
เจาะลึกเรื่องน่ารู้ของห้องนั่งเล่น
เจาะลึกเรื่องน่ารู้ของห้องนั่งเล่น (DG DECORATION GUIDE)
เรื่อง : สาธกา เจียรจบุญศรี
ขอเจาะลึกลงไปสู่พื้นที่ที่เป็นหัวใจสำคัญของบ้าน นั่นก็คือ Living Area หรือพื้นที่ใดก็ได้ที่เป็นศูนย์รวมของสมาชิกทุกคนในบ้าน ไม่ว่าจะพักผ่อนรีแล็กซ์ ดูทีวี ทำงาน อ่านหนังสือ จัดปาร์ตี้รับแขก หรือเล่นเกม การออกแบบภายในของส่วนนี้จึงมีรายละเอียดที่น่ารู้ก่อนออกแบบมากมาย เพื่อออกแบบให้เกิดพื้นที่ Living ที่เหมาะสมสำหรับทุก ๆ ครอบครัว มาดูกันว่าเราต้องเริ่มลงมือกับส่วนใดก่อน
LIVING WITH COLOR
Living Room จำเป็นต้องมีบรรยากาศที่เป็นมิตร อบอุ่นและอยู่สบาย โดยเลือกใช้กลุ่มสีที่ดูเข้ากันง่ายและสบายตา มาดูเทรนด์การใช้สีสันใน Living Room ของปีนี้กันดีกว่าค่ะ



ภาพจาก Elemental Architecture


ภาพจาก Dirk Denison Architects

ความจริงแล้ว Living Room นั้นเป็นห้องที่เปิดกว้างสำหรับทุกไอเดียการออกแบบ ตามความต้องการของแต่ละบ้านที่จะให้เป็นแบบใดก็ได้ เพียงแต่ขอให้เป็นพื้นที่ที่เกิดความสุขและเกิดกิจกรรมร่วมกันได้เท่านั้น เพื่อให้เป็นพื้นที่ส่วนกลางสำหรับทุก ๆ คนในบ้านอย่างแท้จริง

