลฯ จึงได้เกิดการวิจัยและพัฒนาถั่วอะซูกิสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา ในชื่อว่า "ถั่วอะซูกิพันธุ์ปางดะ" เพื่อเป็นการยกย่องและเป็นเกียรติแก่ สถานีเกษตรหลวงปางดะ ที่มีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนาถั่วอะซูกิพันธุ์นี้มากที่สุด
- ลักษณะ
ถั่วอะซูกิ (Azuki bean) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Vigna angularis จัดอยู่ในกลุ่มพืชล้มลุก เป็นพืชปลูกฤดูเดียว ลำต้นเป็นพุ่มมีขนสีขาวทั่วลำต้น ไม่ทอดยอด แตกกิ่งปานกลาง ความสูงประมาณ 20-25 เซนติเมตร ใบค่อนข้างกลมมน มีใบประกอบ 3 ใบ ออกดอกสีเหลืองอ่อน ฝักยาวตรงและจะเปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่อแก่ มีเมล็ดด้านในประมาณ 5-10 เมล็ดต่อฝัก เมล็ดทรงกลม สีแดงสด ตาสีขาว
- วิธีปลูกถั่วอะซูกิ
ดินที่ใช้ในการปลูกถั่วอะซูกิ ควรเป็นดินร่วนเหนียว มีการระบายน้ำที่ดีและเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ ค่า pH อยู่ที่ 6.0-6.8 อุณหภูมิอยู่ที่ 15-25 องศาเซลเซียส ซึ่งจากการศึกษาพบว่าช่วงที่เหมาะสมอยู่ในระหว่างต้นเดือนกันยายนถึงกลางเดือนกันยายน ส่วนการเตรียมแปลงปลูกควรกำจัดวัชพืชเสียก่อน จากนั้นโรยปูนขาวหรือขุดดินลึก 15-20 เซนติเมตร และตากดินไว้ 5-7 วัน พร้อมกับทำร่องระบายน้ำ เสร็จแล้วหว่านปุ๋ยเคมีและคลุกปุ๋ยให้เข้ากับดินก่อนหยอดเมล็ด ป้องกันไม่ให้เมล็ดสัมผัสกับปุ๋ย เพราะจะทำให้เมล็ดเน่าได้ โดยหยอด 2-3 เมล็ดต่อหลุม ในหลุมลึก 3-5 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุมประมาณ 10 เซนติเมตร
- การดูแลและเก็บเกี่ยว
อาจไม่จำเป็นต้องให้น้ำหากมีปริมาณน้ำเพียงพอในช่วงฤดูฝน แต่ถ้าหากปลูกนอกฤดูฝนหรือช่วงที่มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอกับที่ต้นต้องการ ควรให้น้ำ 7-10 วันต่อครั้ง และบำรุงด้วยปุ๋ยเคมี 2 ครั้งคือ รองก้นหลุมก่อนเกลี่ยดินกลบเมล็ดและเมื่อถั่วมีอายุได้ประมาณ 30 วัน นอกจากนี้ควรหมั่นกำจัดวัชพืชหลังจากต้นถั่วมีอายุได้ 20-25 วัน (ก่อนให้ปุ๋ยครั้งที่ 2) และเมื่อถั่วอายุได้ 50-60 วัน ส่วนการเก็บเกี่ยวจะทำได้ประมาณช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม หรือเฉลี่ยประมาณ 80-100 วันหลังปลูก
ถั่วที่ทางมูลนิธิโครงการหลวงได้ผลิตขึ้นมา เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงปลูกขายสร้างรายได้ เดิมนำเข้าถั่วอะซูกิพันธุ์ เอริโมะ (Erimo) จากประเทศญี่ปุ่นมาปลูกเมื่อปี พ.ศ. 2539 แต่เมื่อนำมาปลูกในไทยจริง ๆ ก็พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมหลายอย่าง เช่น ลำต้น สีดอก สีฝัก ฯลฯ จึงได้เกิดการวิจัยและพัฒนาถั่วอะซูกิสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา ในชื่อว่า "ถั่วอะซูกิพันธุ์ปางดะ" เพื่อเป็นการยกย่องและเป็นเกียรติแก่ สถานีเกษตรหลวงปางดะ ที่มีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนาถั่วอะซูกิพันธุ์นี้มากที่สุด
- ลักษณะ
ถั่วอะซูกิ (Azuki bean) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Vigna angularis จัดอยู่ในกลุ่มพืชล้มลุก เป็นพืชปลูกฤดูเดียว ลำต้นเป็นพุ่มมีขนสีขาวทั่วลำต้น ไม่ทอดยอด แตกกิ่งปานกลาง ความสูงประมาณ 20-25 เซนติเมตร ใบค่อนข้างกลมมน มีใบประกอบ 3 ใบ ออกดอกสีเหลืองอ่อน ฝักยาวตรงและจะเปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่อแก่ มีเมล็ดด้านในประมาณ 5-10 เมล็ดต่อฝัก เมล็ดทรงกลม สีแดงสด ตาสีขาว
- วิธีปลูกถั่วอะซูกิ
