เตาไมโครเวฟ (happy+)
เรื่อง : นพ.พิรัตน์ โลกาพัฒนา
เตาไมโครเวฟเป็นเครื่องใช้ภายในครัวเรือนที่มีอยู่ทั่วไป โดยพัฒนาจากเครื่องมือทางการทหารจนกลายเป็นเครื่องประกอบอาหารประจำครัวเรือนไปแล้ว แม้จะเป็นเครื่องใช้ที่เราคุ้นเคย แต่ก็อาจเกิดอันตรายขึ้นได้หากใช้ไม่ระวัง ที่สหราชอาณาจักรมีรายงานการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับไมโครเวฟในแต่ละปีมากกว่า 2,000 ราย ดังนั้นการใช้ให้ถูกวิธีจึงเป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้ไว้เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
ภาชนะที่ไม่ควรใช้กับไมโครเวฟหรือต้องระวัง
ภาชนะที่เป็นโลหะ
เตาไมโครเวฟเป็นเครื่องใช้ภายในครัวเรือนที่มีอยู่ทั่วไป โดยพัฒนาจากเครื่องมือทางการทหารจนกลายเป็นเครื่องประกอบอาหารประจำครัวเรือนไปแล้ว แม้จะเป็นเครื่องใช้ที่เราคุ้นเคย แต่ก็อาจเกิดอันตรายขึ้นได้หากใช้ไม่ระวัง ที่สหราชอาณาจักรมีรายงานการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับไมโครเวฟในแต่ละปีมากกว่า 2,000 ราย ดังนั้นการใช้ให้ถูกวิธีจึงเป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้ไว้เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
ภาชนะที่ไม่ควรใช้กับไมโครเวฟหรือต้องระวัง
ภาชนะที่เป็นโลหะ
เมื่อคลื่นไมโครเวฟผ่านไปถูกส่วนที่เป็นโลหะ จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าและความร้อนขึ้นบริเวณพื้นผิวนั้น โลหะจะเกิดความร้อนสูง บางครั้งถึงกับเกิดการลุกไหม้ขึ้นมาได้ ซึ่งแม้ว่าการลุกไหม้จะไม่ได้ทำลายตัวภาชนะแต่สารอื่น ๆ ที่ใช้ในการทำภาชนะนั้นก็สามารถปะปนลงไปในอาหารได้ และสิ่งที่คนทั่วไปอาจจะลืมนึกถึงก็คือโลหะอาจแทรกอยู่ในเนื้อภาชนะในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ลายที่พื้นผิว หรือถ้วยชามที่มีขอบเป็นสีเงิน สีทองได้ด้วย
เครื่องกระเบื้องเคลือบ
เครื่องกระเบื้องเคลือบหลายชนิดมีส่วนผสมของโลหะในส่วนที่เป็นลวดลาย ซึ่งอาจเกิดความร้อนสูงตรงจุดดังกล่าวได้ นอกจากนี้ภาชนะกระเบื้องเคลือบมักจะไม่ทนทานต่อความร้อนสูงหรือแรงดัน หากใช้ในการอุ่นอาหารก็อาจจะเกิดการแตกร้าวได้
พลาสติกและโฟมมีอุณหภูมิจุดหลอมเหลวต่างกันไป การนำพลาสติกที่มีจุดหลอมเหลวต่ำเข้าไมโครเวฟจะทำให้เกิดการหลอมละลายของภาชนะจนเสียรูป และอาจละลายลงไปในอาหารได้ ดังนั้นหากจะใช้ภาชนะพลาสติกหรือโฟมก็ต้องสังเกตเครื่องหมายที่ติดอยู่กับภาชนะว่าสามารถนำเข้าเตาไมโครเวฟได้หรือไม่ และควรเลือกยี่ห้อที่ไว้วางใจได้
