เปิดโครงการบ้านนี้ไม่เทรวม ลงทะเบียนที่ไหน แยกขยะยังไง ลดได้กี่บาท

เปิดรายละเอียดโครงการบ้านนี้ไม่เทรวม ของ กทม. ลงทะเบียนยังไง เริ่มใช้เมื่อไหร่ ต้องทำยังไงบ้าน ช่วยลดค่าเก็บขยะได้กี่บาท

แยกขยะ

โครงการบ้านนี้ไม่เทรวม โครงการดี ๆ จาก กมม. ที่ช่วยส่งเสริมให้คนหันมาแยกขยะในบ้านก่อนทิ้ง เพื่อลดประมาณที่ต้องกำจัดอย่างยั่งยืน สำหรับชาว กทม. คนไหนยังสงสัยว่าต้องแยกขยะยังไง จะเข้าร่วมโครงการยังไง ลงทะเบียนที่ไหน ลดค่าเก็บขยะได้กี่บาท วันนี้เรารวมคำตอบมาฝากแล้ว 

ลงทะเบียนยังไง

วิธีลงทะเบียน

ชาว กทม. สามารถเริ่มลงทะเบียนได้แล้วตั้งแต่ 14 มกราคม 2568 ผ่านแอปฯ BKK WASTE PAY โดยจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2568 การลงทะเบียนมี 2 แบบ คือ

ประเภทการลงทะเบียน

  • ลงทะเบียนแบบเดี่ยว : สำหรับบ้านทั่วไปที่มีปริมาณขยะไม่เกิน 20 ลิตรต่อวัน หรือ 4 กิโลกรัมต่อวัน โดยเจ้าของบ้านหรือผู้เช่าบ้านเป็นคนลงทะเบียนก็ได้ รวมถึงหมู่บ้านจัดสรร คอนโด และแฟลตที่ไม่มีนิติบุคคล 
  • การลงทะเบียนแบบกลุ่ม : สำหรับหมู่บ้านจัดสรรที่มีนิติบุคคล คอนโด หรือชุมชน ที่มีขยะไม่เกิน 20 ลิตรต่อวันต่อหลัง (หรือห้อง) สามารถเริ่มลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2568 โดยนิติบุคลลจะต้องเป็นผู้ลงทะเบียน

วิธีลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ

  • ดาวน์โหลดแอปฯ BKK WASTE PAY (iOS/Android)

  • ดาวน์โหลดแอปฯ BKK WASTE PAY (iOS/Android)

  • เข้าแอปฯ แล้วกดสร้างบัญชีผู้ใช้งาน จากนั้นกรอกข้อมูลส่วนตัว

  • เข้าสู่หน้าหลักและเลือกความประสงค์สำหรับ การคัดแยกหรือไม่คัดแยกขยะ แล้วกดตกลง 

  • จากนั้นทำการปักหมุดในแผนที่ เช็กรายละเอียดที่อยู่ที่ปักหมุดให้ถูกต้อง แล้วกดตกลง 

  • กลับเข้าสู่หน้าหลัก โดยสามารถเช็กข้อมูลที่ลงทะเบียนไปแล้วได้ที่ "บ้านของฉัน"

สำหรับผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟนสามารถลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเขตหรือเจ้าหนี้เก็บค่าธรรมเนียม โดยทั้ง 2 วิธีนี้จะเปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2568 เป็นต้นไป

ค่าธรรมเนียมเก็บขยะ

ค่าธรรมเนียมเก็บขยะ

          ค่าธรรมเนียนเก็บขยะอัตราใหม่ของ กทม. จะเริ่มใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2568 ดังนี้  ตั้งแต่ 14 มกราคม 2568
  • ขยะไม่เกินวันละ 20 ลิตรต่อวัน : หากไม่แยกขยะจ่าย 60 บาทต่อเดือน / หากแยกขยะจ่าย 20 บาทต่อเดือน

  • ขยะเกินวันละ 20 ลิตรต่อวัน (4 กก.) แต่ไม่เกิน 1 ลบ.ม. ต่อวัน : 120 บาท ต่อ 20 ลิตร (ค่าเก็บขยะ 60 บาท+ค่ากำจัดขยะ 60 บาท)

  • ขยะเกินวันละ 1 ลบ.ม. ต่อวัน : 8,000 บาทต่อลบ.ม. (ค่าเก็บขยะ 3,250 บาท+ค่ากำจัดขยะ 4,750 บาท)

วิธีจ่ายค่าเก็บขยะสามารถจ่ายออนไลน์ผ่านแอปฯ BKK WASTE PAY ได้ โดยเข้าไปที่เมนูบ้านของฉัน จากนั้นเลือกรายการใบแจ้งหนี้ เช็กรายละเอียดในใบแจ้งหนี้ เลือกชำระเงิน สามารถสแกนจ่ายผ่านคิวอาร์โค้ดหรือนำใบแจ้งหนี้ไปจ่ายที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยก็ได้