ดินที่ใช้ในการปลูกถั่วอะซูกิ ควรเป็นดินร่วนเหนียว มีการระบายน้ำที่ดีและเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ ค่า pH อยู่ที่ 6.0-6.8 อุณหภูมิอยู่ที่ 15-25 องศาเซลเซียส ซึ่งจากการศึกษาพบว่าช่วงที่เหมาะสมอยู่ในระหว่างต้นเดือนกันยายนถึงกลางเดือนกันยายน ส่วนการเตรียมแปลงปลูกควรกำจัดวัชพืชเสียก่อน จากนั้นโรยปูนขาวหรือขุดดินลึก 15-20 เซนติเมตร และตากดินไว้ 5-7 วัน พร้อมกับทำร่องระบายน้ำ เสร็จแล้วหว่านปุ๋ยเคมีและคลุกปุ๋ยให้เข้ากับดินก่อนหยอดเมล็ด ป้องกันไม่ให้เมล็ดสัมผัสกับปุ๋ย เพราะจะทำให้เมล็ดเน่าได้ โดยหยอด 2-3 เมล็ดต่อหลุม ในหลุมลึก 3-5 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุมประมาณ 10 เซนติเมตร
- การดูแลและเก็บเกี่ยว
อาจไม่จำเป็นต้องให้น้ำหากมีปริมาณน้ำเพียงพอในช่วงฤดูฝน แต่ถ้าหากปลูกนอกฤดูฝนหรือช่วงที่มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอกับที่ต้นต้องการ ควรให้น้ำ 7-10 วันต่อครั้ง และบำรุงด้วยปุ๋ยเคมี 2 ครั้งคือ รองก้นหลุมก่อนเกลี่ยดินกลบเมล็ดและเมื่อถั่วมีอายุได้ประมาณ 30 วัน นอกจากนี้ควรหมั่นกำจัดวัชพืชหลังจากต้นถั่วมีอายุได้ 20-25 วัน (ก่อนให้ปุ๋ยครั้งที่ 2) และเมื่อถั่วอายุได้ 50-60 วัน ส่วนการเก็บเกี่ยวจะทำได้ประมาณช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม หรือเฉลี่ยประมาณ 80-100 วันหลังปลูก
ถั่วอีกหนึ่งชนิดที่ถูกนำมาปลูกทดแทนฝิ่นบนพื้นที่สูง โดยเริ่มทดลองปลูกที่สถานีเกษตรหลวงปางดะและศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว และมีการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการปลูกควบคู่ไปกับถั่วแดงหลวง เดิมมีถิ่นกำเนิดในพื้นที่สูงแถบประเทศแม็กซิโกและกัวเตมาลา เพราะชอบอากาศหนาวเย็น ส่วนในประเทศไทยนั้นปลูกอยู่ในพื้นที่โครงการหลวง ชื่อสายพันธุ์ปางดะ 2 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ปลูกได้ดีและให้ผลิตสูง
- ลักษณะ
ถั่วขาว (White Kidneys Beans, Navy bean) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Phaseolus vulgalis Linn. เป็นไม้ล้มลุกอายุฤดูเดียว ลำต้นเป็นทรงพุ่มเตี้ยรูปปิรามิด ความสูงประมาณ 8-15 เซนติเมตร ทอดยอดบางพันธุ์ โคนต้นอวบใหญ่ เปลือกไม้สีน้ำตาล ผิวหยาบเล็กน้อย และมีช่องอากาศขนาดเล็ก ยอดกิ่งสีเขียว ใบแตกเป็นชุดบริเวณข้อลำต้น ประกอบด้วย 3 ใบย่อย สีด้านล่างล่างใบจางกว่าด้านบน ฐานใบกว้าง ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกย่อยมีลักษณะเหมือนดอกถั่วทั่วไป ก้านช่อสั้น แต่ละช่อมี 3 ดอกย่อย ส่วนฝักถั่วขาวคล้ายถั่วแดงหลวง มีลักษณะกลม แบน และยาว ฝักอ่อนมีสีเขียว แต่เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล ด้านในฝักมีเมล็ดจำนวนมาก แต่ขนาดเมล็ดถั่วขาวจะเล็กกว่าถั่วแดง และมีทรงกลม
- วิธีปลูกถั่วขาว
ดินที่เหมาะกับการปลูกถั่วขาว ควรเป็นดินอุดมสมบูรณ์และมีการระบายน้ำดี ได้แก่ ดินร่วนปนทราย ดินมีอินทรีวัตถุสูง ค่า ph อยู่ที่ 6.5-6.8 ซึ่ฤดูที่เหมาะสมอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม-ธันวาคม การเตรียมแปลงปลูก เริ่มจากไถพรวนดิน 1 รอบและทำการกำจัดวัชพืช จากนั้นหว่านปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีก่อนจะไถกลบ ส่วนการปลูกนั้นให้หว่านหรือหยอดเมล็ดลงหลุม หลุมละ 4-5 เมล็ด โดยมีระยะห่างระหว่างหลุมประมาณ 25-30 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 50-60 เซนติเมตร
- การเก็บเกี่ยว
ฝักถั่วขาวจะเก็บได้ เมื่อฝักถั่วแห้งเป็นสีน้ำตาล โดยระยะเก็บเกี่ยวอยู่ที่ประมาณ 60-100 วันหลังการปลูก
นอกจากจะเป็นถั่วที่เป็นแหล่งโปรตีนสำคัญที่ชาวดอยสามารถปลูกเพื่อรับประทานกันในครัวเรือนได้แล้ว ยังเป็นต้นไม้ปลูกทดแทนฝิ่นที่สามารถสร้างรายได้ให้กับพวกเขาได้อีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก มูลนิธิโครงการหลวง, puechkaset, องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน/ถั่วอะซูกิ, กรมวิชาการเกษตร, องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน/ถั่วขาว และ puechkaset/ถั่วขาว