วิธีลดอุณหภูมิภายในบ้าน จะได้ไม่ต้องเปิดแอร์และช่วยประหยัดไฟได้มากขึ้น ถ้าบ้านไหนร้อนจับใจแต่ไม่อยากจ่ายค่าไฟแพง ลองมาดูวิธีลดอุณหภูมิภายในบ้านกันเลย
ไม่ว่าจะฤดูร้อนหรือฤดูไหน ๆ หลายคนก็ยังนิยมเปิดแอร์หรือเครื่องปรับอากาศกันอยู่ดี ทั้งที่รู้กันดีว่าเครื่องปรับอากาศนั้นกินไฟสุด ๆ ถึงขึ้นต้องนั่งทำใจหลังเห็นใบเสร็จค่าไฟตอนสิ้นเดือนกันเลยทีเดียว แต่ก็ต้องทนเพราะมันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงกันไม่ได้จริง ๆ ซึ่งถ้าคุณอยากจะประหยัดรายจ่ายค่าไฟลงอีกนิด คงจะดีหากนำวิธีลดอุณหภูมิภายในบ้านเหล่านี้ไปลองใช้กันดู เพื่อความเย็นสบายในราคาประหยัดค่ะ
จะติดตั้งพัดลมเพดานไว้ในทุกห้องหรือเลือกเฉพาะห้องที่ใช้งานบ่อย ๆ ก็ได้ เพราะจุดสำคัญอยู่ที่การเลือกขนาดพัดลมและการหมุนของใบพัด โดยขนาดของพัดลมเพดานที่เลือกมาใช้ควรสมดุลกับพื้นที่ภายในห้อง ซึ่งข้อมูลของพัดลมเพดานแต่ละตัวก็ระบุมาอยู่แล้วว่าใช้ได้กับพื้นที่ขนาดใด หรือสูงสุดอยู่ที่่เท่าไร ส่วนลักษณะการหมุนของใบพัด ในช่วงฤดูร้อนใบพัดควรเป็นตัวดูดอาการขึ้นสู่เพดาน ในขณะที่ฤดูอื่น ๆ ใบพัดควรกดอากาศร้อนลงสู่ด้านล่าง แล้วค่อยกระจายตัวออกไป
2. เปลี่ยนม่านหน้าต่าง
แล้วจะเห็นความแตกต่างของอุณหภูมิภายในบ้านได้อย่างชัดเจน โดยม่านกันแสง มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดีที่สุด อีกทั้งยังติดตั้งและทำความสะอาดง่าย นอกจากนี้ยังมีม่านแขวนและม่านฮันนีคอมบ์ ที่ช่วยกันแดดพร้อมลดความร้อนในบ้านได้ดี อีกทั้งยังช่วยประหยัดพลังงาน ส่วนเคล็ดลับการเปลี่ยนผ้าม่านให้เริ่มเปลี่ยนจากห้องที่มีอุณหภูมิสูงที่ สุดในบ้านก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นห้องที่มีหน้าต่างรับแสงแดดในช่วงบ่ายโดยตรง
แม้อาจไม่ใช่วิธีที่เห็นผลในทันที แต่ก็ให้ผลลัพธ์ที่ดีแบบถาวร โดยการปลูกต้นไม้รอบ ๆ ตัวบ้านที่ให้ร่มเงาบนผนังเมื่อแสงแดดส่องลงมา ส่วนต้นไม้ที่นำมาใช้ควรเป็นต้นไม้ที่มีการเจริญเติบโตประมาณ 1-2 ฟุตต่อปี และอยู่ในการดูแลของเจ้าของบ้านอยู่เสมอ ด้วยการให้น้ำกับอาหารตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ไม่ควรนำมาปลูกไว้ใกล้ตัวบ้านเกินไป เพราะรากของต้นไม้อาจสร้างความเสียหายให้กับตัวบ้านได้ในอนาคต
ส่วน
วิธีนอกเหนือจากนี้ก็คือ
การนำปลูกต้นไม้ในกระถางแล้วนำมาประดับเอาไว้ตามมุมต่าง ๆ ของบ้าน
หรือจะเลือกปลูกต้นไม้ไว้ขอบหน้าต่างนอกบ้านก็ช่วยลดอุณหภูมิได้เช่นกัน
แถมยังเห็นผลเร็วอีกด้วย
- 10 ต้นไม้ช่วยคลายร้อน ดูดสารพิษ และปรับอากาศในบ้านให้เย็นสบาย
4. ใช้ประโยชน์จากไม้เลื้อย
สำหรับเจ้าของบ้านที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแล หรือมีความอดทนในการรอคอยมากพอ ไม้เลื้อยก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะนอกจากจะไม่ต้องเฝ้าดูแลหรือทนุถนอมมากแล้ว ยังเป็นพืชที่เจริญเติบโตไว มีความแข็งแรง ทนทานต่อทุกสภาพอากาศ อีกทั้งเมื่อนำมาปลูกไว้ที่ผนังด้านนอกของบ้านยังช่วยลดความร้อนได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์อีกด้วย
4. ใช้ประโยชน์จากไม้เลื้อย