ที่ลืมไม่ได้เลยคือ แม้ว่าภาชนะพลาสติกหรือโฟมนั้นจะมีสัญลักษณ์ว่าเอาเข้าเตาไมโครเวฟได้ และมาจากผู้ผลิตที่ไว้วางใจได้ แต่การใช้ก็ต้องถูกวิธีด้วย นั่นคือใช้ปรุงอาหารแบบปกติที่ไม่มีการไหม้ของอาหาร หากอาหารที่ใส่ลงไปในนั้นเกิดร้อนจัดจนเกิดการเผาไหม้ มีควันขึ้นมา หรือเมื่อนำออกมาแล้วมีรอยบิดงอผิดจากรูปร่างเดิมของภาชนะ ก็ไม่ควรรับประทานอาหารนั้น
ฟอยล์ห่ออาหาร
ฟอยล์ห่ออาหารในปัจจุบันมักทำมาจากอะลูมิเนียม ซึ่งลุกไหม้ในเตาไมโครเวฟได้ ดังนั้นหากอาหารที่คุณต้องการจะอุ่นมีฟอยล์หุ้มอยู่ ควรเอาออกก่อนนำอาหารเข้าเตาไมโครเวฟ
พลาสติกใสถนอมอาหาร
ปัจจุบันเรามีพลาสติกบางที่ใช้ขึงปิดผิวหน้าของภาชนะเพื่อป้องกันฝุ่นละอองตกลงไปในอาหาร และเมื่อเราจะรับประทานอีกครั้งก็มักจะเอาเข้าไปอุ่นในเตาไมโครเวฟ ความเสี่ยงที่อาจจะมีได้คือ ความร้อนที่เกิดขึ้นจากไอน้ำหรือจากตัวอาหารจะลอยขึ้นไปที่พลาสติกบางนั้น และเกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำเล็ก ๆ ซึ่งหากพลาสติกบางใสนี้ไม่ได้มาตรฐาน ก็อาจเกิดการละลายของสารเคมีแล้วหยดลงไปในอาหารได้ พลาสติกใสถนอมอาหารจะมีสัญลักษณ์ว่าสามารถนำเข้าเตาไมโครเวฟได้หรือไม่ แต่เพื่อความปลอดภัย หากจะอุ่นอาหารเพื่อรับประทานก็ควรนำพลาสติกนี้ออกก่อนเสมอ
ฟองน้ำ
เคยมีความเชื่อกันว่าสามารถฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในฟองน้ำได้โดยนำเข้าเตาไมโครเวฟแล้วเวฟจนร้อนเพื่อฆ่าเชื้อ ซึ่งเป็นความเชื่อที่อาจจะไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เนื่องจากฟองน้ำหลายชนิดมีส่วนผสมของสารสังเคราะห์ที่จุดหลอมเหลวหรือลุกไหม้ต่ำ เมื่อใส่ในไมโครเวฟแล้วอุ่นจนร้อนก็สามารถเกิดการลุกไหม้ขึ้นมาได้ ถ้าหากต้องการให้ฟองน้ำสะอาด ควรล้างด้วยน้ำยาล้างจานหรือสบู่ให้สะอาด บีบน้ำให้หมาด ๆ จากนั้นนำไปตากแดดจนแห้งก็สามารถกำจัดเชื้อโรคได้ดีในระดับหนึ่งแล้ว และหากสกปรกมากก็ทิ้งเปลี่ยนอันใหม่ จะคุ้มค่ากว่าค่าซ่อมเตาไมโครเวฟ
อาหารที่ห้ามใส่
ไข่