วิธีแยกขยะ

วิธีแยกขยะเศษอาหาร

ขยะเศษอาหาร

ขยะเศษอาหาร เช่น เปลือกผลไม้ เศษผัก และเศษอาหาร ทิ้งโดยการแยกขยะเหล่านี้ออกมาแล้วเทน้ำออก กรองเฉพาะส่วนที่เป็นเศษอาหารเอาไว้ จากนั้นนำไปใส่ถุงสีเขียวหรือถุงขยะที่มองเห็นด้านใน มัดปากถุง แล้วนำไปวางที่จุดทิ้งขยะแล้วรรอให้สำนักเขตของแต่ละพื้นที่มาจัดเก็บต่อไป

วิธีแยกขยะทั่วไป

ขยะทั่วไป

ขยะทั่วไป เช่น ซองขนม ทิชชู แก้วกาแฟ ถุงแกง หลอดยาสีฟัน ถุงเติมน้ำยาต่าง ๆ กล่องโฟม ถุงพลาสติก เศษผ้า ผ้าอ้อม ให้รวมใส่ถุงและมัดปากถุงให้เรียบร้อย นำไปทิ้งในถังหรือจุดทิ่งขยะตามวันและเวลาที่สำนักงานเขตกำหนด

วิธีแยกขยะรีไซเคิล

ขยะรีไซเคิล

ขยะรีไซเคิล เช่น กระป๋องอลูมิเนียม ขวดน้ำ ขวดแก้ว สมุด หนังสือ กระป๋องเหล็ก ขวดปั๊ม กระดาษหนังสือพิมพ์ ลังกระดาษ หากในขยะเหล่านี้มีเศษอาหารหรือของเหลวเหลืออยู่ ให้เทออกแล้วล้างให้สะอาด จากนั้นนำไปใส่ถุงใสหรือถุงที่มองเห็นขยะด้านใน หากเป็นถุงดำให้เขียนผ้ายติดหน้าถุงให้เรียบร้อยว่าเป็นขยะรีไซเคิล จากนั้นนำไปวางที่จุดทิ้งขยะแล้วรอให้สำนักงานเขตมาจัดการต่อไป หากไม่อยากนำไปทิ้งสามารถนำไปบริจาคแทนได้

วิธีแยกขยะอันตราย

ขยะอันตราย

ขยะอันตราย เช่น ถ่านไฟฉาย ฟลอดไฟ กระป๋องแก๊สหรือสเปรย์ สายชาร์จ ยาหมดอายุ รวมใส่ถุงใสหรือถุงที่มองเห็นด้านใน หากเป็นถุงดำให้เขียนป้ายติดไว้ว่าเป็นขยะอันตราย จากนั้นนำไปวางที่จุดทิ้งขยะแล้วรอให้สำนักงานเขตมาจัดการต่อไป

ทั้งนี้ หากมีขยะปริมาณมาก ๆ ต้องการให้สำนักงานไปจัดเก็บเป็นครั้งคราว ก็สามารถแจ้งขอรับบริการที่สำนักงานเขตได้เช่นกัน โดยจะมีการชำระค่าธรรมเนียมเป็นรายครั้ง 

วิธีทิ้งขยะชิ้นใหญ่

สำหรับขยะชิ้นใหญ่ เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า โซฟา อุปกรณ์กีฬา ที่นอน ทางสำนักงานเขตจะมีบริการเก็บขยะเหล่านี้ฟรีทุกเสาร์-อาทิตย์ โดยโทรศัพท์ขอรับบริการกับสำนักงานเขตที่สำนักงานสิ่งแวดล้อม กทม. เบอร์ 0 2203 2936-7 จากนั้นรอสำนักงานเขตประกาศนัดวันเก็บขยะชิ้นใหญ่ (ไม่มีค่าธรรมเนียม) สำหรับขยะกิ่งไม้จำนวนมากให้โทรศัพท์ขอรับบริการเก็บขนกิ่งไม้-ใบไม้จากอาคารบ้านเรือน ส่วนเศษวัสดุก่อสร้างจากอาคารบ้านเรือน ให้โทรศัพท์ขอรับบริการเก็บขนเศษวัสดุก่อสร้าง

เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งโครางการดี ๆ ที่นอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดแล้ว ยังสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืนด้วย สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ก็อย่าลืมไปลงทะเบียนแจ้งความประสงค์กันนะคะ ส่วนใครที่สนใจแต่ไม่ได้อาศัยอยู่ใน กทม. ก็สามารถนำวิธีคัดแยกขยะไปใช้กันได้นะคะ 

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการแยกขยะ :

ขอบคุณข้อมูลจาก : greener.bangkok.go.th และ gcc.go.th
เรื่องน่าสนใจอื่นๆ
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เปิดโครงการบ้านนี้ไม่เทรวม ลงทะเบียนที่ไหน แยกขยะยังไง ลดได้กี่บาท อัปเดตล่าสุด 16 กรกฎาคม 2568 เวลา 14:46:32 1,044 อ่าน
TOP
x close