สำหรับเจ้าของบ้านที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแล หรือมีความอดทนในการรอคอยมากพอ ไม้เลื้อยก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะนอกจากจะไม่ต้องเฝ้าดูแลหรือทนุถนอมมากแล้ว ยังเป็นพืชที่เจริญเติบโตไว มีความแข็งแรง ทนทานต่อทุกสภาพอากาศ อีกทั้งเมื่อนำมาปลูกไว้ที่ผนังด้านนอกของบ้านยังช่วยลดความร้อนได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์อีกด้วย
5. ติดตั้งกันสาดช่วยเพิ่มร่มเงา
6. ติดฟิล์มบนหน้าต่าง
อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดทั้งความร้อนภายบ้านและค่าไฟ แถมการติดฟิล์มบนหน้าต่างยังเป็นวิธีที่ใช้งบประมาณน้อยกว่าการปรับหรือ เปลี่ยนผ้าม่านบ่อย ๆ อีกด้วย แต่ในขณะเดียวกันวิธีนี้มีข้อเสียเล็กน้อยตรงที่ การติดฟิล์มบนหน้าต่างอาจจะเป็นงานที่ยากเกินไปสำหรับทำคนเดียว หากมีผู้ช่วยสัก 1-2 คนก็ช่วยให้การติดฟิล์มงานก็จะง่ายและราบรื่นขึ้นมากเลย
โดยการซ่อมแซม ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงบานประตูหรือหน้าต่างที่ชำรุด เพราะรอยแตกร้าว รูรั่ว รวมไปถึงบานประตูหรือหน้าต่างที่ปิดไม่สนิทก็เป็นสาเหตุที่ทำให้อุณหภูมิภาย ในบ้านสูงขึ้นได้เช่นกัน อีกทั้งยังเป็นจุดที่อากาศเย็นจากเครื่องปรับอากาศถูกระบายออกไป พร้อมกับเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ค่าไฟเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ
8. เปิดหน้าต่างให้อากาศเย็นพัดเข้ามา
ในช่วงที่มีอากาศเย็น อย่างเช่น หลังพระอาทิตย์ตกดิน ให้เปิดหน้าต่างทิ้งเอาไว้ประมาณ 1-2 บาน ส่วนในกรณีที่หน้าต่างสามารถเปิดได้ทั้งจากด้านบนและด้านล่าง ให้เปิดเอาไว้ทั้ง 2 ด้าน เพราะลมพัดเข้ามาก็จะพัดลงสู่ด้านล่างก่อนจะดันความร้อนขึ้นสู่เพดาน แล้วพัดออกไปทางช่องว่างด้านบน จากนั้นอุณหภูมิภายในบ้านก็จะลดลง แต่ทั้งนี้อย่าลืมปิดหน้าต่างก่อนที่อุณหภูมิจะสูงขึ้นในวันถัดไปด้วย
พยายามใช้เตาหรือเตาอบให้น้อยลง ส่วนในขณะที่กำลังใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการระบายความร้อนออกมา ก็ควรใช้ความร้อนในระดับต่ำสุดเท่าที่ทำได้และเปิดห้องให้โล่งเพื่อระบาย ความร้อนออกไป หากเป็นไปได้ก็ควรติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าจำพวกเครื่องซักผ้าไว้นอกบ้าน เพราะวิธีนี้ไม่ได้ช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยลดค่าไฟด้วย นอกจากนี้ควรเปลี่ยนมาใช้หลอด LED หรือหลอดตะเกียบแทนหลอดไฟเก่า เนื่องจากหลอดไฟทั้ง 2 แบบนี้ เป็นหลอดไฟที่ให้ความร้อนน้อยกว่า ใช้งานได้นานกว่า แถมยังใช้พลังงานน้อยกว่าอีกต่างหาก
10. ทำเครื่องกำเนิดความเย็นด้วยตัวเอง
ลองนำขวดพลาสติกไปบรรจุน้ำ จากนั้นนำขวดพลาสติกดังกล่าวไปแช่แข็ง และรอกระทั่งน้ำในขวดพลาสติกแข็งตัว เมื่อได้ตามที่ต้องการแล้วก็นำขวดพลาสติกที่ว่านี้มาวางตรงกลางระหว่างพัดลม กับตัวคุณ แล้วปล่อยให้ลมพัดไอเย็นจากขวดพลาสติกมาที่คัวคุณ เพียงเท่านี้บ้านก็เย็มสมใจอย่างที่ต้องการ ไม่ต้องใช้แอร์เลยล่ะ
เห็นไหมคะว่าแอร์หรือเครื่องปรับอากาศไม่ใช่สิ่งเดียวที่ช่วยลดอุณหภูมิให้ กับบ้านเท่านั้น แต่ยังมีอีก 10 วิธีในการระบายความร้อนพร้อมปรับอากาศภายในบ้านให้เย็นสบายได้ และเป็นวิธีที่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง แถมยังช่วยประหยัดพลังงานไปพร้อม ๆ กับการลดค่าไฟฟ้าได้ด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก huffpost, lifehacker, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, เฟซบุ๊ก การไฟฟ้านครหลวง MEA\'s และกระทรวงพลังงาน