ภาพจาก Lisa Petrole Photography
LIVING WITH DIMENSION
เริ่มตั้งแต่การกำหนดพื้นที่ของ Living Room หลายคนอาจจะสงสัยถึงขนาดที่มีความเหมาะสมกับห้องนี้ ทำได้ง่าย ๆ โดยดูที่ 2 ประเด็นหลักคือ
1. จำนวนสมาชิกในครอบครัวและกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ ซึ่ง Living Room โดยส่วนใหญ่จะมีขนาดตั้งแต่ 2x2 เมตรขึ้นไป ในกรณีที่เป็นคอมแพคสเปซ เช่น ในคอนโด และจะมีขนาดมากขึ้นไปตามข้อจำกัดของพื้นที่แต่ละบ้าน
2. กำหนดตามความต้องการใช้งานของสมาชิก เช่น บ้านเดี่ยว 2 ชั้น ไซส์มาตรฐานทั่วไปสำหรับครอบครัวเดี่ยว 3-4 คน ห้อง Living Room ควรมีขนาดเริ่มแต่ 4x4 เมตร เพียงพอสำหรับชุดโซฟา 3 ที่นั่ง 1 ชุด และอาร์มแชร์อีก 1 ตัว ส่วนใหญ่มีการใช้งานเพียงแค่นั่งเล่น พักผ่อนและดูทีวี ซึ่งก็สามารถขยายขนาดให้เหมาะกับปริมาณและความต้องใช้งานได้ โดยไม่จำกัดการออกแบบอยู่แต่เพียงห้องสี่เหลี่ยมเท่านั้น แต่ยังสามารถเป็นได้ทั้งห้องสเปซแบบวงกลมและวงรี ที่ทำให้ห้องนั่งเล่นดูน่าสนใจขึ้น
อีกหนึ่งมิติที่ควรให้ความสนใจอย่างยิ่งในการออกแบบ Living Room ก็คือ “Ceiling Height” หรือความสูงของฝ้าเพดาน หรือออกแบบให้เป็นพื้นที่เปิดโล่ง 2 ชั้น เนื่องจากความสูงของฝ้าส่วน Living Room มีผลต่อความรู้สึกของสเปซอย่างมาก ฝ้าที่สูงขึ้นก็หมายถึงความสูงของหน้าต่างและกระจกที่สูงขึ้นด้วย ยิ่งออกแบบให้ห้องมีเพดานที่สูง (2.80 เมตรขึ้นไป) สเปซของห้องก็จะยิ่งมีความโปร่งโล่ง สวยงาม และมีบรรยากาศที่ดูหรูหรา โอ่อ่ามากขึ้น
LIVING LAYOUT
โดยทั่วไปในห้อง Living Room ที่ใช้งานปกติ (แบบยังไม่มีฟังก์ชั่นการใช้งานเพิ่มเข้าไป) หลัก ๆ มักประกอบไปด้วยโซฟา, อาร์มแชร์, เดย์เบด, โต๊ะกลาง, โต๊ะข้าง, ชั้นวางของและชั้นวางทีวี การจัดเลย์เอาท์ของห้อง Living Room จึงเป็นการนำเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นมาจัดวางให้เหมาะสมกับพื้นที่ของห้อง Living Room ที่แต่ละบ้านมี ซึ่งการจัดเลย์เอาท์ที่ดีจะไม่คำนึงถึงแต่ข้อจำกัดของพื้นที่เท่านั้น แต่จำเป็นต้องเข้าใจการใช้งานภายในห้องที่จะเกิดขึ้นของการจัดเลย์เอาท์ในแบบนั้น ๆ ด้วย ขอยกตัวอย่างการจัดเลย์เอาต์ห้อง Living Room ในแบบต่าง ๆ มาให้ดูกันค่ะ
Layout A ขนาด 3.5x3.5 เมตร เป็นส่วน Living Room ที่อยู่ในคอมแพคสเปซ อาจใช้ในส่วน Living ของห้องคอนโด ที่มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด โดยออกแบบให้ด้านหนึ่งบิวท์อินเป็นยกพื้นสูงขึ้นมาเต็มพื้นที่ด้านกว้าง แล้ววางเบาะและหมอนด้านบนตามใจชอบ จะได้เป็นพื้นที่กึ่งโซฟากึ่งเตียงที่สามารถนั่งหรือนอนเอกเขนกได้ทั้งวัน รวมทั้งยังสามารถออกแบบยกพื้นให้เป็นสิ้นชักเก็บของได้อีก ถือเป็นการออกแบบเลยเอาต์ที่พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Layout B ขนาด 4x4 เมตร เป็นห้อง Living Room ขนาดมาตรฐานที่เห็นได้ทั่วไปตามบ้านเดี่ยวหรือคอนโด โดยจัดเลย์เอาท์ให้มีชุดโซฟาขนาด 3 ที่นั่ง และยังมีเดย์เบดไว้ตรงฝั่งที่ติดหน้าต่าง ให้สามารถนอนพักผ่อนในเวลาระหว่างวันได้
Layout C ขนาด 5x4 เมตร เป็นห้อง Living Room ขนาดมาตรฐานเช่นเดียวกัน ออกแบบให้มีอาร์มแชร์อยู่ทั้งสองข้างของโซฟา ทำให้ห้องดูมีความสมมาตรและมีความเป็นทางการขึ้นมาหน่อย
Layout E ขนาด 5x5 เมตร ห้อง Living Room แบบเป็นทางการอีกแบบหนึ่ง ใช้โซฟาแบบตัว L เพื่อให้นั่งเหยียดขาได้ในท่าที่สบายมากกว่าพร้อมเพิ่มจำนวนที่นั่งภายในห้องตามพื้นที่ห้องที่มากขึ้น
Layout H ขนาด 5 เมตร ตัวอย่างการจัดเลย์เอาท์ห้อง Living Room ในกรณีที่มีพื้นที่ห้องเป็นรูปวงกลม ซึ่งทำให้ห้องมีความแตกต่างอย่างน่าสนใจ การจัดเลย์เอาท์แบบนี้จะทำให้บรรยากาศของห้องแตกต่างไปจากห้องสี่เหลี่ยมธรรมดาไปเลย หากใครอยากลองการออกแบบใหม่ ๆ Living Room ที่เป็นวงกลมก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
LIVING FIT FUNCTION
อย่างที่บอกไปแล้วว่าทุกฟังก์ชั่นการใช้งานและกิจกรรมที่ครอบครัวทำด้วยกันได้สามารถออกแบบลงไปในห้องนั่งเล่นได้หมด Living Room ในบ้านสมัยใหม่จึงมักทำหน้าที่มากกว่าเป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหรือดูทีวี

ภาพจาก Ugljesa Kekovic


ภาพจาก Diane Bergeron Interiors


ภาพจาก Damon Liss Design


ภาพจาก Toro-Lombardo Design Build

อย่างไรก็ตามบ้านครอบครัวใหญ่มักจะให้ความสำคัญกับการออกแบบ Living Room ให้มีความยืดหยุ่นสูง โดยวิธีเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวมากกว่าเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน เพื่อให้พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตามความต้องการใช้งานได้ในทุก ๆ กรณี


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

DG DECORATION GUIDE
Vol.13 No.142 กรกฎาคม 2557