ไข่ถือเป็นอาหารชนิดที่ 3 ในโลก ถัดจากแท่งช็อกโกแลต Mr.Goodbar และป๊อปคอร์นที่ถูกทำให้ร้อนด้วยคลื่นไมโครเวฟ และเจ้าไข่ ลูกแรกที่นำมาทำการทดลองนี้ก็ระเบิดใส่หน้าของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการทดลองในปี 1945 การที่ไข่ระเบิด เนื่องจากไข่มีเปลือกแข็งและมีเยื่อหุ้มไข่ขาวที่เหนียว ทำให้สามารถทนรับแรงดันได้สูง ไมโครเวฟทำให้น้ำในไข่ร้อนจนกลายเป็นไอ เมื่อมีใครไปกะเทาะเปลือกไข่ แรงดันทั้งหมดก็จะพุ่งออกมาจากจุดที่ถูกกะเทาะนั้นทำให้เกิดการพุ่งระเบิดออกมาพร้อมกันในคราวเดียว การบาดเจ็บที่เกิดจากไข่ในไมโครเวฟมีได้ตั้งแต่ถูกไข่ร้อน ๆ ลวกใบหน้าไปจนกระทั่งเศษเปลือกไข่ทิ่มทะลุเข้าไปในลูกตา การลวกหรือปรุงอาหารประเภทไข่ในไมโครเวฟ จึงควรทำโดยการตอกไข่ออกมาจากเปลือกและจิ้มส่วนไข่แดงให้แตกก่อนนำเข้าไมโครเวฟ
น้ำเปล่า
เมื่อคลื่นไมโครเวฟผ่านน้ำเปล่า จะเกิดการชักนำให้น้ำมีความร้อนสูงขึ้น โดยอุณหภูมิที่เกิดขึ้นอาจสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นจุดเดือดของน้ำ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Superheat หรือร้อนยิ่งยวด และหากมีการไปรบกวน เช่น หยิบออกจากเตาไมโครเวฟ หรือใส่กาแฟใส่นมลงไป น้ำที่อยู่ในสภาวะร้อนยิ่งยวด จะเกิดการเปลี่ยนเป็นไอน้ำพร้อม ๆ กันแล้วพุ่งระเบิดขึ้นจากแก้วได้ วิธีป้องกันคือการใส่ช้อนหรือตะเกียบไม้ลงไปในน้ำนั้น เพื่อให้น้ำมีจุดให้เกาะ และกลายสภาพเป็นไอโดยไม่เกิดการระเบิดพุ่ง หรือหากจะชงกาแฟหรือนม ก็ให้ผสมส่วนผสมลงไปตั้งแต่แรก ก็จะป้องกันได้เช่นกัน
ผลไม้และผัก
อาหารบางชนิดที่เราเอาเข้าไปอุ่นอาจจะมีผักและผลไม้อยู่ด้วย ซึ่งต้องระมัดระวังผักผลไม้ที่มีเปลือกและไม่ควรใส่เข้าไปทั้งลูก เพราะเมื่ออุ่นเสร็จและเราเอาผักผลไม้นั้นออกมา อาจจะเกิดการระเบิดแตกออกได้คล้ายกับกรณีของไข่ นอกจากนี้ผลไม้บางชนิดที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เช่น องุ่น หรือลูกเกด เมื่อถูกความร้อนในไมโครเวฟก็สามารถเกิดควันหรือลุกไหม้ได้
การใช้ในบ้านที่มีเด็ก
หากในบ้านมีเด็กเล็ก ควรเลือกใช้เตาไมโครเวฟชนิดที่มีความซับซ้อนในการใช้งานน้อย หรือตั้งให้เตาอยู่ในจุดที่เด็กเล็กเอื้อมไม่ถึงและหากจะให้เด็กใช้งานเตาไมโครเวฟ ก็ควรสอนถึงสิ่งที่นำเข้าได้และสิ่งที่ห้ามนำเข้าไป และให้มีผู้ใหญ่อยู่ด้วยในขณะใช้งานเสมอ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ฉบับ ธันวาคม 2555
ไข่
ไข่ถือเป็นอาหารชนิดที่ 3 ในโลก ถัดจากแท่งช็อกโกแลต Mr.Goodbar และป๊อปคอร์นที่ถูกทำให้ร้อนด้วยคลื่นไมโครเวฟ และเจ้าไข่ ลูกแรกที่นำมาทำการทดลองนี้ก็ระเบิดใส่หน้าของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการทดลองในปี 1945 การที่ไข่ระเบิด เนื่องจากไข่มีเปลือกแข็งและมีเยื่อหุ้มไข่ขาวที่เหนียว ทำให้สามารถทนรับแรงดันได้สูง ไมโครเวฟทำให้น้ำในไข่ร้อนจนกลายเป็นไอ เมื่อมีใครไปกะเทาะเปลือกไข่ แรงดันทั้งหมดก็จะพุ่งออกมาจากจุดที่ถูกกะเทาะนั้นทำให้เกิดการพุ่งระเบิดออกมาพร้อมกันในคราวเดียว การบาดเจ็บที่เกิดจากไข่ในไมโครเวฟมีได้ตั้งแต่ถูกไข่ร้อน ๆ ลวกใบหน้าไปจนกระทั่งเศษเปลือกไข่ทิ่มทะลุเข้าไปในลูกตา การลวกหรือปรุงอาหารประเภทไข่ในไมโครเวฟ จึงควรทำโดยการตอกไข่ออกมาจากเปลือกและจิ้มส่วนไข่แดงให้แตกก่อนนำเข้าไมโครเวฟ
น้ำเปล่า
เมื่อคลื่นไมโครเวฟผ่านน้ำเปล่า จะเกิดการชักนำให้น้ำมีความร้อนสูงขึ้น โดยอุณหภูมิที่เกิดขึ้นอาจสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นจุดเดือดของน้ำ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Superheat หรือร้อนยิ่งยวด และหากมีการไปรบกวน เช่น หยิบออกจากเตาไมโครเวฟ หรือใส่กาแฟใส่นมลงไป น้ำที่อยู่ในสภาวะร้อนยิ่งยวด จะเกิดการเปลี่ยนเป็นไอน้ำพร้อม ๆ กันแล้วพุ่งระเบิดขึ้นจากแก้วได้ วิธีป้องกันคือการใส่ช้อนหรือตะเกียบไม้ลงไปในน้ำนั้น เพื่อให้น้ำมีจุดให้เกาะ และกลายสภาพเป็นไอโดยไม่เกิดการระเบิดพุ่ง หรือหากจะชงกาแฟหรือนม ก็ให้ผสมส่วนผสมลงไปตั้งแต่แรก ก็จะป้องกันได้เช่นกัน
ผลไม้และผัก
อาหารบางชนิดที่เราเอาเข้าไปอุ่นอาจจะมีผักและผลไม้อยู่ด้วย ซึ่งต้องระมัดระวังผักผลไม้ที่มีเปลือกและไม่ควรใส่เข้าไปทั้งลูก เพราะเมื่ออุ่นเสร็จและเราเอาผักผลไม้นั้นออกมา อาจจะเกิดการระเบิดแตกออกได้คล้ายกับกรณีของไข่ นอกจากนี้ผลไม้บางชนิดที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เช่น องุ่น หรือลูกเกด เมื่อถูกความร้อนในไมโครเวฟก็สามารถเกิดควันหรือลุกไหม้ได้
การใช้ในบ้านที่มีเด็ก
หากในบ้านมีเด็กเล็ก ควรเลือกใช้เตาไมโครเวฟชนิดที่มีความซับซ้อนในการใช้งานน้อย หรือตั้งให้เตาอยู่ในจุดที่เด็กเล็กเอื้อมไม่ถึงและหากจะให้เด็กใช้งานเตาไมโครเวฟ ก็ควรสอนถึงสิ่งที่นำเข้าได้และสิ่งที่ห้ามนำเข้าไป และให้มีผู้ใหญ่อยู่ด้วยในขณะใช้งานเสมอ
แบบบ้านสวย ตกแต่งบ้าน สินเชื่อบ้าน ฮวงจุ้ยบ้าน สวนสวยๆ คลิกเลย
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ฉบับ ธันวาคม 2555